หลังจากการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งล่าสุด เมื่อ 19 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา เสียงข้างมาก 395 เสียง เห็นว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา มาโหวตนายกรัฐมนตรีเป็นรอบที่ 2 ได้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41
‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ได้นัดประชุมเพื่อโหวตนายกฯเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 27 ก.ค. โดยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อชัดเจนว่า ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะไม่สามารถเสนอชื่อ ‘พิธา’ เป็นนายกฯได้อีกแล้ว
นอกจากชนักปมเสนอญัตติซ้ำแล้ว ‘พิธา’ ยังโดนมรสุมรุมเร้าคดีหุ้นสื่อ กรณีถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ‘ไอทีวี’ ที่ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้รับคำร้องกล่าวหา และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 เสียง สั่งนายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
หลังจากการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งล่าสุด เมื่อ 19 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา เสียงข้างมาก 395 เสียง เห็นว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา มาโหวตนายกรัฐมนตรีเป็นรอบที่ 2 ได้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41
‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ได้นัดประชุมเพื่อโหวตนายกฯเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 27 ก.ค. โดยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อชัดเจนว่า ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะไม่สามารถเสนอชื่อ ‘พิธา’ เป็นนายกฯได้อีกแล้ว
นอกจากชนักปมเสนอญัตติซ้ำแล้ว ‘พิธา’ ยังโดนมรสุมรุมเร้าคดีหุ้นสื่อ กรณีถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ‘ไอทีวี’ ที่ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้รับคำร้องกล่าวหา และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 เสียง สั่งนายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ไว้จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
ทำให้ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ ‘ก้าวไกล’ ขณะนี้ ยังคงซุ่มเดินเกมอย่างเงียบเชียบ โดยมีเสียงเมาท์กันให้แซ่ดรัฐสภาเกียกกายว่า ‘บิ๊กเนมก้าวไกล’ แอบเข้าไปพบกับ ‘พี่ใหญ่ป่ารอยต่อฯ’ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ ‘พิธา’ หยุดปฏิบัติหน้าที่
ขณะที่หลังการประชุม แกนนำพรรคก้าวไกลหลายคน เช่น ‘ชัยธวัช ตุลาธน’ มันสมอง และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ‘พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์’ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ตรงกันว่า ยังไม่มีแผนส่ง ‘ไม้ต่อ’ ให้กับ ‘เพื่อไทย’ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ต้องขอหารือเป็นการภายในพรรค หารือกับพรรคเพื่อไทย และหารือ 8 พรรคร่วมก่อน
แต่กลเกมสภาฯเวลานี้ ขั้ว 188 ส.ส.ฝั่งรัฐบาลเดิม ผนึกกำลังกับ ส.ว.เสียงส่วนใหญ่ กำลังบีบให้ 8 พรรคร่วม ‘แพแตก’
ต้องไม่ลืมว่า 8 พรรคร่วมปัจจุบัน ก็มีการแบ่งเป็น 2 ขั้วภายในค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วคือ
ขั้วสีแดง นำโดย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ (ปช.) พรรคเสรีรวมไทย (สร.) พรรคเพื่อไทรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ มีจำนวน ส.ส. 154 เสียง
ขั้วสีส้ม นำโดย พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) และพรรคเป็นธรรม มีจำนวน ส.ส. 158 เสียง
แต่ ‘เพื่อไทย’ อยู่บนถนนการเมืองมาเกินกว่า 20 ปี นับย้อนไปตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ‘ไทยรักไทย’ โดนยุบพรรคก็ยังมี ‘พลังประชาชน’ โดยยุบอีกครั้งก็ยังฟื้นคืนชีพมาเป็น ‘เพื่อไทย’ จนถึงปัจจุบัน มีสมาชิกพรรคเป็นนายกฯมาแล้วถึง 4 คน (ทักษิณ ชินวัตร, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
แตกต่างจาก ‘ก้าวไกล’ ที่เพิ่งก่อร่างสร้างพรรคได้ 8-9 ปี มีภาพลักษณ์เป็น ‘เด็กดื้อ’ แถมถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยม หวั่นเกรงว่ามีความพยายาม ‘พลิกฟ้า-คว่ำแผ่นดิน’ ย่อมทำให้การจัดตั้งรัฐบาล เป็นไปด้วยความลำบาก แม้ว่าจะเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1 แต่มิใช่เสียงข้างมาก เพราะมีจำนวน ส.ส.มากกว่า ‘เพื่อไทย’ แค่ 10 คนเท่านั้น
นิยามคำว่า ‘เสียงข้างมาก’ ในสภาผู้แทนราษฎรคือ ต้องมีจำนวน ส.ส.ในมือ มากกว่า 251 เสียง จากทั้งหมด 500 คน
แม้ ‘หมอชลน่าน ศรีแก้ว’ หัวหน้าพรรค และบรรดาแกนนำพรรคเพื่อไทย จะพยายามให้สัมภาษณ์หน้าฉากว่า ยังคงจับมือกับพรรคก้าวไกล ในความพยายามจัดตั้งรัฐบาล ตามฉันทามติของประชาชนให้ได้ก็ตาม
แต่ข้อเท็จจริงการเดินหมากของ ‘นักเลือกตั้ง’ เขี้ยวลากดินกว่านั้นมาก
ดังนั้นการเดินเกมถัดจากนี้ของพรรคการเมืองทุกพรรค น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
อาจเรียกได้ว่า ตอนนี้ปิดฉาก ‘ก้าวไกล’ เตรียมสลับขั้วย้ายไปเป็นฝ่ายค้าน พร้อม ๆ กับ ‘ไทยสร้างไทย-เป็นธรรม’
แต่เป็นการเริ่มนับหนึ่ง ‘เพื่อไทย’ ดีลสารพัดพรรคการเมือง มาจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ คาบเกี่ยวไปกับกระแส ‘ทักษิณ’ กลับบ้าน
สุดท้ายหมากเกมนี้จะสำเร็จหรือไม่ ต้องติดตามต่อไปแบบอย่ากระพริบตา!