ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธธรรมราชูทิศจำลองและพระหล่อลอยองค์ พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก”
03 ก.ค. 2566

พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธธรรมราชูทิศจำลองและพระหล่อลอยองค์ พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก” ณ พุทธสถาน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

    ส่วนที่ สระบุรี ด้าน พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ  เป็นประธานพิธีฝ่ายฆราวาส และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ในการประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธธรรมราชูทิศจำลอง
และพระหล่อลอยองค์ พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก” (ปางสมาธิ)  ในการนี้คณะผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพอากาศ หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ พลอากาศโท วชิรศักดิ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช  สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสระบุรี หัวหน้าส่วนราชการอำเภอมวกเหล็ก และประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เข้าร่วมพิธีฯ ณ พุทธสถาน โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี  

    เวลา 07.39 น. พิธีสักการะบูชา พิธีบวงสรวงและพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยมี พลอากาศเอก ณรงค์  อินทชาติ เสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกำกับและเตรียมการย้ายโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในการประกอบพิธีฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธธรรมราชูทิศจำลองและพระหล่อลอยองค์ พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก” (ปางสมาธิ) ได้อาราธนาพระสงฆ์สมณศักดิ์ ที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงในประเทศไทย นั่งปรกอธิฐานจิต 4  ทิศ ถือเป็นการรวมพุทธคุณ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่มาร่วมงาน 

    “พระพุทธธรรมราชูทิศ” (พระ - พุด - ทะ - ทำ - มะ - รา - ชู - ทิด) เป็นพระพุทธรูปที่กองทัพอากาศจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเษศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 โดยได้รับประทานนามจาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ว่า “พระพุทธธรรมราชูทิศ” (พระ - พุด - ทะ - ทำ - มะ - รา - ชู - ทิด) แปลว่า พระพุทธรูปอันสถาปนาขึ้นเพื่ออุทิศถวาย พระราชกุศลแด่ ธรรมราชา เป็นพระพุทธปฏิมาประธานปางสมาธิ โดยมีต้นแบบมาจาก 4 รูปแบบ ประกอบด้วย พระพุทธเมตตา พระพุทธอังคีรส พระพุทธนวราชบพิตรและพระพุทธรูป ภปร. โดยพลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น มีดำริจะนำไปประดิษฐาน ณ พุทธสถานโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ซึ่งการออกแบบพุทธสถานเป็นเจดีย์ทรง 
9 เหลี่ยม มีลักษณะพ้นขึ้นมาจากพื้นดิน แสดงออกถึงพลังของแผ่นดิน ตามชื่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

    การสร้าง “พระพุทธธรรมราชูทิศจำลองและพระหล่อยลอยองค์” พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก” (ปางสมาธิ) ถือเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศ ที่เป็นตัวแทนของพระพุทธรูปที่สำคัญของกองทัพอากาศทุกองค์ มีขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 999 องค์ และพระหล่อลอยองค์ จำนวน 9,999 องค์ หล่อจากชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์และแผ่นจาร จาก 1,000 พระเกจิทั่วประเทศไทย หลังจากนั้นได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์นั่งปรกอธิฐานจิตพระพุทธรูปจำลองและหล่อลอยโดยเกจิอาจารย์ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธาของประเทศไทย ณ กองบินต่างๆ ทำการโยงสายสิญจน์รวมพระพุทธคุณจากพระพุทธรูปที่สำคัญของกองทัพอากาศ และจัดให้มีพิธีสมโภชน์และพิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ณ พุทธสถาน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พระพุทธธรรมราชูทิศจำลองและพระหล่อยลอยองค์” พระพุทธธรรมราชูทิศ “รุ่นแรก” (ปางสมาธิ) ได้จัดให้มีการเช่าบูชาเพื่อนำรายได้ไปจัดสร้างปลียอดทองคำถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ผู้พระราชทานนามโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช” ซึ่งแปลว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นกษัตริยาธิราชที่ยิ่งใหญ่รัชกาลที่ 9” ซึ่งภายในปลียอดทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะประดิษฐาน ณ พุทธสถาน โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่เคารพสักการะบูชาของทุกคนสืบไป การสร้างปลียอดทองคำอานิสงส์ไม่มีประมาณ ครอบจักรวาล ตามแต่จะปรารถนา มีปัญญา อันรู้แจ้งโลก รู้แจ้งธรรม และสำเร็จในมรรคค ผล นิพพาน ตลอดกาลนานเทอญ

สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...