ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
GGC จับมือ ม. เกษตร ยกระดับ BCG Model
25 ก.ค. 2566

GGC เดินหน้าต่อยอดนโยบาย ESG สู่ BCG Model ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas หรือ GHG) ให้ได้ร้อยละ 20 ในปี 2030 ตามกลยุทธ์ “The New Chapter of GGC to be the Sustainable Growth Business” และเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ภายใต้การดำเนินธุรกิจด้วยหลักความยั่งยืน สร้างสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Environment Social Governance (ESG)
     โครงการ “การศึกษาและวิจัย ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน” ระหว่าง GGC และ KU ผลักดันให้เกิดการศึกษาและวิจัยด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน ตั้งแต่ด้านกลยุทธ์องค์กร การปรับปรุง Portfolio ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงทิศทางการดำเนินการธุรกิจใหม่ในอนาคตของ GGC
บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “GGC” และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจและความร่วมมือ โครงการ “การศึกษาและวิจัย ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของบริษัทฯ ด้านการดำเนินการดังกล่าว การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมการดำเนินงานด้าน BCG Model รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มในอนาคต พร้อมด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ต่อนิสิตและนักศึกษา เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ

นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า การร่วมมือระหว่าง GGC และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนองค์กรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศตามหลักการ BCG Model ที่ต้องการให้ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาครัฐ และประชาชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง

สำหรับ GGC ในฐานะบริษัทเอกชนที่เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน มุ่งไปสู่การเป็น  Global Sustainable Company  ภายใต้กลยุทธ์  “The New Chapter of GGC to be the Sustainable Growth Business” ที่ได้มีการกำหนดเป้าหมายสำคัญในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas หรือ GHG) ลง 20% ในปี 2030 และเป้าหมายที่จะเป็น Net Zero Company ในปี 2050     

อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือ เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาและวิจัยด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน รองรับการพัฒนาธุรกิจในอนาคต และ Decarbonization roadmap รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ และมีความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน และสนับสนุนการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมการดำเนินงานด้าน BCG Model (Competency development) อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มในอนาคต และยังสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ต่อนิสิตและนักศึกษา เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการการปรับปรุง Portfolio ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงทิศทางการดำเนินการธุรกิจใหม่ในอนาคต โดยอาศัยหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อทำให้ GGC มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นในอนาคต

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทาง GGC ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยหลักความยั่งยืน พร้อมสร้างสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Environment Social Governance (ESG)  มีการบริหารจัดการความยั่งยืนที่เข้มแข็ง โดยได้รับการรับรองการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและตามมาตรฐานสากล เช่น CDP Climate ที่ได้ระดับ A- และในปีนี้ GGC ยังได้ทำรายงานด้านความยั่งยืน S&P Global เพื่อแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ GGC ในการเป็น Sustainable Company ในระดับโลก”

ด้าน ศ.ดร. วันชัย ยอดสุขใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ ว่า “มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจและความร่วมมือ กับ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อการดำเนินโครงการ “การศึกษาและวิจัย ด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน” โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันศึกษาและวิจัยด้านการบริหารจัดการความยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรและการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการความยั่งยืน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ก่อให้เกิดการดำเนินการโครงการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...