ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กทพ.เตรียมชง 3โครงการ รมต.ใหม่ พัฒนาพื้นที่ทำเลทองเชิงพาณิชย์
29 ส.ค. 2566

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นของภาคเอกชน ภายใต้โครงการประเมินความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ในการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์  โดยได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานธุรกิจทางพิเศษและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่คับคั่งให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางแก่ประชาชน 
“กทพ.ถือเป็นหน่วยงานที่เปิดให้บริการมากว่า 50ปี โดยมีพื้นที่ใต้ทางด่วน และพื้นที่ในครอบครองจำนวนมาก ที่เรายังใช้พื้นที่มียังไม่เต็มศักยภาพ โดยกทพ.ได้กำหนดพื้นที่ศักยภาพที่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ 25 พื้นที่ ทั้งแปลงพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่ศักยภาพในเมือง พื้นที่ศักยภาพชานเมือง และพื้นที่เตรียมพร้อมรองรับสู่การติดตั้ง EV Station ภายใต้โครงการประเมินความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ในการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์” เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ในเขตทางพิเศษอย่างเหมาะสม สำหรับพื้นที่ที่น่าสนใจที่ต้องรีบลงทุนมากที่สุดคือย่านสีลม เพลินจิต”
สำหรับในการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ การทางพิเศษฯ ได้นำเสนอพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ 25 พื้นที่ ทั้งแปลงพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่ศักยภาพในเมือง พื้นที่ศักยภาพชานเมือง และพื้นที่เตรียมพร้อมรองรับสู่การติดตั้ง EV Station ซึ่งพื้นที่ศักยภาพในเมืองมี 7 พื้นที่ โดยเป็นพื้นที่ขนาด S จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ ถนนสีลมทางพิเศษศรีรัช, สำนักงานอโศกทางพิเศษศรีรัช, สุขาภิบาล 5 ทางพิเศษฉลองรัช, หัวถนนรามอินทราทางพิเศษฉลองรัช และบริเวณสุขุมวิท (เพลินจิต) ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ส่วนพื้นที่ขนาด M มี 2 พื้นที่ คืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทางพิเศษศรีรัช และบริเวณปากซอยวัชรพลทางพิเศษฉลองรัช พื้นที่ศักยภาพชานเมือง มีจำนวน 25 พื้นที่  
แบ่งเป็น พื้นที่ขนาด S มี 4 พื้นที่ คือพื้นที่ศรีสมานทางพิเศษอุดรรัถยา, จุดตัดถนนเทพรักษ์ด้านทิศใต้ทางพิเศษฉลองรัช, จุดตัดถนนเทพารักษ์ด้านทิศใต้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และจุดตัดถนนศรีนครินทร์ด้านทิศใต้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก  พื้นที่ขนาด M มี 3 พื้นที่ คือ บริเวณ กม.16 ทางพิเศษอุดรรัถยา, พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณทางพิเศษกาญจนาภิเษก และจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกฯ ทางพิเศษฉลองรัช และพื้นที่ขนาด L  คือ ต่างระดับบางปะอิน ทางพิเศษอุดรรัถยา
พื้นที่ EV Station มี 25 พื้นที่ แบ่งเป็น พื้นที่ขนาด S มี 3 พื้นที่ คือ พระราม 6 ซอย 20 ทางพิเศษศรีรัช, หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางรามคำแหง ทางพิเศษศรีรัช และ งามวงศ์วาน 21 ทางพิเศษศรีรัช พื้นที่ขนาด M มี 6 พื้นที่ คือพระราม 9-อโศก ทางพิเศษศรีรัช, หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางสุรวงศ์ ทางพิเศษศรีรัช, จุดกลับรถเซ็นทรัลพระราม 3 ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, งามวงศ์วาน 23 ทางพิเศษศรีรัช, บริเวณหลังด่านคลองประปา 2 ทางพิเศษศรีรัช และจุดกลับรถลาดพร้าวทาวน์อินทาวน์ ทางพิเศษฉลองรัช และพื้นที่ขนาด L มี 1 พื้นที่ บริเวณถนนวัชรพลใต้ทางพิเศษฉลองรัช
อย่างไรก็ตาม นอกจากพื้นที่ที่นำเสนอในครั้งนี้  การทางพิเศษฯ ยังคงมีพื้นที่ศักยภาพทั้งในเมืองและชานเมืองตาม แนวเขตทางพิเศษที่เปิดให้บริการในปัจจุบันอีกหลายบริเวณ ซึ่งหลังจากหมดสัญญากับผู้เช่ารายเดิม และมีความชัดเจนของการพัฒนาพื้นที่เกี่ยวเนื่องโดยรอบ ก็จะได้นำมาเปิดประมูล หรือร่วมลงทุนต่อไป ภายในปี 2571  ทั้งนี้ปัจจุบัน จากพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 3,000 ไร่ การทางพิเศษฯ นำมาใช้เพื่อสาธารณประโยชน์แล้วร้อยละ 37.74 และใช้เชิงพาณิชย์ร้อยละ 9 จึงยังมีพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนาได้อีกมากกว่าร้อยละ 53 ซึ่งการทางพิเศษฯ มีเป้าหมายเพิ่มการนำพื้นที่ศักยภาพมาดำเนินการพัฒนาเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ควบคู่สาธารณประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ทั้งนี้ ยังมีแผนจะพัฒนาพื้นที่ตามแนวเขตทางพิเศษของโครงการทางพิเศษสายใหม่ๆในอนาคต ที่ดำเนินการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษของการทางพิเศษฯ ซึ่งจะครอบคลุม ทั้งในกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค เช่น ภูเก็ต และสมุย 
นอกจากนี้ นายสุรเชษฐ์ ยังกล่าวด้วยว่า  ขณะนี้การทางพิเศษฯ ได้เตรียมความพร้อมที่จะเสนอแผนโครงการต่อรัฐบาลใหม่ โดยมีโครงการที่มีความพร้อมที่สุด 3โครงการ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่รับทราบ ประกอบด้วย 1.โครงการทางด่วนช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท
2.โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 ช่วง N2 แยกเกษตร-นวมินทร์ ระยะทาง 11.3 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านแล้ว รูปแบบผ่านแล้ว มีงบประมาณพร้อมสำหรับการก่อสร้างแล้ว และในส่วนของขั้นตอนการสอบถามไปยังหน่วยงานต่างๆ ทางกระทรวงก็ได้มีการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงรับฟังแนวทางการปฏิบัติจากรัฐมนตรี

       

และ 3.โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (โครงการระยะที่ 1) ระยะทาง 3.98 กม. วงเงินลงทุน 1.46 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาได้มีการเปิดให้เอกชนร่วมประมูลแล้ว แต่ยังไม่มีผู้สนใจร่วมประมูล การทางฯ จึงมีแผนที่จะดำเนินการลงทุนก่อสร้างเอง หรือในกรณีที่ไม่มีการกู้เงินลงทุน ก็มีแผนที่จะนำรายได้ของการทางฯ มาลงทุน โดยจะมีหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอนำรายได้มาใช้ในการลงทุนต่อไป เพื่อให้โครงการการเดินหน้าต่อ และเป็นการลดปัญหาอุบัติเหตุให้กับคนในพื้นที่อีกด้วย เนื่องจากหากต้องเริ่มขั้นตอนการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ใหม่ โครงการต้องล่าช้าออกไปถึง 2 ปี ซึ่งทั้ง 3 โครงการดังกล่าวมีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 5.56 หมื่นล้านบาท

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...