ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สมาคมกีฬาคูราช แห่งประเทศไทยเตรียมผลักดัน ไปสู่เอเชียสเกมส์
28 ส.ค. 2566

กาญจนบุรี – สมาคมกีฬาคูราช แห่งประเทศไทยเตรียมผลักดัน ไปสู่เอเชียสเกมส์ กีฬาที่เก่าแก่อีกชนิดในประเทศไทยเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 12 ปี ซึ่งคนไม่ค่อยรู้จักมากนัก

วันนี้ 27 ส.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สนามการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 กาญจนบุรีเกสม์ ได้จัดเป็นสนามการแข่งขันกีฬา คูราช (KURASH) คูราช เป็นกีฬาการปล้้าต่อสู้ในท่ายืน คล้ายกับมวยปล้ำ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถานเมื่อ 3,500  ปีมาแล้ว “คูราช” เป็นภาษาอุสเบก หมายถึง “การไปให้ถึงจุดหมายอย่างสมเหตุสมผลหรือวิธีที่ยุติธรรม” ในประวัติศาสตร์ของประเทศทางตะวันออกในทวีปเอเซีย ได้กล่าวไว้ว่า “คูราช” เป็นศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว เป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ การฝึกทักษะของนักกีฬาที่มีความสง่างามต่างกับกีฬาชนิดอื่น  เป็นกีฬาของสาธารณชนเพื่อความสนุกสนาน ตำนานของชาวเอเชียกลาง เมื่อ1,000 ปี ก่อนกล่าวว่า “คูราช” เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและนิยมฝึกฝนอย่างกว้างขวางในเอเซียกลาง “คูราช” เป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพทางร่างกายและทางจิตใจของมนุษย์ แต่ไม่ปรากฏแน่นอนว่า “คูราช” ได้เริ่มฝึกฝน หรือ มีกำเนิดครั้งแรกโดยใคร  ที่ไหน  และเมื่อใด  แต่ส่วนมากต่างเห็นพ้องต้องกันว่า “คูราช” เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งที่ผู้คนฝึกฝนกันมา

“คูราช” ได้กลับมาพัฒนาใหม่ในศตวรรษที่ 8 ผู้คนในเอเชียกลาง สมัยนั้นใช้ “คูราช” เพื่อความสนุกสนาน และเฉลิมฉลองเทศกาลที่สำคัญ ๆ ทางสังคม เช่นวันหยุดพักผ่อน งานสมรส และพิธีฉลองต่าง ๆ “คูราช” ได้พัฒนาจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานกลายเป็นกีฬาเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาความ แข็งแกร่งของร่างกาย นักกีฬา “คูราช” ที่มีชื่อว่าแข็งแรงที่สุดในศตวรรษที่ 12 คือ พาลาวาน มาฮาหมัด และสุสานที่อุสเบกิสถาน ของเขานับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ผู้คนในเอเชียกลาง ไปเคารพบูชา ในศตวรรษที่ 14 สมัยที่ติมอร์รุ่งเรืองและมีความเจริญทางอารยธรรม ได้ใช้ “คูราช” เพื่อฝึกฝนและ พัฒนาความสมบูรณ์แข็งแรงของเหล่าทหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกในสมัยนั้นว่า ทหารติมอร์มีความแข็งแรงเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครโค่นได้

เมื่อเวลาผ่านไป “คูราช” ได้กลายเป็นที่ยอมรับและเป็นประเพณีนิยมในเอเซียกลาง โดยเฉพาะใน อุสเบกิสถาน อาจจะกล่าวได้เลยว่าคูราชได้ฝังเข้าไปในกระดูกของชาวอุสเบกแล้ว “คูราช”ได้รับ การถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก ชาวอุสเบกในปัจจุบันนี้ประมาณไม่น้อยกว่าสองล้านคนที่สนใจฝึกฝน “คูราช” ไม่นับรวมผู้ที่ชื่นชอบและติดตามกีฬาประเภทนี้ “คูราช” ในยุคปัจจุบัน ประมาณสองทศวรรษก่อน โคมิล ยูซูปอพ (MR.KOMIL YUSPOV) นักกีฬาชาวอุสเบก ผู้มีชื่อเสียงทาง “คูราช” ยูโด และแซมโบ ผู้ที่ปลุกให้คูราชฟื้นขึ้นมาในโลกแห่ง กีฬาได้เป็นผู้เริ่มค้นคว้าศึกษาความเป็นมาของคูราช เทคนิค การเล่น และร่างกฎกติกาของคูราชขึ้นมาใหม่เพื่อให้ทัดเทียมกับมาตราฐานสากล ประมาณต้นปี 2533 ที่เขาจบการค้นคว้าและเริ่มนำ “คูราช” เข้าสู่กีฬาโลกยูซูปอพได้เป็นผู้นำเสนอกติกา “คูราช” ที่ได้ร่างขึ้นมาต่อสาธารณชน และสมาพันธ์ “คูราชนานาชาติ” ได้ให้การรับรองกติกา “คูราช” ของ โคมิล ยูซูปอพ เป็นกติกาอย่างเป็นทางการของสมาพันธ์ “คูราชนานาชาติ” กติกาใหม่นี้ได้รวมส่วนที่ดีที่สุด ของกีฬาประจำชาติให้สอดคล้องเข้ากับมาตรฐานกีฬาสากล เช่น เครื่องแต่งกาย สนามแข่ง ระยะเวลาใน การแข่งขันฯลฯผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาต่างยอมรับว่ากติกา “คูราช” ที่โคมิลยูซูปอพ ได้เป็น ผู้พัฒนาปรับเปลี่ยนนั้นสมบูรณ์ตรงตามความต้องการของการกีฬาสากล

กติกา “คูราช” ที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ การห้ามปล้ำต่อสู้บนพื้น เมื่อใดที่เข่าของนักกีฬาแตะพื้น กรรมการจะต้องหยุดการแข่งขัน และจะเริ่มการแข่งต่อไปใหม่เมื่อนักกีฬากลับเข้าสู่ท่ายืนแล้ว นอกจากนั้นกติกาจะไม่อนุญาตให้นักกีฬา จับคู่ต่อสู้ต่ำกว่า เข็มขัด ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยให้คูราชเป็นกีฬาที่ใช้ความรวดเร็วและน่าสนใจติดตาม นอกไปจากนั้นกติกา “คูราช” ยังห้ามไม่ให้นักกีฬาใช้แขนล็อคคู่ต่อสู้ การหนุนไม่ให้เคลื่อนไหว หรือการใช้เทคนิคอื่น ๆ ที่แปลก ๆ ออกไป อันจะเป็นการช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้นักกีฬาเกิดการบาดเจ็บและทำให้ “คูราช” เป็นกีฬาที่ปลอดภัยที่สุดของศิลปะการ ต่อสู้ประเภทหนึ่ง

เมื่ออุสเบกิสถานได้รับการประกาศตัวให้เป็นอิสระจากมอสโคว์ สหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534  คูราช  ก็เริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ประธานาธิบดีอิสลาม คาริมอฟ ผู้น้ารัฐบาลอุสเบกิสถานคนแรก มีความประสงค์ที่จะฟื้นฟูค่านิยมและจารีตประเพณีของชาวอุสเบกที่ถูกบีบอยู่ภายใต้การปกครอง ของโซเวียต เป็นเวลา70 ปี และ  คูราช  ก็เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพัฒนา เมื่อเดือน เมษายน 2535 ประธานาธิบดีคาริมอฟ ได้พบกับโคมิล ยูซูปอพ เพื่อหารือถึงการพัฒนากีฬาแห่งชาติให้ขยายออกไปทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์ว่า  คูราช  จะต้องได้เป็นกีฬาสากลตลอดจน ได้เข้า ไปจัดอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค นับจากนั้นเป็นต้นมา โคมิล ยูซูปอพ ก็ได้เริ่มเผยแพร่คูราช เข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ของอุสเบกิสถาน จัดการแข่งขันหลาย ๆ รายการในภาคต่างๆ ของอุสเบกิสถาน คูราช ประสบความสำเร็จและสร้างผู้เล่น คูราช ท้องถิ่นขึ้นมาเป็นพัน ๆ คน ได้รับการ ต้อนรับอย่างล้นหลามและเฝ้าติดตามจากผู้ชมเป็นล้าน ๆ คนเมื่อมีการแข่งขันในเทศกาลต่าง ๆ ของ อุสเบกิสถาน

ตั้งแต่ 2535 คูราชได้ขยายวงกว้างออกไปจากอุสเบกิสถาน เข้าสู่การแข่งขันระดับสากล นำเข้าสู่ การประชุมสุดยอดกีฬาเกาหลีใต้ แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา โมนาโค และรัสเซีย ส่งผลให้ มีการจัดการแข่งขันคูราชระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ที่ทัชเค็นท์ เมืองหลวงของอุสเบกิสถาน มีนักกีฬาและประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วโลกเกือบ 30 ประเทศ ผู้เข้าชมในวันเปิดสนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 30,000 คน และติดตามการถ่ายทอดโทรทัศน์ อีกเป็นล้าน ๆ คน และการแข่งขันคูราชครั้งแรกนี้นับว่าประสบความสำเร็จ ที่นั่งชมการแข่งขัน จำนวน 30,000 ในสนามไม่เพียงพอสำหรับผู้ชม ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนั้นคือ ซาลิม ตาตาร์ โอกลู นักกีฬาจากตุรกีสหพันธ์คูราชนานาชาติได้จัดตั้งขึ้นที่ทัชเค็นท์ในวันที่ 6 กันยายน 2541 โดยผู้แทน 28 ประเทศ จากยุโรป เอเซีย และอเมริกา เพื่อเป็นองค์กรกีฬาโลกอย่างเป็นทางการของคูราชนานาชาติเป็น ครั้งแรกที่สภาสหพันธ์กีฬาให้การรับรองกติกาคูราชและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้น ายโคมิล ยูซูปอพ (MR.KOMIL YUSPOV – PRESIDENT of IKA) ผู้จัดทำกติกาคูราชนานาชาติเป็น นายกของสหพันธ์คูราชนานาชาติ INTERNATIONAL KURASH ASSOCIATION ( IKA)

นับจากสมาพันธ์คูราชนานาชาติได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ2541 เป็นต้นมา สมาพันธ์ คูราชเอเซียก็ได้พัฒนา และเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นในเอเซีย มีประเทศที่เข้าร่วมอยู่ในสมาพันธ์ฯ เวลานี้ 25 ประเทศ มีดร. โมฮัมเหม็ด เดรัคชาน (MOHAMMAD DERAKHSHAN MOBARAKEH) ดำรงตำแหน่งนายกสมาพันธ์คูราชเอเซีย และอุปนายกสมาพันธ์คูราชนานาชาติ


ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...