ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ป.ช.ตั้งกรรมการเกาะติดนโยบายเงินดิจิทัลเตือนแล้วไม่ฟัง ต้องรับผิดชอบ
12 ต.ค. 2566

ป.ป.ช.ตั้ง กรรมการศึกษาโครงการ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' จ่อเชิญนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ - อดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติร่วม หวั่นซ้ำรอย 'จำนำข้าว' ขู่เตือนแล้วไม่ฟัง ต้องมีคนรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า ในวันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้สำนักงาน ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการพิจารณาศึกษาโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยให้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อศึกษารายละเอียดโครงการดังกล่าวว่า มีข้อน่าห่วงใย หรือความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต หรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระยะยาวตามที่มีนักวิชาการ และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ท้วงติงมาหรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้สำนักงานป.ป.ช.ไปพิจารณาจะเชิญบุคคลใดบ้าง มาร่วมเป็นคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อสรุปความเห็นโครงการดังกล่าว และให้ข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล แต่ยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาชัดเจน จะใช้เวลาศึกษานานเท่าใด

ขณะที่นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่า สำนักงาน ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการพิจารณาจะเชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านใดบ้างมาร่วมเป็นคณะกรรมการศึกษาโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ยังไม่มีระบุตัวบุคคลชัดเจนจะเชิญใครมาบ้าง คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่วิเคราะห์ และเฝ้าระวังโครงการดังกล่าวว่า มีความน่าห่วงใยหรือความสุ่มเสี่ยงในด้านใดบ้าง เพราะตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.ป.ป.ป.ช. ให้อำนาจ ป.ป.ช.ให้คำแนะนำหน่วยงานรัฐ และรัฐบาล เพื่อให้วางมาตรการป้องกันการทุจริตหรือข้อน่าห่วงใยที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินโครงการต่างๆ ที่มีความสุ่มเสี่ยงได้
 
นายนิวัติไชย กล่าวอีกว่า เบื้องต้นในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ป.ป.ช.จะรวบรวมประเด็นที่มีข้อถกเถียง และเชิญผู้มีความรู้ ผู้ทรงคุณวุฒิมาศึกษาร่วมกันว่า โครงการมีความสุ่มเสี่ยง หรือข้อควรระวังในการดำเนินการหรือไม่ จากนั้นถ้ามีข้อห่วงใยจะเสนอความเห็นไปยัง ครม.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปรับปรุงการปฏิบัติราชการ เหมือนกับโครงการจำนำข้าวที่ป.ป.ช.เคยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้หาก ป.ป.ช.มีข้อเสนอแนะ หรือข้อท้วงติงแจ้งไปยัง ครม.แล้ว หาก ครม.ไม่ปฏิบัติตามแล้วเกิดความเสียหายขึ้นมา ก็ต้องรับผิดชอบ เพราะถือว่าเตือนแล้ว แต่ไม่ฟัง เมื่อเกิดปัญหาต้องรับผิดชอบ
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...