ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ผู้สูงอายุ หิ้วตะกร้าหมากร่วมขบวนแห่ เทศกาลสืบสานประเพณีวันสารทไทย
29 ก.ย. 2566
ผู้สูงอายุ หิ้วตะกร้าหมากร่วมขบวนแห่ โดยมี ส.ส.ร่วมขบวนแห่เทศกาลสืบสานประเพณีวันสารทไทย ของชุมชนชาวลาวเวียง วัดตะคร้ำเอน ขบวนแห่งยิ่งใหญ่ สารทเดือนสิบสอง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชุมชนบ้านตะคร้ำเอน ชาวชุมชนลาวเวียง ได้จัดตั้งริ้วขบวนแห่ของเด็กนักเรียนระดับอนุบาล และประถม ของโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ร่วมหาบขนมกระยาสารท พร้อมด้วยอาหารข้าวห่อ แห่ออกจากชุมชนศาลเจ้าพ่อเขาแดง โดยมีขบวนกลองยาว ลั่นไปตลอดเส้นทางมีนางรำ ร่วมถึงผู้สูงอายุ มือหนึ่งหิ้วตะกร้าหมาก อีกมือหนึ่งก็ร่ายรำเป็นการสร้างสีสันต์  ร่วมขบวนแห่ไปยังวัดตะคร้ำเอน เพื่อไปเข้าร่วมกิจการทำบุญเดือนสิบ โดยขบวนมี นาย ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 3 กับชาวบ้านในชุมชนร่วมขบวนเดินแห่ออกจากชุมชนไปยังวัดตะคร้ำเอน  ซึ่งในขบวนชาวบ้านและนักเรียนได้ร่วมหาบขนมกระยาสารท พร้อมด้วยอาหารข้าวห่อ เพื่อนำไปถวายกับพระสงฆ์ โดยมีพระครูวิสาลกาญจนกิจ (หลวงพ่ออนันต์ เขมฺจิตฺโต) รองเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา และเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี  ได้จัดสถานที่เป็นจุดศูนย์รวมของคนในชุมชนบ้านตะคร้ำเอน  หลังจากมีการถวายแล้ว พระสงฆ์ ได้รับไปฉันท์แล้วบางส่วน พระสงฆ์ก็ได้นำขนมกระยาสารท กับข้าวห่อของชาวบ้านมามาถวาย โยนให้กับประชาชนที่ไปร่วมงาน เพื่อได้นำกลับไปเซ่นไหว้บรรพบุรษ อีกส่วนก็นำไปไหว้พระแม่โพสพ ที่อยู่หัวไร่ปลายนา  ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งประเพณีนี้แต่ละภาคก็จะทำแต่จะแตกต่างกันไป แต่ก็มีความคล้ายๆ กัน โดยชาวบ้านที่ได้รับข้าวห่อจากพระสงฆ์ที่โยนออกมาให้ก็นำกลับออกไปเซ่นไหว้กับบรรพบุรษ และตามหัวไร่ปลายนาของแต่ละครอบครัวที่ไปร่วมงานบุญเดือนสิบ ครั้งนี้
 

และก่อนหน้านี้ทางวัดได้จัดให้มีการทำขนมกระยาสารท เพื่อเตรียมไว้แจกจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปร่วมงานเทศกาลสารทไทย ซึ่งวันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ เป็นเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่ง วันสารทไทย 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม  โดยในเช้าของวันที่ 29 ก.ย. 2566 ทางวัดตะคร้ำเอน จะได้จัดให้มีขบวนแห่ขนมกระยาสารทไทย โดยในปีนี้เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในปีต่อไปจะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่านี้ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีสารทไทย ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นมาของวันสารทไทย เพื่อสืบทอดประเพณีเช่นนี้ตลอดไป

 
โอกาสนี้ พระครูวิสาลกาญจนกิจ (หลวงพ่ออนันต์ เขมฺจิตฺโต) รองเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา และเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน กล่าวว่าในชุมชนบ้านตะคร้ำเอน ชาวบ้านเป็นคนลาวเวียงเยอะมาก ก่อนหน้านี้เขาก็ทำกันทุกปี แต่ทำกันในหมู่บ้านกันเอง ปีนี้ทางวัดตะคร้ำเอน เห็นว่ามันเงียบมานาน จากโรคโควิด – 19 เมื่อมันผ่านพ้นไปจึงได้มาร่วมประชุมกับทางคณะกรรมการวัดและชาวบ้าน จัดทำเป็นปีแรก เพื่อไม่ให้ประเพณีนี้หายไปรวมถึงให้ชนรุ่นหลังได้แลเห็นความสำคัญของประเพณี เพื่อสืบทอดรักษาไว้ต่อไป...................ปล่อยเสียง........เจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน...................................
 
นายยศวัฒน์  มาไพศาลสิน ส.ส.เขต 3 เห็นว่าประเพณีนี้ได้หยุดไปจากสถานการณ์โควิค – 19 ทางเจ้าได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีนี้เพื่อรักษาไว้กับชนรุ่นหลัง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีกับคนในชุมชนอีกด้วย ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้สังคมเรามันห่างเหินกันไป การจัดกิจกรรมเช่นนี้เพื่อรวบรวมจิตใจของคนในชุมชนให้กลับมา โดยยึดเอาประเพณีนี้กลับมาเพื่อสืบทอดกันต่อไป......ปล่อยเสียง........................นายยศวัฒน์  มาไพศาลสิน ส.ส.เขต 3.......................................
   ////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน
 
และก่อนหน้านี้ทางวัดได้จัดให้มีการทำขนมกระยาสารท เพื่อเตรียมไว้แจกจ่ายให้กับประชาชนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปร่วมงานเทศกาลสารทไทย ซึ่งวันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ เป็นเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่ง วันสารทไทย 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม  โดยในเช้าของวันที่ 29 ก.ย. 2566 ทางวัดตะคร้ำเอน จะได้จัดให้มีขบวนแห่ขนมกระยาสารทไทย โดยในปีนี้เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในปีต่อไปจะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่านี้ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีสารทไทย ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเป็นมาของวันสารทไทย เพื่อสืบทอดประเพณีเช่นนี้ตลอดไป
 
โอกาสนี้ พระครูวิสาลกาญจนกิจ (หลวงพ่ออนันต์ เขมฺจิตฺโต) รองเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา และเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน กล่าวว่าในชุมชนบ้านตะคร้ำเอน ชาวบ้านเป็นคนลาวเวียงเยอะมาก ก่อนหน้านี้เขาก็ทำกันทุกปี แต่ทำกันในหมู่บ้านกันเอง ปีนี้ทางวัดตะคร้ำเอน เห็นว่ามันเงียบมานาน จากโรคโควิด – 19 เมื่อมันผ่านพ้นไปจึงได้มาร่วมประชุมกับทางคณะกรรมการวัดและชาวบ้าน จัดทำเป็นปีแรก เพื่อไม่ให้ประเพณีนี้หายไปรวมถึงให้ชนรุ่นหลังได้แลเห็นความสำคัญของประเพณี เพื่อสืบทอดรักษาไว้ต่อไป...................ปล่อยเสียง........เจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน...................................
 
นายยศวัฒน์  มาไพศาลสิน ส.ส.เขต 3 เห็นว่าประเพณีนี้ได้หยุดไปจากสถานการณ์โควิค – 19 ทางเจ้าได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีนี้เพื่อรักษาไว้กับชนรุ่นหลัง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีกับคนในชุมชนอีกด้วย ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้สังคมเรามันห่างเหินกันไป การจัดกิจกรรมเช่นนี้เพื่อรวบรวมจิตใจของคนในชุมชนให้กลับมา โดยยึดเอาประเพณีนี้กลับมาเพื่อสืบทอดกันต่อไป......ปล่อยเสียง........................นายยศวัฒน์  มาไพศาลสิน ส.ส.เขต 3.......................................
   ////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน
 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...