ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ครบรอบ 65 ปี MEA จุดประกายอนาคตยั่งยืน
28 ก.ค. 2566

 

นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยว่า ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 65 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 MEA ได้จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ “65th MEA SPARK the Sustainable Future” จุดประกายอนาคตที่ยั่งยืน โดยเปิดให้ผู้ร่วมงานสามารถร่วมบริจาคเงินให้กับมูลนิธิ 2 แห่ง คือ สหทัยมูลนิธิ เพื่อป้องกันการเป็นเด็กกำพร้าและส่งเสริมให้เด็กเติบโตในครอบครัวอย่างมีคุณภาพ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กรอบด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม พร้อมผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาเด็กอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการเสนอผล  การดำเนินงานจากการขับเคลื่อนองค์กรโดยยึดหลัก Tripple Go for Goal ใน 3 ด้าน คือ Go Smart, Go Digital และ Go Green ภายใต้วิสัยทัศน์ Energy for city life, Energize smart living  ในการขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร
นายวิลาศ กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ 3,192 ตารางกิโลเมตร ดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 4.19 ล้านราย ในด้านภาพรวมการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าปี 2566 มีหน่วยพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสะสม 51,398 ล้านหน่วย (คาดการณ์ ณ เดือน เมษายน 2566) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 จากปีที่ผ่านมา โดย MEA ได้ดำเนินการตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100  มีสถิติความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 จำนวน 9,733.50 เมกะวัตต์ นับเป็นสถิติการจำหน่ายไฟฟ้าสูงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ระบบจำหน่ายของ MEA

การพัฒนาระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเสริมความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า โดยในด้าน GO Smart นั้น MEA ได้ดำเนินโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพด้านระบบไฟฟ้า ให้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงเพียงพอ เช่น โครงการ Smart Metro Grid ที่ปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินโครงการติดตั้ง Smart Meter ในพื้นที่นำร่อง 9 ตารางกิโลเมตร บริเวณถนนพระราม 4 พญาไท เพชรบุรี และรัชดาภิเษก รวมถึงกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 3, 4 และ 5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมจำนวน 33,265 ชุด   ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Online ช่วยในด้านการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า ตลอดจนสามารถวิเคราะห์จุดเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้การแก้ไขสามารถทำได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น 
โดยในอนาคตยังมีแผนที่ขยายการติดตั้ง Smart Meter เพิ่มเติมภายในปี 2568 ให้ติดตั้งครอบคลุมพื้นที่ดูแล 8 การไฟฟ้านครหลวงเขต และภายในปี 2570 จะติดตั้งครอบคลุมพื้นที่ดูแลทั้ง 18 การไฟฟ้านครหลวงเขต รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 441,400 ชุด รวมถึงยังมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับ         หม้อแปลงจำหน่าย ภายใต้โครงการ TLM (Transformer Load Monitoring) ซึ่งการดำเนินงานในปี 2566 สามารถติดตั้งได้เสร็จสิ้นแล้ว 1,675 ชุด ช่วยประเมินศักยภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าและสถานีย่อย รองรับการเพิ่มขึ้นของ EV Charger, Solar PV และการขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ช่วยในการวางแผนขยายหรือปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้า โดยภายในปี 2570 จะติดตั้งแล้วเสร็จครบทั้งพื้นที่ MEA ที่มีจำนวน 62,400 ชุด ครอบคลุมระบบจำหน่ายไฟฟ้าในระดับแรงดันกลาง เป็นการพัฒนาไปสู่ระบบ Fully Smart Metro Grid อย่างเต็มตัว 
การควบคุมระบบไฟฟ้า และเฝ้าระวังปัญหาไฟตกไฟดับ ยังเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในด้าน Go Smart ที่ MEA ได้ดำเนินโครงการสร้างศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักและสำคัญในการควบคุมระบบไฟฟ้า วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าด้านแรงสูง วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าด้านแรงกลาง มีระบบ Fault Location, Isolation & System Restoration (FLISR) ที่ช่วยให้พนักงานศูนย์ควบคุมระบบจําหน่ายใช้ในการตรวจสอบและระบุตําแหน่งเหตุผิดปกติ และสามารถแนะนําขั้นตอนการสลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาและกู้คืนระบบให้กลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้รับมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย NERC CIP (North American Electric Reliability Corporation Critical Infrastructure Protection) เป็นมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในกลุ่มพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสินทรัพย์สารสนเทศที่สำคัญต่อเสถียรภาพของระบบการจ่ายไฟฟ้า โดย MEA ยังสามารถบรรลุเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า SAIFI (System Average Interruption Frequency Index) รวมถึงค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้อง SAIDI (System Average Interruption Duration Index) ในปัจจุบันที่ MEA มีค่า SAIFI อยู่ที่ 0.632 ครั้ง/ราย/ปี และ SAIDI อยู่ที่ 20.194 นาที/ราย/ปี ซึ่งการต่อยอดความสำเร็จให้สูงขึ้นในทุก ๆ ปี ยังคงเป็นเส้นทางทางที่ MEA จะต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง 
ขณะเดียวกัน MEA ยังพัฒนาระบบการรับแจ้งเหตุผ่าน MEA Smart Life Application ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและใช้ในการถ่ายภาพ แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็ว พร้อมเชื่อมโยงกับระบบแผนที่ GIS ของ MEA ที่มีความแม่นยำ ทำให้ระบบสามารถแจ้งเตือนไปถึงเจ้าหน้าที่ MEA ให้สามารถเข้าไปแก้ไขระบบไฟฟ้าในพื้นที่ได้ทันที ภายใต้ชื่อระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า FFM (Field Force Management) ซึ่งการทำงานของ MEA นอกจากจะครอบคลุมพื้นที่ทางบกแล้ว ยังมีการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมพื้นที่ทางน้ำ ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ราว 6.8 แสนราย แบ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ริมน้ำ และชายฝั่งทะเล มีการจัดตั้งทีม Marine MEA ดำเนินการตอบสนองภารกิจการแก้ไขไฟฟ้าขัดข้อง การปักเสาพาดสาย การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ การตรวจจับไฟฟ้ารั่ว และการดูแลช่วยเหลือประชาชนในการรื้อย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้า รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง


นายวิลาศ กล่าวว่า ความคืบหน้าการดำเนินงานในปี 2566 ยังมีการนำ Software ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลอุปกรณ์ไฟฟ้าและบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ หรือระบบ Computerized Maintenance Management System (CMMS) มาช่วยสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยคำนวณต้นทุนในการซ่อมแซม, การพยากรณ์อายุการใช้งานของอุปกรณ์ระบบจำหน่าย ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงจากอุปกรณ์ชำรุด ลดจำนวนครั้งและระยะเวลาไฟฟ้าดับในระบบจำหน่ายไฟฟ้า  ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการงานบำรุงรักษาสู่ระดับสากล
 นอกจากนี้ ยังมี การดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โดยเฉพาะในเส้นทางการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ซึ่งจะมีแผนงานที่สำเร็จเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จรวม 62 กิโลเมตร จะมีเส้นทางที่ดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติม 29 กิโลเมตร รวมเป็น 91 กิโลเมตร ประกอบด้วย
- ถนนเทพารักษ์ ตั้งแต่แยกถนนสุขุมวิท - แยกถนนศรีนครินทร์ (ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง) รวมระยะทาง 6.6 กิโลเมตร 
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่ ซอย 94/1 - 46 และตั้งแต่แยกท่าพระ - แยกไฟฉาย (ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) รวมระยะทาง 7.1 กิโลเมตร 
- ถนนพหลโยธิน - ลาดพร้าว ตั้งแต่แยกถนนงามวงศ์วาน - แยกถนนรัชดาภิเษก (ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ) รวมระยะทาง 5.5 กิโลเมตร 
- ถนนพระราม 4 ตั้งแต่ ช่วงถนนราชดำริ - ซอยโรงงานยาสูบ รวมระยะทาง 2.3 กิโลเมตร
- ถนนหลังสวน ตั้งแต่ ช่วงถนนเพลินจิต - ช่วงถนนสารสิน รวมระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
- ถนนสารสิน ตั้งแต่ ช่วงถนนราชดำริ - ช่วงถนนวิทยุ รวมระยะทาง 0.8 กิโลเมตร
- ถนนอังรีดูนังต์ ตั้งแต่ ช่วงถนนพระราม 1 - ถนนพระราม 4 รวมระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
- ถนนเจริญราษฎร์ ช่วงถนนพระราม 3 - ถนนสาทร รวมระยะทาง 3.8 กิโลเมตร
ขณะเดียวกัน ภายในปี 2570 MEA มีแผนดำเนินโครงการสายไฟฟ้าใต้ดินให้แล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น 236.1 กิโลเมตร และมีแผนที่จะดำเนินการในอนาคตอีก 1,140.8 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้นเป็น 1,454.3 กิโลเมตร
ในด้าน Go Digital นั้น MEA ได้เห็นถึงความสำคัญในการยกระดับงานบริการขององค์กรให้ตอบโจทย์ Anywhere Service ซึ่งเป็นรูปแบบชีวิตของคนเมืองมหานคร มีการพัฒนาบริการ e-Service ต่าง ๆ เพื่อยกระดับไปสู่การเป็น Fully Digital Service เช่น จัดทำระบบแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องรายบุคคล ระบบแจ้งไฟฟ้าดับรายบุคคล พร้อมทั้งสามารถ Tracking ทั้งการซ่อมแซมแก้ไขเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ และเมื่อไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติ ไปจนถึงการ Tracking บริการทางธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การขอใช้ไฟฟ้า    การลด - เพิ่มขนาดเครื่องวัดฯ การยกเลิกการใช้ไฟฟ้า การขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ฯลฯ โดยประชาชนยังสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของ MEA ผ่านระบบออนไลน์ MEASY ทดแทนการเดินทางไปติดต่อทำธุรกรรมที่การไฟฟ้านครหลวงเขต เสมือนเป็น Virtual District มีบริการที่ครบถ้วน พร้อมทั้งยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมการปกครองผ่านระบบ MEA Linkage Center ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้มาติดต่อในการลดขั้นตอนการยื่นเอกสารบางประเภท นอกจากนี้ยังให้บริการหนังสือค้ำ
ประกันอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (eLG on Blockchain) ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าของ MEA สามารถทำธุรกรรมขอวางหลักประกัน การต่ออายุหนังสือค้ำประกัน รวมไปถึงการส่งคืนเมื่อหมดภาระผูกพันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเชื่อถือได้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยยังคงความปลอดภัยในระดับสากล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น Digital Utility โดยภายในปี 2570 MEA ยังมีโครงการที่จะเชื่อมโยงการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น การประปานครหลวง กรมการปกครอง เพื่อบูรณาการงานบริการให้ประชาชนสามารถรับบริการที่หลากหลาย และมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
การพัฒนา MEA EV Application ยังเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบบริการของ MEA ให้เป็น Fully Digital Service ซึ่ง MEA ได้ร่วมพัฒนาระบบ EV Data Roaming ทำให้ MEA EV Application สามารถแชร์ข้อมูลกับผู้ประกอบการรายใหญ่ต่าง ๆ สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชนผู้ใช้งาน สามารถรับข้อมูลที่ครอบคลุมกลุ่มผู้ให้บริการที่มากขึ้นทั้งในฟังก์ชันการค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้า และการจ่ายค่าบริการ ซึ่งการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังเป็นภารกิจใหญ่ในด้าน Go Green ที่ MEA มุ่งส่งเสริมไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) โดยจะต้องสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) รองรับการใช้งาน EV ในพื้นที่ของ MEA  ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายในปี 2580 จำนวนมากกว่า 6.6 ล้านคัน ในปัจจุบัน MEA ได้ออกแบบระบบ Smart Charging สำหรับบ้านอยู่อาศัย ควบคู่กับ TLM (Transformer Load Monitoring) เพื่อลดปัญหาการเกิด Overload และบริหารจัดการระบบจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีแผนขยายการติดตั้งสถานีชาร์จ EV ให้บริการประชาชนในพื้นที่ MEA เขตต่าง ๆ และพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพิ่มเติม จำนวน 100 หัวชาร์จ รวมถึงล่าสุด ได้เปิดตัว MEA EV Super Charge เครื่องอัดประจุไฟฟ้า 120 kW ที่พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับระบบ Solar PV และ Battery Storage ณ บริเวณอาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย รองรับผู้ใช้บริการใจกลางเมืองมหานคร ซึ่งทำให้ภายในปี 2566 MEA จะมีจำนวนหัวชาร์จรวมทั้งสิ้น 244 หัวชาร์จ
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบระบบ PLUG ME EV นวัตกรรมที่ MEA คิดค้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การชาร์จ EV ในเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งหัวชาร์จจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน และประหยัดพื้นที่ เช่น การติดตั้งในอาคารห้องชุด อพาร์ทเม้น อาคารสำนักงาน ฯลฯ อีกทั้งยังมีการให้บริการนวัตกรรมทดสอบอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV เพื่อสร้างมาตรฐาน  การใช้งาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...