เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.กระบี่ เร่งจับกุ้งขาวแวนาใม ขายตามโควตาที่ได้รับการชดเชยส่วนต่างด้านราคา กิโลกรัมละ 20 บาท ตามโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาล หลังกุ้งราคาตกต่ำต่อเนื่องในรอบ หลายปี ด้าน ปธ.ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกระบี่เรียกร้อง รัฐบาลใหม่ เร่ง ช่วยเหลือ ลดราคา ค่า กระแสไฟฟ้า แก๊สหุงต้ม หาตลาดการส่งออก เพิ่มขึ้น
. นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นางวิภารัตน์ ภูเก้าล้วน พาณิชย์จังหวัดกระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมลงพื้นที่ติดตามการจับกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ อำเภอเหนือคลอง หลังจากเลี้ยงมาได้ขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม รวมน้ำหนักกว่า 4 ตัน จำนวน 2 ตัน ขายเข้าโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยภาครัฐจะจ่ายเงินส่วนต่างกับราคาตลาด กิโลกรัมละ 20 บาท ค่าบริหารจัดการด้านการตลาด กิโลกรัมละ 10 บาท ตามที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ประสบปัญหาตกต่ำออกมาเรียกร้องก่อนหน้านี้
นายหรินทร์ ลือประสงค์จิตร ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า จังหวัดกระบี่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ กว่า 5 ล้านบาท จํานวนกุ้งน้ำหนัก 165 ตัน มีเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ได้รับสิท ธิเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย ๆ ละไม่เกิน 3 ตัน จากจำนวน ผู้เลี้ยงกุ้ง กว่า 200 ราย โดย ที่ผ่านมามีเกษตรกรจับกุ้งเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 25 ราย
การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างราคา เป็นเพียงบรรเท่าผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับราคาที่ขายกุ้งได้ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแก๊สหุ้งต้มสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ค่าอาหารกุ้ง ค่าเคมีภัณฑ์ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือ เช่น ลดค่า กระแสไฟฟ้า แก๊สหุงต้ม ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องตีน้ำให้ออกซิเจน และการ หาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากขณะนี้มีกุ้งจำนวนมาก ตกค้างอยู่ในห้องเย็น โดย ราคากุ้งตกต่ำมาก ขนาด 100 ตัว/กก. ขายได้ กก.ละ 105 บาท ขนาด 30 ตัว/กก.ขายได้ กก.ละ 130-140 บาท เกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก
ขณะนี้พบว่ามีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หยุดเลี้ยงชั่วคราวแล้วหลายราย บางรายลดจำนวนการเลี้ยงลง เพื่อลดต้นทุน บางรายปรับตัวหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำแทน เนื่องจากขณะนี้ราคาดีกว่ากุ้งขาวแวนไม แต่ระยะเวลาเลี้ยงนานกว่า 4-7 เดือน ตามขนาดกุ้งที่ต้องการ ซึ่งราคากุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมราคาไม่ต่ำกว่า 250 บาท ขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ละ 200 บาท
กระบี่