ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ปตท.เดินหน้าสู่ฮับแอลเอ็นจีในปี 73
11 ต.ค. 2566

ปตท.ตั้งเป้าเป็นฮับแอลเอ็นจีในภูมิภาคนี้ในปี 2573 ระบุเล็งทำสัญญาซื้อ LNG ระยะยาวอีก 2 ล้านตัน/ปี

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า โครงการ LNG Terminal แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแฟบ อ.เมือง จ.ระยอง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2560 มีท่าเทียบเรือ LNG ความยาว 5.66 กม. ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีความยาวที่สุดในโลก เพื่อรับน้ำลึก 14 เมตร มีถังเก็บ LNG ขนาด 250,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง กำลังการผลิตเฟสที่ 1 จำนวน 7.5 ล้านตัน/ปี แล้วเสร็จในปี 2565 และสามารถขยายเพิ่มได้ 7.5 ล้านตัน/ปี

ซึ่งเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมสถานีแอลเอ็นจีแห่งแรกที่มาบตาพุด ที่มีกำลังการผลิต 11.5 ล้านตัน/ปี แล้วยังขยายกำลังการผลิตได้อีก 3.5 ล้านตัน/ปี ซึ่งนับเป็นแห่งแรกของไทยและของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อสร้างท่าเทียบเรือแอลเอ็นจี 3 ท่า มีถังเก็บแอลเอ็นจี 4 ถัง ขนาดถังละ 160,000 ลูกบาศก์เมตร หน่วยบรรจุขนส่ง LNG ทางรถบรรทุก 182,500 ตัน/ปีนับได้ว่าเป็นการสร้างอินฟราสตรักเจอร์เพื่อรองรับดีมานด์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และสร้างเสถียรภาพพลังงานให้ประเทศ เพราะตอนนี้เรามี 2 เทอร์มินอล รวมกำลังการผลิต 19 ล้านตัน/ปี ซึ่งจังหวะที่สร้างเทอร์มินอลแห่งที่ 2 เสร็จ เป็นช่วงที่ บมจ.ปตท.สผ. เข้าพื้นที่เชฟรอนล่าช้า ทำให้กำลังการผลิตก๊าซจากแหล่งเอราวัณลดลงจาก 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต เหลือ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ไทยต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมากขึ้น ท่าแห่งที่ 2 จึงได้มีการใช้ประโยชน์จริงได้ตรงจังหวะพอดี

ทั้งนี้ การสร้างเทอร์มินอล 3 ถมทะเลเสร็จแล้วอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการรอเซตตัว ไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี โดยเฉลี่ยต้องมียื่นขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งในการวางแผนการก่อสร้างแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งปตท.วางเป้าหมาย road map ในการไปสู่การเป็นฮับภูมิภาค ปี 2030 ด้วยความพร้อมของยุทธศาสตร์ที่ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย

“ปตท.จึงเริ่มทดลองส่งออกไปญี่ปุ่น และนำเข้าจากกาตาร์ และเคยขนส่งไฮโซแท็งก์ไปจีน สะท้อนว่าเรามีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ความเป็นฮับ เราวางแผนว่าปีหน้าธุรกิจก๊าซจะมีทีมงานที่ทำเรื่องการตลาด เพราะปีก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นจังหวะที่ราคาก๊าซธรรมชาติผันผวนสูงจาก 5-6 เหรียญสหรัฐ เป็น 70-80 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จึงได้ชะลอแผนไป แต่ขณะนี้ราคากลับมาที่ 14 เหรียญ และ พ.ย.-ธ.ค. 66 จะอยู่ประมาณ 15-16 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู สถานการณ์กลับมาคลี่คลาย ซึ่งราคาแอลเอ็นจีลงมาจะพร้อมทำการตลาดได้”

สิ่งที่สำคัญที่จะมาผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางของ LNG terminal ได้ จะต้องมีการวางระบบกฎเกณฑ์การซื้อขายที่สร้างความเป็นธรรม ให้แข่งขันเสรีได้

ทั้งนี้ ปตท.ตั้งเป้าหมายสู่การเป็น Reginal Hub ในปี 2030 ซึ่งจะมีการซื้อขายปริมาณ LNG ผ่าน terminal ทั้งหมด 9 ล้านตัน จากกำลังการผลิตที่มี 19 ล้านตัน โดยมีสัญญา long term 5 ล้านตันแล้ว ซึ่งภายใน 1-2 ปีนี้จะมีการทำตลาด โดยคาดว่าจะมีการมาใช้บริการทั้งในประเทศและภูมิภาคอยู่ประมาณ 100,000-200,000 ตัน ลูกค้าหลักจะมีภาคเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตเป็น LNG ชิปเปอร์ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในชิปเปอร์ ที่มีแผนนำเข้า 6 ลำ ลำละ 60,000 ตันด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ปตท.ยังได้นำความเย็นจากการเปลี่ยนสถานะ LNG ในระดับต่าง ๆ ไปใช้ในโครงการหน่วยแยกอากาศ และนำความเย็นไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของสถานีและอาคารสำนักงาน ได้มีการขยายพื้นที่รอบ ๆ เทอร์มินอล ตอนนี้มี 160 ไร่ และกำลังคุยกับกลุ่มลูกค้าหลายรายที่ต้องการตั้งโรงงานโดยรอบ เพื่อใช้ประโยชน์จากความเย็น เช่น โรงแยกอากาศ โรงงานปิโตรเคมี GC โรงไฟฟ้าสีเขียว และกลุ่มผู้ลงทุน data center ที่มุ่งจะใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดและได้มีการปลูกพืชเมืองหนาว อย่างเช่น สตรอว์เบอรี่ ไม้ดอกเมืองหนาวอย่าง ดอกทิวลิป ซึ่งขณะนี้สามารถผลิตได้ 3 ล้านดอก สามารถสร้างรายได้ได้ 10 ล้านบาทต่อปี ช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าไม้ตัดดอกเมืองหนาวได้ ทั้งยังสามารถส่งออกไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

สำหรับ แนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังปี 2566 ว่า บริษัทฯ จะมีรายได้เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2566 ทำให้ ปตท.รับรู้รายได้และกำไรจาก บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปรท.สผ.) ที่ผูกกับราคาน้ำมัน รวมทั้งค่าการกลั่นยังทรงตัวในระดับที่ดี แม้ว่าจะต่ำกว่าปี 2565 แต่ก็ดีกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ในช่วง turn down ดังนั้นในด้านยอดขายของ ปตท.ในปีนี้คาดปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของกลุ่ม ปตท.สามารถทำได้ดีกว่าแผน ปัจจุบันมีกำลังการผลิตทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 3,000 เมกะวัตต์ ดังนั้น ปตท.จึงได้ปรับเป้ากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากเดิมตั้งเป้า 12 กิกะวัตต์ เพิ่มเป็น 15 กิกะวัตต์ภายในปี 2573 รวมทั้งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการกรีนไฮโดรเจนในไทย ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับซาอุดีอาระเบีย กฟผ.และ ปตท.อีกด้วย

ด้านธุรกิจแบตเตอรี่ ล่าสุดบริษัท นูออโว พลัส จำกัด ได้ร่วมทุนกับ Gotion Hi-tech ตั้งบริษัทร่วมทุน NV Gotion สร้างโรงงานผลิตชุดแบตเตอรี่ กำลังการผลิต 2 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนคุณภาพสูงภายในปีนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...