ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
เปิดใจ สว.สุรเดช 1 ใน 13 สว.ที่โหวตให้พิธา
17 ก.ค. 2566

              เปิดใจ ดร.สุรเดช หรือ “สว.โต”   จิรัฐิติเจริญ  1 ใน13 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  จังหวัดปราจีนบุรี  ในการโหวตให้พิธา เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30    ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่ง   อยากให้ประเทศชาติเดินได้   เพราะประชาชนเห็นชอบเลือก 8 พรรคการเมืองมาบริหารประเทศตามครรลองประชาธิปไตย  ถ้าไม่ดี 4 ปี ค่อยว่ากันใหม่                                                                                                             

             หลังผู้สื่อข่าว พยายามติดต่อ ดร.สุรเดช  จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ปราจีนบุรี เพื่อพูดคุยถึงการที่ตัดสินใจโหวตให้ นายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 และเป็น 1 ใน 13 คน จาก สว. 250 คนนั้น ล่าสุดสายวีนนี้ ดร.สุรเดช  ได้เดินทางกลับมาพักผ่อนที่บ้าน ใน อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี เพื่อหาเวลาว่างจากการการทำหน้าที่ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มาดูแลกิจการของครอบครัว (ร้านนายโค้ง ก่อสร้าง)  และสวนทุเรียน เราจึงมีโอกาสเล็กน้อยได้พูดคุยสอบถามถึงการตัดสินใจลงมติเลือกนายพิธา เป็นนายก คนที่ 30 เหมือนกับสวนทางเพื่อนสมาชิก ฯ  โยที่ ดร.สุรเดช ได้ปลีกเวลาที่ต้องต้อนรับเพื่อนสมาชิก สว.บางคนที่เดินทางมาพบที่บ้าน

                ดร.สุรเดช   ได้ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง และ  เล่าว่า   “  เมื่อวันพฤหัสบดี วันที่ 13 ก.ค. 2566    ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา สส.และ สว.  โดยมีวาระสำคัญที่สำคัญคือการพิจารณาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 นั้น หลังการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) พร้อมกับมีผู้รับรองชื่อถูกต้อง ก่อนเปิดอภิปรายอย่างกว้างขวางเพื่อพิจารณาในการลงคะแนนเสียง  รวม 6 ชั่วโมง   ได้ฟังข้อมูลมาตรา 112 ที่ทางนายพิธา ตอบแล้ว เป็นที่สบายใจ

แต่  เมื่อลงคะแนน    ผลการนับคะแนนว่า ที่ประชุมเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง เท่ากับนายพิธาได้คะแนนไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิก   เท่าที่มีอยู่ของสองสภาทั้งหมด 749 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 500 เสียง ส.ว.249 เสียง  (ลาออก 1)   ซึ่งในการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพียงแค่ 13 คน  รวมทั้ง    ตนเอง ที่ลงคะแนนเห็นชอบ   ให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี (ประกอบด้วย 1.ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 2.พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 3.เฉลา พวงมาลัย 4.ซากีย์ พิทักษ์ชุมพล5.พ.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง 6.พีระศักดิ์ พอจิต 7.พิศาล มาณวพัฒน์ 8.มณเฑียร บุญตัน 9.วันชัย สอนศิริ 10.วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ 11.สุรเดช จิรัฐิติเจริญ12.อำพล จินดาวัฒนะ 13.ประภาศรี สุฉันทบุตร)  ในขณะที่ ส.ว.ส่วนใหญ่ 159 คน งดออกเสียง ตามาด้วย กลุ่มที่ไม่ลงคะแนน  และไม่เข้าประชุม 43 คน และลงมติไม่เห็นชอบ 34 คน

              เหตุผลในส่วนตนเอง  ในการลงคะแนนเห็นชอบให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น   เห็นว่าเมื่อเสียงข้างมาก สส. สามารถจะขับเคลื่อนได้ เพื่อประเทศชาติให้เดินต่อไปได้  ก็ไม่ควรช้าอะไร  รวมทั้งมีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว   และ  จากข้อซักถามมาตรา 112  ทางนายพิธา ได้ตอบไปแล้ว    จึงตัดสินใจเห็นชอบเป็น 1 ใน13  สว.ให้นายพิธาเป็นนายกฯ                                                                                                                          

             นายสุรเดชยังได้เปิดเผยต่อไป  ว่า  จากกรณีหลังการโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 รอบแรกแล้ว   นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว จาก 8 พรรคร่วมตั้งรัฐบาลไม่ผ่าน ทางพรรคก้าวไกลได้ ยื่นร่างกฎหมาย แก้ไข ม.272 ยกเลิกอำนาจ หรือปิดสวิต ส.ว. เลือกนายกฯนั้น   ตนเองคิดว่าเป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่า   ในการปฏิบัติที่ไม่สามารถกระทำได้    เพราะแก้ไขยากมาก                                                                                        

                    ท้ายที่สุดแล้ว ดร.สุรเดช  จิรัฐิติเจริญ เปิดเผยด้วยว่า ตนในฐานะเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชาวอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี  เป็น คนไทยคนหนึ่ง   อยากให้ประเทศชาติเดินได้เราไม่มีรัฐบาลนานแล้ว     เพราะเมื่อประชาชนเห็นชอบ 8 พรรคการเมือง ถึง 70 เปอร์เซ็นต์     แล้วหากไม่ดี 4 ปีว่ากันใหม่   อะไรทำนอกเหนือ MOU.เช่น   การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272   ทางพรรคร่วมรัฐบาล 7 พรรค  หรือ  ฝ่ายค้านคงไม่เอาด้วย ส่วนประเด็นการโหวตรอบสอง ตนก็ยังคงคิดว่าจะโหวตให้เหมือนเดิม

ธนปกรณ์  วิศวามิตร / ปราจีนบุรี

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...