มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (กถ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เตรียมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรับรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อ "ร่างกฎกกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ.. "ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 กำหนดให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงให้แล้วเสร็จใน 60 วัน และให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 77 ในการให้การรับรู้กับประชาชน
"กถ.อนุมัติงบประมาณ 4,180,000 บาท ให้กับ 76 จังหวัด ๆ ละ 55,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายเสริมสร้าง ความรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่ อปท.ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สร้างความรับรู้ในประเด็นค่าธรรมเนียม เพดานขั้นสูงและเพดานขั้นต่ำ รวมถึงพื้นที่ที่ยกค่าเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียม"
มีรายงานว่า สำหรับร่างฉบับดังกล่าว ระบุถึงค่าธรรมเนียมใหม่ โดยมีหลักการ "ที่ใครก่อขยะเป็นภาระของคนนั้น" (ผู้ก่อนมลพิษเป็นผู้จ่าย) ค่าธรรมเนียมที่ท้องถิ่นได้รับจะกลับมาจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
"ประชาชนต้องรับผิดชอบค่าขยะ ,ค่าขยะแปรผันตามปริมาณที่ก่อ ,ค่าขยะกลายเป็นต้นทุนให้ท้องถิ่นบริหาร จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ,ต้องคัดแยกและลดปริมาณอย่างมีระบบ , ท้องถิ่นบริหารจัดการขยะอย่างถูกลักษณะ ,ขยะครัวเรือนลด ขยะในประเทศลด เป็นต้น
ส่วนอัตราค่าธรรมเนียม คิดตามต้นทุนที่แท้จริงในการบริหารจัดการขยะ ,ค่าขยะรายเดือน ปรับปรุงให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดการในทุก 6 ปี ,ขยะไม่เกิน 120 กิโลกรัม *ค่าเก็บขน เดือนละ 60-102 บาท *ค่ากำจัด เดือนละ 40-70 บาท.