ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
นพ.กำพล พฤกษาอุดมชัย ร่วมรายการรวมใจคนไทยไม่ทิ้งกันโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกาญจนบุรี
18 ก.ค. 2566

วันนี้ 18 กรกฎาคม 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดกาญจนบุรี นายแพทย์ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้ นพ.กำพล พฤกษาอุดมชัย รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมะการักษ์ ร่วมรายการ NBT Central รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน กับคุณพิษณุสรณ์ ยางสูง ผู้ประกาศข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดกาญจนบุรี  ให้สัมภาษณ์ประเด็นการจัดงานโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกาญจนบุรี หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนไทยไร้สโตรค (No STROKE for all Thais by NEW GEN)” โดยมี นายอภิสิทธิ์  จันทร์เต็ม  ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดกาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ซึ่งโครงการ“เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต” เป็นกิจกรรมที่รวมใจ รวมพลังเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมาออกกำลังกาย มีการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและการออกกำลังกายเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ “แผ่นดินไทย ไร้สโตรค” 

โดยในปีนี้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม NEW GEN เพิ่มขึ้นมาและจังหวัดกาญจนบุรีเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นเป็น 2,000 คน  จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งผู้ที่สนใจ มาร่วมกิจกรรมดังกล่าวในวันที่ 29 ตุลาคม 2566  สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566  ผ่านทาง รูปแบบ Online ผ่านแอปพลิเคชั่น THAIRUN (https://race.thai.run/) ค่าสมัคร 360 บาท (ไม่รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์และค่าธรรมเนียมการชำระเงินของธนาคาร) ผู้สมัครจะได้รับเสื้อที่ระลึกพร้อมเลขวิ่ง  บิบและเหรียญรางวัลเมื่อเข้าเส้นชัย  การออกกำลังกายเป็นการดูแลส่งเสริมสุขภาพที่ดี และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากจะได้สุขภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) ป้องกันไม่ให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อีกด้วยครับ

นพ.กำพล พฤกษาอุดมชัย กล่าวต่อไปว่า ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดมีความผิดปกติ  ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลายและการทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาการร้ายแรงที่อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคอัมพฤกษ์ - อัมพาตหรืออาจอันตรายถึงชีวิตได้    ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะพบโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าประชาชนขาดความรู้ด้านการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกวิธี

สาเหตุโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้แก่
1. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรควบคุม ความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
2. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 – 130 mg/dl หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย
3. คอเลสเตอรอลในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้ร่างกายมีค่าไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
4. โรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย(BMI) อยู่ในช่วง 18.5-25 ซึ่งคำนวณโดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
5. การขาดการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 - 4 ครั้ง/ สัปดาห์
-2-

6. การสูบบุหรี่จัดและการดื่มสุราเป็นประจำ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
7. การใช้สารเสพติด
8. ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่นอนกรนดังๆ หรือมีน้ำหนักตัวมากๆ ถ้าออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
9. หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่
10. หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
11. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่นผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด โดยเพศชาย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเพศหญิง   ผู้มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว หรือมีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ที่เราสามารถสังเกตได้หลักๆ มี 5 อย่างที่สำคัญ ดังนี้
1. ชาหรืออ่อนแรงใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว อมน้ำไม่อยู่ น้ำไหลออกจากมุมปาก
2. ชาหรืออ่อนแรงที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน สูญเสียการทรงตัว
3. พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน นึกคำพูดไม่ออก
4. การมองเห็นมีปัญหาฉับพลัน อาจมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว
5. มีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่ามีโอกาสเกิดโรคอัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยตัวย่อFASTดังนี้
- F : Face คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท
- Arm คือ อาการอ่อนแรงของแขนขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
- Speech คือ พูดลำบากพูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
- Time คือเวลา ซึ่งทุกนาทีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้า จะมีผลกระทบต่อการตายของเซลล์สมองถึง 2 ล้านเซลล์
อาการ 5 สัญญาณเตือนดังกล่าว อาจเกิดเพียงอาการเดียวหรือหลายอาการร่วมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สูญเสียหน้าที่ไป บางรายอาจมีอาการผิดปกติเหล่านี้ชั่วขณะแล้วดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากสมองขาดเลือดชั่วคราว (Mini Stroke) แต่อย่างไรหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรรอดูอาการแต่ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลได้เร็ว จะสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันการณ์  ลดความเสี่ยงต่อความพิการและเสียชีวิตได้


ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...