นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมหารือซักซ้อมแนวทางการดำเนินกิจกรรมธงคุณภาพอากาศในโรงเรียนสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ร่วมกับ 27 โรงเรียน โดยมีนางสาววรนุช สวยค้าข้าว รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 สำนักสิ่งแวดล้อม ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) และผ่านระบบออนไลน์
กรุงเทพมหานคร ได้ขยายผลโครงการธงคุณภาพอากาศในโรงเรียน โดยจับมือกับโรงเรียนเอกชน 27 แห่งในกรุงเทพฯ ให้ร่วมรายงานคุณภาพอากาศประจำวันโดยใช้ธงสี ตามข้อมูลคุณภาพอากาศ
ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้นำร่องโครงการธงคุณภาพอากาศในโรงเรียน ที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนและบุคลากร รวมไปถึงผู้ปกครอง ในโรงเรียนในสังกัดกทม. กว่า 437 แห่ง ให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์มลพิษทางอากาศ สามารถปกป้องตนเองอย่างปลอดภัย รวมถึงสามารถส่งต่อองค์ความรู้ให้กับคนในครอบครัว และชุมชน ลดผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างทันท่วงที ในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกินมาตรฐานในช่วงฤดูหนาวของทุกปี
สำหรับกิจกรรมธงคุณภาพอากาศในโรงเรียน เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ภายในโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับสำนักการศึกษา จัดกิจกรรมธงคุณภาพอากาศในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นรายวัน ผลกระทบต่อสุขภาพและวิธีการป้องกันตนเอง รวมถึงสมาชิกในครอบครัวให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5
5 สี ดังนี้
"เมื่อคุณภาพอากาศเข้าขั้นธงสีส้ม มาตรการสำหรับนักเรียนคือ ให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น งดกิจกรรมกลางแจ้ง และให้เข้าเรียนในห้องปลอดฝุ่น ในขณะที่เมื่อคุณภาพอากาศเข้าขั้นสีแดง ผู้อำนวยการโรงเรียนสามารถพิจารณาสั่งให้หยุดเรียนเป็นการชั่วคราวได้จนกว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้น" พรพรหม กล่าว
“ที่ผ่านมาจากการดำเนินโครงการใน 437 โรงเรียนสังกัดกทม. พบว่าทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยมลพิษฝุ่น PM2.5 มากขึ้น หมั่นตรวจเช็คคุณภาพอากาศมากขึ้น และสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสมเมื่อคุณภาพอากาศเริ่มแย่ลง ดังนั้นเราจึงยินดียิ่งที่จะได้ขยายผลโครงการนี้ไปยังโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร และในอนาคตเราจะขยายโครงการต่อไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เพิ่มด้วย”
ในขณะเดียวกัน เขายังเผยว่า กทม. ยังได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการโรงเรียนสู้ฝุ่น ใน 34 โรงเรียนสังกัด กทม. รวมไปถึงขอความสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดสร้างห้องเรียนปลอดฝุ่นให้ครบทุกโรงเรียนในสังกัด กทม. อีกด้วย