ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สยามคูโบต้า ดันวิสสาหกิจชุมชน เปิดตัว “ผักไหมฟาร์ม” ฟาร์มนวัตกรรมสมัยใหม่สู่ความยั่งยืน
10 ต.ค. 2566

 เตรียมปักหมุดเดินหน้าเป็น “Smart Faarming Model” แห่งใหม่ของภาคอีสาน

***เมื่อ วันที่ 10 ต.ค. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านสิงไคร หมู่ 1 ต.ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีประธานพิธีเปิด “ฟาร์มนวัตกรรม เกษตรสมัยใหม่สู่ความยั่งยืน (ผักไหมฟาร์ม)” ซึ่งเป็นฟาร์มของชุมชนบ้านสิงไครร่วมกันก่อตั้งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด มีหัวหน้าส่วนราชการผู้บริหารส่วนท้องถิ่น พร้อมด้วยเกษตรกรชาวตำบลผักไหม ร่วมในพิธี นายจูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วยผู้บริหารของบริษัทสยามคูโบต้า ให้การต้อนรับ

***สำหรับพื้นที่ภายในผักไหมฟาร์มมีทั้งหมด 5 ไร่ แบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่

1. โซนพืชผัก ศึกษาระบบการเพาะปลูกพืชผักมูลค่าสูงและผักสวนครัวให้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปีเฉลี่ย 10,000 บาท/ ปี

2. โซนข้าวและพืชหมุนเวียน ศึกษาระบบการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง โดยใช้เครื่องจักรกลเกษตร คูโบต้าตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมดินจนถึงขั้นตอนเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ยังปลูกพืชหมุนเวียนด้วยพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงบำรุงดินสร้างรายได้เฉลี่ย 44,700 บาท/ พื้นที่ 2.2 ไร่

3. โซนสระน้ำเพื่อการเกษตร กักเก็บน้ำในฤดูฝนเพื่อนำมาใช้ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง สามารถกักเก็บน้ำได้ ประมาณ 3,700 ลบ.ม. พื้นที่เก็บน้ำ 1.5 งาน นอกจากนี้ยังสร้างรายได้จากการเลี้ยงปลา 1,000 -2,000 บาท/ 1 ฤดูกาลปลูกข้าว

4. โซนพืชผสมผสานสร้างรายได้ เน้นการปลูกพืชหลากหลาย และใช้พื้นที่ให้เต็มประสิทธิภาพ โดยทำการศึกษาระบบการเพาะปลูกพืชที่เกื้อกูล ได้แก่ ไม้ผล พืชไร่ และสมุนไพร ที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีการให้น้ำด้วยระบบ IoT และนำเครื่องจักรกลเกษตรคูโบต้าเข้ามาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนแรงงาน สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 70,300 บาท/ ปี

5. โซนโซลาร์เซลล์เพื่อการเกษตร ใช้โซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานทดแทนในการดึงน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินมากักเก็บในถังพักน้ำขนาด 50,000 ลบ.ม. เพื่อบริหารจัดการในฟาร์มสำหรับใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมและรักษาระบบนิเวศในฟาร์ม มุ่งสู่การเป็นพลังงานสะอาด (Green Energy)

6. โซนแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตโดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสินค้าชุมชน อาทิ แครกเกอร์แป้งข้าว แยมกระเจี๊ยบ ข้าวสาร สบู่น้ำนมข้าว เป็นต้น ช่วยสร้างงานให้คนในชุมชน และสร้างได้รายเฉลี่ย 300,000 บาท/ ปี

 ///////// ณัฐธรชนม์  สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ โทร.08-1600-7969

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...