อำเภอสหัสขันธ์
เดินหน้าแก้ไขปัญหาความยากจน ขับเคลื่อนโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน SustainableVillage น้อมนำแนวทางพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชูภูมิปัญญาแปรรูปปลาสร้างรายได้ สร้างอาชีพ
วันที่ 8 กันยายน 2566 ที่ศาลาประชาคมบ้านศรีสมบูรณ์ หมู่ที่4 ตำบลนิคม อำเภอสหัขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นายนพดล รอยพวง ปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง อำเภอสหัสขันธ์ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาในโรงเรือน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย เป็นงบประมาณในการสนับสนุนจำนวน 115,000 บาท โดยมีนายสมบูรณ์ นาสาทร ธรรมาภิบาลจังหวัดกาฬสินธุ์พร้อมคณะ นายวิญญู ขันผง นายกเทศมนตรีตำบลนิคม นางกรวิภา แก้วยิ่ง ปลัดเทศบาลตำบลนิคม นายพิเชษฐ์ ปรีจิตต์ กำนันตำบลนิคม พร้อมด้วยตัวทางจากส่วนราชการ ท้องถิ่นอำเภอสหัสขันธ์ ประมงอำเภอสหัสขันธ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอสหัสขันธ์ เป็นตัวแทนภาคเอกชน ร่วมพิธีเปิดโครงการและกิจกรรมอบรม ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจ 2 หมู่บ้าน จำนวน 50 คน
โดยในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาในโรงเรือน เป็นการขับเคลื่อนพื้นที่ตามแนวทางพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักและแนวทางในการพัฒนา แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในระดับหมู่บ้าน ซึ่งบ้านคำแคน หมู่ 5 ตำบลนิคม เป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เน้นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตลอดกิจกรรม
ทั้งนี้ มีนายสมบูรณ์ นาสาทร พร้อมคณะ
ธรรมาภิบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เข้าสังเกตการณ์ระหว่างการดำเนินการโครงการอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ข้อแนะนำในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวบ้าน
นายนพดล ร้อยพวง ปลัดอำเภอ กล่าวว่า พื้นที่บ้านศรีสมบูรณ์ และบ้านคำแคน ตำบลนิคม ติดกับเขื่อนลำปาว อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวประมงท้องถิ่น มีการออกจับปลาเพื่อจำหน่ายตลอดทั้งปี แต่จะประสบปัญหาในช่วงปลาราคาตกต่ำ จะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ทำให้รายไม่มีความยั่งยืน โดยคณะทำงานของอำเภอสหัสขันธ์ ที่ประกอบด้วย 7 ภาคีเครือข่าย ได้วิเคราะห์ตามศักยภาพของชุมชน เห็นว่าการส่งเสริมาชีพที่ยั่งยืนควรใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยการพัฒนาและต่อยอดจากภูมิปัญญาที่มีอยู่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดย ดร.จันรกรินทร์ ตรีอินทอง มาเป็นวิทยากรในหลักสูตรการแปรรูปปลาซิวแก้ว และปลาสร้อย จากเขื่อนลำปาว เป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งน้ำพริก และปลาแห้ง พร้อมกับการสร้างโรงเรือนเพื่อตากปลาในราคาต้นทุนต่ำ และสามารถทำได้เอง ซึ่งชาวบ้านให้ความสนใจและมีความพร้อมที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ในนามชุมชนออกจำหน่าย โดยมีทางชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ อำเภอสหัสขันธ์ เป็นคนกลางส่งเสริมการตลาดและการจำหน่าย
สมบูรณ์ นาสาทร
ข่าวกาฬสินธุ์ รายงาน