นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้นัดหารือกับผู้บริหารของกระทรวงการคลังคาดว่า จะเป็นการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการผลักดันนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ทั้งนี้นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยผลการหารือของทีมเศรษฐกิจกับนายเศรษฐาว่า เป็นการให้ข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งหารือถึงแนวนโยบายที่รัฐบาลใหม่ต้องการจะดำเนินการว่ามีรูปแบบอย่างไร ซึ่งมีหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการ นายเศรษฐา ระบุว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2566 ชะลอตัว และจำเป็นต้องมีมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต
-งบประมาณที่จะนำมาใช้ในมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต ต้องไปดูในรายละเอียด ภาระการคลังที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งต้องเป็นการหารือร่วมกับหลายหน่วยงาน
-มาตรการพักชำระหนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ดูแล เน้นการปรับโครงสร้างหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ให้ลูกหนี้เกิดพฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้
-การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% เพื่อหารายได้จัดสวัสดิการรองรับสังคมสูงวัย สศช.ยืนยันว่าเป็นเพียงแนวคิดในงานสัมมนา ที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุย สศช.ไม่ได้เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่
นายดนุชา กล่าวว่า ไตรมาส 2 ปี 2566 สถานการณ์แรงงานปรับตัวดีขึ้น ผู้ที่มีงานทำมีจำนวน 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.7% ขณะที่อัตราว่างงานมีแนวโน้มดีขึ้น ลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 1.06% หรือมีผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน
หนี้สินครัวเรือนไตรมาส 1 ปี 2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.6% คิดเป็นมูลค่า 15.96 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี เกิดจากการปรับนิยามหนี้ใหม่ กว่า 7 แสนล้านบาท คิดเป็นกว่า 4.5% ต่อจีดีพี
ความสามารถในการชำระหนี้ปรับลดลงเล็กน้อย โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 1.44 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.68% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.62% โดยความเสี่ยงในการเป็นหนี้เสียของสินเชื่อยานยนต์ ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้เสียยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มสูงกว่า 30.3% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การหลอกลวงทางโทรศัพท์ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2565 คนไทยต้องรับสายจากมิจฉาชีพสูงถึง 17 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2564 กว่า 165.6% มีมูลค่าความเสียหายกว่า 38,786 ล้านบาท
หนี้ครัวเรือนเพิ่ม3.6%หนี้รถ-สหกรณ์อาการน่าห่วง
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2566 พบว่าหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 เพิ่มขึ้น 3.6% ขณะที่คุณภาพสินเชื่อภาพรวมของธนาคารพาณิชย์ลดลงเล็กน้อย แต่ความเสี่ยงในการเป็น หนี้เสียของสินเชื่อยานยนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 15.96 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 90.6% ชะลอตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน
หากพิจารณาการก่อหนี้ครัวเรือนรายวัตถุประสงค์ พบว่า ครัวเรือนมีการก่อหนี้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ และอุปโภค-บริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนภาพรวมลดลงเล็กน้อย โดยหนี้ NPLs มีมูลค่า 1.44 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วน NPLs ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.68% เพิ่มขึ้น 2.62% ของไตรมาสก่อน
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหนี้สินครัวเรือนที่ควรให้ความสำคัญได้แก่ 1) หนี้เสียและความเสี่ยงของการเป็นหนี้เสียของสินเชื่อยานยนต์ยังมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในไตรมาสหนึ่ง ปี 2566 หนี้ NPL ของสินเชื่อยานยนต์ขยายตัวเพิ่มสูงถึง 30.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2) การติดกับดักหนี้ของลูกหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สะท้อนจากพฤติกรรมการกู้ยืมของลูกหนี้สหกรณ์ส่วนใหญ่เพื่อใช้สอยส่วนตัวและเพื่อชำระหนี้สินเดิม และ 3) การส่งเสริมให้คนไทยมีทัศนคติทางการเงินที่ถูกต้อง แม้ว่าคนไทยจะมีระดับความรู้ทางการเงินดีขึ้น แต่การสำรวจการติดตามระดับความรู้ และการเข้าถึงบริการทางการเงินของครัวเรือน ปี 2565 พบว่า ทัศนคติทางการเงินที่ถูกต้องของคนไทยลดลงเมื่อเทียบกับปี 2563
ขณะที่ สถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวในสาขานอกภาคเกษตรกรรม ขณะที่ภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อย่างไรก็ตาม ชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้างแรงงาน และอัตราการว่างงานยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องการ จ้างงาน ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.7% จากการขยายตัวของการจ้างงานสาขานอกภาคเกษตรกรรมที่ 2.5% โดยสาขาโรงแรมและภัตตาคารยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ 11.7% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและการเข้ามาอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่นเดียวกับสาขาก่อสร้างที่มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น 6.0% และสาขาการผลิต การค้าส่งและค้าปลีกและการขนส่ง และเก็บสินค้า เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 0.3% 0.5% และ 1.1% ตามลำดับขณะที่ภาคเกษตรกรรมการจ้างงานหดตัวลงเล็กน้อยจากปี 2565 ที่ 0.2% ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภัยแล้ง ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ 42.7 และ 46.7 ตามลำดับ
สำหรับค่าจ้างแรงงาน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 15,412 และ14,032 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราการว่างงานมีแนวโน้มดีขึ้น ลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 1.06% หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 4.3 แสนคน
ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 1) การขาดแคลนแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากพิจารณาตำแหน่งงานว่างและจำนวนแรงงานที่ได้บรรจุงานในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2565 ถึงเดือน มิถุนายน ปี 2566 จะพบว่า ผู้สมัครงาน 1 คนมีตำแหน่งงานรองรับถึง 5 ตำแหน่ง 2) การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการเกษียณอายุของแรงงานทักษะต่ำโดยไตรมาสสองปี 2566 มีแรงงานทักษะต่ำ ในภาคเอกชนที่กำลังจะเกษียณอายุกว่า 1.3 ล้านคน ขณะที่แรงงานที่จะเข้ามาทดแทนมีแนวโน้มลดลง และ 3) ผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของเกษตรกรจากภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยปริมาณฝนสะสมในปัจจุบันมีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ในทุกภูมิภาค ซึ่งการลดลงของปริมาณน้ำจะส่ง ผลกระทบต่อการทำการเกษตร