ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
จันทบุรี ท่องเที่ยวหมู่บ้านไร้แผ่นดิน
11 ส.ค. 2566

การเที่ยวชมหมู่บ้านไร้แผ่นดิน หมู่บ้านที่มีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี  เที่ยวชมความงามความสมบูรณ์ของธรรมชาติแห่งเดียวในภาคตะวันออก ชมฝูงเหยี่ยวแดงกลางทะเล ทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชุมชน อยู่ในพื้นที่ตำบลบางชัน อำเภอขลุง

          นายไพริน โอราฬไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.บางชัน กล่าวว่าหมู่บ้านไร้แผ่นดิน อยู่ในพื้นที่ ม.2 ของตำบลบางชัน ซึ่งเป็นตำบลทางตอนล่างของอำเภอขลุง มีพื้นที่อยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเวฬุ รวมถึงส่วนที่เชื่อมต่อกับจังหวัดตราด หมู่บ้านไร้แผ่นดิน อยู่บริเวณที่คลองบางชันใหญ่ ไหลออกไปยังแม่น้ำเวฬุ อยู่ในพื้นที่ตำบลบางชัน มีเนื้อที่ประมาณ 64.4 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 40,305 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะ และป่าชายเลน ที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเลอ่าวไทย  และส่วนที่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำเวฬุ* ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลำคลองผ่านหลายสาย ชาวบ้านบางชัน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการประมง ในลักษณะประมงพื้นบ้าน เช่น การเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอยแครง วางลอบปู แร้วปู เบ็ดราว เบ็ดธง ยกยอ ทอดแห และหลักโพงพางหมู่บ้านไร้แผ่นดิน เดิมเคยเรียกกันว่า บ้านโรงไม้ บ้านปากน้ำเวฬุ หรือ บ้านไร้แผ่นดิน เป็นชุมชนที่มีความเป็นมายาวนานประมาณ 135 ปีมาแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2410 มีชาวจีนที่เดินทางอพยพเข้ามาในไทย ทำการค้าขายติดต่อไปถึงกรุงเทพฯ เมื่อผ่านมาที่จันทบุรีได้นำเรือมาหลบลมมรสุม ในบริเวณลุ่มน้ำเวฬุ และเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทางทะเล มีสัตว์น้ำมากมาย จึงได้ทำการประมง จนกลายเป็นอาชีพถึงทุกวันนี้

       ต่อมาได้มีการเปลี่ยนจากเรียกว่าบ้านโรงไม้ เป็น "หมู่บ้านไร้แผ่นดิน" โดยคำว่า "ไร้แผ่นดิน" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้อพยพที่ไร้สัญชาติ หรือผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย แต่เป็นการเรียกเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการอยู่อาศัยของชุมชน ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตลุ่มน้ำ ที่เป็นส่วนหนึ่งของทะเล มีน้ำล้อมรอบ โดยไม่ได้อยู่บนผืนแผ่นดิน

         ปัจจุบันนี้ การเข้าถึงชุมชนยังต้องใช้การติดต่อทางเรือ เพราะยังไม่มีถนนเชื่อมกับชุมชนภายนอก และชุมชนใกล้เคียง การเดินทางจากหมู่บ้านไปยังเมืองทำได้โดยการใช้เรือ ซึ่งแต่ละวันมีเรือโดยสารเข้า-ออกวันละ 1 เที่ยว ให้ชาวบ้านได้ออกไปซื้อของใช้จำเป็นกลับมายังหมู่บ้านนั้น 

       ประชากรที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านไร้แผ่นดิน ปัจจุบันมีเกือบ 300 กว่าหลังคาเรือน มีประชากรอยู่มากกว่า 1,000 คน บางบ้านยังเห็นผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมา บางบ้านได้ปรับให้เป็นที่พักอาศัยแบบโฮมสเตย์ แปรรูปผลิตผลทางทะเล เช่น ทำกุ้งแห้ง กุ้งต้มหวาน กะปิ หมึกแห้ง ปลาเค็ม ขายสินค้าท้องถิ่น ของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่หมู่บ้าน เป็นต้น สำหรับปัญหาสำคัญของหมู่บ้านมีอยู่ 7 เรื่องใหญ่ๆ คือ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่อยู่อาศัย เครื่องมือทำกินผิดกฎหมาย บุกรุกป่าสงวนเรื่องขาดน้ำกินน้ำใช้  การกัดเซาะชายฝั่ง การลุกล้ำลำน้ำ หมู่บ้านวบางตักขาดไฟฟ้า สำหรับเรื่องน้ำยังไม่มีปะปา ชาวบ้านเดือดร้อนมาก ต้องอาศัยน้ำฝน หรือ ซื้อน้ำจากที่อื่นมาใช้อุปโภค -บริโภค

       การประกอบอาชีพหลักของชุมชนยังคงเป็นการทำประมง ตกปู หาปลา ยกยอกุ้ง เลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงหอยนางรม ทำกุ้งแห้ง* และทำเคย** ซึ่งถือว่าลุ่มน้ำเวฬุ ยังคงเป็นครัวขนาดใหญ่สำหรับชาวบางชัน ที่ยังมีอาหารทะเลสดให้กินได้ตลอด นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีรายได้จากการขายสินค้าแปรรูปจากการทำประมงอีกด้วย แต่สิ่งของหายาก และแพงที่สุด คือ น้ำจืด ช่วงนี้ต้องอาศัยการกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้  หรือซื้อมาจากฝั่งบก และราคาน้ำมันที่สุงขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับใช้กับพาหนะ ที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวบางชันส่วนกิจกรรมที่เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการท่องเที่ยวบริเวณลุ่มน้ำเวฬุ การล่องแพ การชมเหยี่ยวแดง ลงพื้นดินสัมผัสกับทะเลแหวกหนึ่งในปรากฎการธรรมชาติเป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก ชมวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเล วัดโบราณสมัย ร.5 จากหลักฐานเอกสารสิทธิ์ที่ทางราชการออกให้  ร.ร.วัดบางชันที่เก่าแก่มากอยู่คู่กับชุมชน 

         นางสาวจุไรรัตน์  แก้วขาว ครูสาว ร.ร.วัดบางชันบอกว่ามาอยู่สอนหนังสือที่โรงเรียนแห่งนี้ 12 ปี ก็พยายามปรับตัวเข้ากับบริบทพื้นที่ เพื่อให้อยู่ได้ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในส่วนที่ทาง ร.ร.ขาดแคลนต้องการความช่วยเหลือ ในส่วนของครูจะได้เบี้ยพิเศษรายละ 2,000 บาท เป็นค่าเรือค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายน้ำไฟ

           ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีชาวบ้านเปลี่ยนจากอาชีพประมงมาประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ ซึ่งมีมากกว่า 20 แห่ง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากินมาพักแล้วมีกิจกรรมหลากหลาย กินปู ดูเหยี่ยว เที่ยวบ้านไร้แผ่นดิน โดยคิดเป็นแพคเกดหัวละ 1600-บาทต่อหัววันธรรมดา เสาร์- อาทิตย์ 1700 บาทต่อหัว ทำให้สามารถสร้างรายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมากคือ ช่วงเดือน พย.ถึง เม.ย.เพราะเป็นช่วงหมดมรสุมการเดินทางสะดวกปลอดภัย 

       บริเวณบางชัน มีกิจกรรมอีกหลากหลาย ที่สามารถคุยติดต่อสอบถามกับทางโฮมสเตย์ได้โดยตรงเดินชมหมู่บ้านไร้แผ่นดิน ชมฝูงเหยี่ยวแดง ชมทะเลแหวก ศึกษากิจกรรมวิถีชีวิตชุมชนบางชัน และการประกอบอาชีพของชาวบ้าน นั่งเรือชมป่าชายเลนสักการะหลวงพ่อปากน้ำเวฬุ (ศาลเจ้าพ่อปากน้ำเวฬุ)เที่ยววัดบางชัน (วัดอรัญสมุทธาราม)การล่องแพเปียกพายเรือคายัค การงมหอยแครง การตกปลา ดักลอบปลา เที่ยวเกาะจิก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลบางชันที่อยู่ 87 ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 22110ติดต่อ 039-460-951

สมนึก วิสุทธิ์ จันทบุรี
 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...