ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
สภาทนายช่วยคดี5บุคคลกรณีนำ126ต่างด้าวมาเรียน
26 ก.ค. 2566

สืบเนื่องจาก น.ส.กัลยา ทาสม ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จ.อ่างทอง กับ นายพิเชษฐ์ ปั้นงาม ผู้ใหญ่บ้านใน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เข้าร้องขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความฯ ว่า มีเด็กต่างด้าวจากตะเข็บชายแดนประเทศเมียนมาที่ผู้ปกครองนำมาส่งจำนวน 126 คน อายุอยู่ระหว่าง 6-12 ปี มาขอรับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ซึ่งโรงเรียนทำในลักษณะนี้มานานแล้วอย่างเปิดเผย ต่อมาถูกตำรวจจับส่งสำนวนให้ อัยการดำเนินคดี 2 ข้อหา ฐานพาบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและข้อหาให้ที่พักพิง ทั้งที่ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ มีข้อยกเว้นว่า หากรับตัวไว้ให้การศึกษา อย่างเปิดเผยจะไม่เป็นความผิด โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/58 เป็นบรรทัดฐาน

ซึ่งคดีดังกล่าวมีครู ภารโรงของ ร.ร.ไทยรัฐวิทยา ๖ และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งหมด 5 คน ถูกตำรวจ สภ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ดำเนินคดี โดยพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนส่งสำนักงานอัยการ จ.อ่างทอง ในวันเดียวกัน ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธและร้องขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความฯ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม พร้อมจัดทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ติดตามช่วยเหลือเด็กที่ถูกผลักดันออกนอกประเทศยังภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเป็นเขตสงคราม

โดย น.ส.กัลยา กล่าวว่า ตนขอคุณสภาทนายความที่รับเรื่องร้องทุกข์ แล้วก็เข้ามาช่วยเหลือ ตอนนี้นอกจากคดีความตนโดนสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตั้งกรรมการสอบวินัย โดยกล่าวหาว่าตนไม่ได้ดําเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจริงๆแล้วในการดําเนินการครั้งนี้ มันมีระเบียบที่รองรับไว้ก็คือระเบียบของการรับนักเรียนว่าด้วยหลักฐานการศึกษา จะมีบัญญัติไว้ว่าการที่เราจะรับนักเรียนจะต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่นักเรียนเหล่านี้ที่เขาได้รับโอกาสจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เขาได้แจ้งไว้ว่าเขาไม่มีเอกสารหลักฐานอะไรเลยในวันที่เรารับ แล้วก็ผู้ปกครองเขาพามาสมัครเรียนนั้น ก็สามารถทําได้โดยที่เราใช้แบบบันทึกทะเบียนประวัติบุคคลเข้าไป เพื่อที่จะแนบในการขอรหัสเพื่อที่รับค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาเราได้ทําตามระเบียบตรงนี้

น.ส.กัลยา กล่าวต่อว่า ส่วนอีกข้อกล่าวหาเรื่องให้การศึกษาเด็กที่ไม่มีสิทธิ์ในการมารับการศึกษาใน มารับโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย เด็กที่เรียนกับเรา ต้องทําความเข้าใจว่ามีอยู่ก่อนแล้วช่วงหนึ่งเมื่อปีการศึกษา 2565 โดยที่เขาได้รับการศึกษาได้รับการดูแลจากมูลนิธิให้ที่อยู่ให้อาหาร ตนก็เห็นว่าตรงนี้มันเป็นโอกาสเป็นสถานที่จะ ให้การศึกษา ก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหาในการเรียนของกลุ่มเด็ก ๆ เเต่ที่มามีปัญหาปีนี้อาจป็นผลที่จะดูว่าเราขอยื่นขอรหัสมันมีจํานวนเยอะขึ้นกว่าเดิม ก็เลยลงมาตรวจสอบ โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าเขาได้ปรึกษากับต้นสังกัดหรือไม่  เเต่ในวันดังกล่าวมันเหมือนกับการมาจับกุมหรือมาตั้งว่าให้ตนเป็นคนผิด เป็นจําเลยของสังคมว่าทําผิดกฎหมายพาเด็กต่างด้าวเข้ามาในวันนั้น

น.ส.กัลยา กล่าวอีกว่า การเพิ่มจำนวนเด็กเราได้ขออนุญาตหนังสือแจ้งไปที่ต้นสังกัดว่าเราจะไปรับเด็กมาเรียนโดยค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องจ่ายต่อหัว เป็นเด็กอนุบาลเนี่ย 1,700 บาทต่อปี เเต่ถ้าเป็นเด็กประถมก็คือ 1,900 บาทต่อคนต่อปี โดยเด็กส่วนมากก็จะเป็นชนเผ่าไม่ใช่คนพม่าทั้งหมด เป็นคนชนเผ่าเป็นคนไทยก็มี เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ตะเข็บชายแดน ซึ่งตอนนี้เด็กได้ถูกส่งกลับไปพม่าเกือบหมดแล้ว ตอนนี้เหลือเด็กที่อยู่ในบ้านพักอยู่ 4 คน ซึ่งยังไม่มีผู้ปกครองมารับ ตนเป็นคนจังหวัดเชียงราย แล้วเป็นคนที่ฐานะยากจน ในสมัยก่อนได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยที่ได้รับทุนเรียนมาตั้งแต่มัธยมจนถึงระดับปริญญาตรี ในวิชาชีพครู  ก็ได้เล็งเห็นว่าโอกาสที่เราได้รับเราควรจะแบ่งปันให้กับคนอื่นบ้างก็ได้ตั้งปณิธานกับตนเองว่าวันนึงอะเราจะแบ่งปันโอกาสที่เราได้รับเนี่ยให้กับคนอื่นพอได้มาเป็นครูก็ได้บรรจุในอยู่บนดอยก็ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวเขาของเด็กเหล่าที่มันมีอยู่แล้วตามตะเข็บชายแดนเกือบทุกโรงเรียน

"ตอนนี้ที่โดนเเจ้งข้อหา ก็มี ผอ.มีผู้ใหญ่บ้าน มีครู เเละก็ภารโรง เป็นคดีที่ สภ.อ.ป่าโมก ส่วนเด็กเขาก็พยายามที่จะถามว่า ผอ.ว่าหนูจะได้กลับไปเรียนไหมแล้วเมื่อไหร่จะได้กลับ สงสารเด็กๆค่ะ อยากฝากไปถึงคุณครูทั่วประเทศที่มีเด็กเหมือนเด็ก 126 คนนี้ค่ะ หากได้รับผลกระทบในวงกว้างอยากให้ท่านได้ใช้เวทีนี้ได้ลุกขึ้นมาเพื่อที่จะปกป้องการทํางานของท่านเองนะว่าทุกวันนี้ท่านอาจจะกังวลว่าฉันจะผิดหรือไม่ฉันจะถูกจับ ฉันจะถูกดําเนินคดีหรือไม่ อยากให้มาช่วยกันว่ากระทรวงศึกษาธิการเนี่ยเขาทําไมถึงไม่ ไม่ช่วยครู ในวันนี้แจ้งความดําเนินคดียังไม่พอแจ้งสอบสวนวินัยร้ายแรงด้วย”อดีต ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ระบุทั้งน้ำตา

ขณะที่ นายกวี เจริญเศรษฐี ทนายความฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย น.ส.ศิวนุช กับพวก กล่าวถึงความคืบหน้าคดีที่โดนเเจ้งข้อหาว่า ขณะนี้ทางพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองในเรื่องของการนําพาคนต่างด้าวเข้ามาถึงราชอาณาจักร เเละเรื่องของการให้ที่พักพิงแก่คนต่างด้าวในชั้นสอบสวนก็ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาแล้ว ก็จะทําอ่าเอกสารชี้แจงเอกสารผ่านทางพนักงานสอบสวนเเละในชั้น อัยการ โดยวันนี้ยื่นผ่านพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เเละขอชะลอการส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการ แล้วเราก็จะเสนอพยานหลักฐานต่างๆให้กับพนักงานสอบสวน เพื่อให้อยู่ในสํานวนส่งต่อให้กับอัยการต่อไป ซึ่งวันนี้ทางพนักงานสอบสวนก็ชะลอตามที่เรานัดต่อไป วันที่ 8 ส.ค.โดยผู้เเจ้งความร้องทุกข์คือสํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ

นายกวี กล่าวต่อว่า น.ส.กัลยา รับเด็กมาจากโรงเรียนราษฎร์พัฒนา เชียงราย ซึ่งอยู่ในประเทศไทย มีผู้ปกครองของเด็กเป็นผู้นําพาเข้ามาในประเทศเพื่อส่งมอบตัวให้กับโรงเรียน น.ส.กัลยาซึ่งเป็นผู้อำนวยการเเละเป็นคณะกรรมการของโรงเรียนอํานวยความสะดวกซึ่งรับเด็กไว้ เนื่องจาก น.ส.กัลยา ก็เคยเป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนราษฎร์พัฒนาอยู่แล้วสมัยที่เคยใช้ชีวิตเป็นครูดอยอยู่ตามตะเข็บชายแดนมาตลอดก่อนที่ได้สอบบรรจุเป็น ผ.อ.ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 จังหวัดอ่างทอง

ด้าน ดร.วิเชียร ชุปไธสง นายกสภาทนาย กล่าวว่า เบื้องต้นสภาทนายความได้รับเรื่องและจัดทนายความอาสาสอบข้อเท็จจริง พร้อมรวบรวมหลักฐานในการดำเนินให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายตามขั้นตอนต่อไป สภาทนายความยินดีให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ส่วนการผลักดันเด็กนักเรียนต่างด้าวกลับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ในขณะที่สถานการณ์ยังมีการสู้รบกันอยู่ อาจส่อไปในทางผิดหลักสิทธิมนุษยชน ในส่วนคดีได้มีทนายความได้เข้าไปให้การช่วยเหลือ เบื้องต้นระดับหนึ่งแล้วแต่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสําคัญที่เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากทราบว่าทางพนักงานสอบสวนมีความเห็นสมควรสั่งฟ้อง น.ส.กัลยา กับพวกทั้ง 5 คน เเละขณะเดียวกันก็ปรากฏว่ามีการผลักดันให้เด็กที่ไร้สัญชาติและก็ด้อยโอกาสกลับไปยังประเทศซึ่งตอนนี้ทราบว่าตกอยู่ในสภาวะที่ยังไม่สงบเท่าที่ควรยังมีการสู้รบกันบานปลาย ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กที่ถูกผลักดันให้ออกไป ซึ่งเรื่องสิทธิ มนุษย์ชนเป็นเรื่องที่สภาทนายความต้องให้การดูแลอยู่แล้ว ถือว่าเป็นภาษาสากลแบบที่ทุกคนในโลกนี้ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ และในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องคํานึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย

ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่า โดยหลังจากรับเรื่องขอความช่วยเหลือในวันนี้ เราจะมีการสอบข้อเท็จจริงในทุกรายละเอียด แต่ว่าเท่าที่สอบถามกับเบื้องต้นมองว่าการรับเด็กต่างด้าวไม่ใช่คนสัญชาติไทย และก็ไม่มีทะเบียนบ้านซึ่งเด็กเหล่านี้ อาจจะเกิดอยู่ไม่เอาตะเข็บชายแดน ที่มาเรียนหนังสือเพื่อเป็นการเสริมสร้างชีวิตของเขาให้ดีขึ้น ให้ดีกว่าเพื่อเป็นอนาคตของไม่ใช่ประเทศไทยมันเป็นอนาคตของโลกต่อไป มิฉะนั้นแล้วถ้าปล่อยปละละเลยน่ะให้อยู่ตามธรรมชาติเด็กอาจจะเสียชีวิตในทางภัยสงครามก็ได้การที่ น.ส.กัลยา อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ขอตัดสินใจให้เด็กมาเรียนที่โรงเรียนก็มีเหตุมีผล ทั้งยังได้พิจารณาหลักกฎหมาย ระเบียบ ภาคปฏิบัติต่างกัน ซึ่งเบื้องต้นพบว่าการกระทําลักษณะที่ถูกกล่าวหาแบบนี้เคยมีแนวคําพิพากษาศาลฎีกาพิพากษาว่าไม่เป็นความผิด ทางสภาทนายถ้าพิจารณาเเล้วเข้าเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือก็จะจัดทนายอีกส่วนหนึ่งเข้าไปดําเนินการช่วยเหลือแก้ต่างทางคดีให้

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 ธันวาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...