ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สถานศึกษา ทน.แม่สอด สานความร่วมมือการยกระดับของการพัฒนามาตรฐาน งานอนามัยของโรงเรียน
07 ก.ย. 2566
นางสาวนิภาภรณ์  อินนาคกูล ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สังกัดเทศบาลนครแม่สอด ประธานในพิธีเปิดกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  ในหัวข้อเรื่องการเฝ้าระวัง และป้องกันภาวะโรคซึมเศร้า พร้อมด้วย คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลแม่สอด และโรงพยาบาลพบพระ  โดยนางเพลินฤทัย สุนทรเสถียร นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ รพ.แม่สอด นางวราภรณ์  กองมณี นักจิตวิทยาปฏิบัติการ รพ.พบพระ นางสุนิสา เพ่งยี่ นักสังคมสงเคราะห์ รพ.แม่สอด นางสาวหนึ่งฤทัย  ปั้นกันอินทร์
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.แม่สอด นางสาวศศิธร  เดชชิต นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.แม่สอดทีมคณะวิทยากรมาสร้างแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย  นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 150 คน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
 
นางเพลินฤทัย กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก จากการศึกษา ร่วมกันระหว่าง องค์กรอนามัยโลก และธนาคารโลกคาดการณ์ภาวะของโรค ที่มีประชากรในทุกภูมิภาคของโลก โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดและปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น พบว่า คนไทยอายุ 25 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคนี้ร้อยละ 2 หรือมีประมาณ 1.5 ล้านคน มีประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้ารับการตรวจรักษาและส่งเสริมสุขภาพและเมื่อวิเคราะห์ จากสถิติตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้า
 
โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยส่วนใหญ่ มีนักเรียนช่วงอายุอยู่ระหว่าง 16-18 ปี ซึ่งปัจจุบันจากการศึกษาเปรียบเทียบ พฤติกรรมของนักเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มีความ เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ในช่วงระหว่าง 2-3 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทั่วโลกประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้ผู้ปกครองและนักเรียนประสบปัญหาทางด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งนักเรียนเกิดภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอย มีพฤติกรรมการติด อินเทอร์เน็ตและภาวะซึมเศร้า จากปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการดำรงชีวิตในสังคมของนักเรียน จึงได้จัดให้มีโครงการเฝ้าระวังและ ป้องกันภาวะโรคซึมเศร้า ขึ้น
 
โดยวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคซึมเศร้า ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีการจัดการกับความเครียดได้อย่างถูกต้องและลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าของนักเรียน และบุคลากรในสถานศึกษาปัจจุบันปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้านการรักสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษาก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น  เพื่อประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้  อย่างมีความสุขและปลอดภัยและการให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามได้รับการสนับสนุน จากโรงพยาบาลแม่สอด ที่ให้ความอนุเคราะห์วิทยากร และได้รับความร่วมมืออย่างดี ตามรูปแบบการจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประจำปี 2566......เกษมสันต์ ไชยเดช / ตาก
 
 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...