แม่ทัพน้อยที่ 2 รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 เปิดโครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อการสร้างความชุ่มชื้นและพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูความชุ่มชื้นป่าไม้จากต้นกล้าและเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การเพาะเห็ดพื้นบ้าน นำตัวแทนจากหมู่บ้านปลูกป่าชุมชน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ มีอยู่มีกิน จากป่าชุมชน
ที่โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พลโท ธวัชชัย แจ้งประจักษ์ แม่ทัพน้อยที่ 2 รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ประธานเปิดโครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อการสร้างความชุ่มชื้นและพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูความชุ่มชื้นป่าไม้จากต้นกล้าและเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(การเพาะเห็ดพื้นบ้าน) และให้แนวทางการจัดการโครงการ เพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน สำหรับโครงการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อการสร้างความชุ่มชื้นและพื้นที่สีเขียวฟื้นฟูความชุ่มชื้นป่าไม้จากต้นกล้าและเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(การเพาะเห็ดพื้นบ้าน) แม่ทัพภาคที่ 2 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 อนุมัติพื้นที่นำร่องใน 10 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จำนวนพื้นที่ป่าไม้ลดลง (ข้อมูลจากกรมป่าไม้ ปี 2564 ) ป่าไม้เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่า มีความสำคัญและจำเป็น ต่อการดำรงชีพของมนุษย์และสัตว์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยพื้นที่ป่าไม้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากการที่ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย อันเนื่องมาจากการเจริญเติบโต และขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบุกรุกป่าไม้ เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ เช่น ภาวะความแห้งแล้ง เกิดหมอกควัน PM 2.5 ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดน้ำหลากท่วมฉับพลัน การพังทลายของหน้าดิน การขาดแคลนอาหารพื้นบ้านในหลายท้องถิ่น ดังนั้นการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูป่า จะก่อประโยชน์ต่อสรรพสิ่งในผืนป่า เป็นการคืนสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้ได้มีการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูป่า ก่อประโยชน์ต่อสรรพสิ่งในผืนป่า เป็นการคืนสมดุลของระบบนิเวศเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่าไม้ เน้นไปที่การมีส่วนร่วมของชุมขนและสังคม มุ่งปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ให้มีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ด้วยการแจกจ่ายต้นกล้าไม้ที่มีการใส่เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา สำหรับการจัดฝึกอบรมมีตัวแทนชุมชน หมู่บ้านในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน จากอำเภอวารินชำราบ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ จากเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) และเครือข่ายป่าชุมชนท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี และกำลังพลจาก กรมทหารราบที่ 6เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาแก่กลุ่มเป้าหมายใน 10 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 ศูนย์ เพื่อทำการเพาะเชื้อเห็ดกับต้นกล้าไม้จำนวน 50,000 ต้น เพื่อแจกจ่ายกล้าไม้ที่มีเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา แก่ประชาชน ชุมชนในการนำไปปลูกจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 ต้น ในปีแรกของการดำเนินการ ในพื้นที่ 10 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แก่ประชาชน ชุมชน ในสังคมพื้นที่เป้าหมายนำร่องด้วยการมีส่วนร่วมในการปลูกป่า เพื่อเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยการแจกต้นกล้าที่มีเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ภาพ/ข่าว/สุธน ประกอบพร/จังหวัดอุบลราชธานี