วันนี้ (25 กันยายน 2560) พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานในพิธี พร้อมด้วย นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และคณะผู้บริหารฯ ร่วมเปิดงาน “พิสูจน์เมืองสวยไร้เสา” เพื่อติดตามผลการดำเนินงานนำสายสื่อสารลงใต้ดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้าโครงการถนนพหลโยธิน ณ อาคารเบญจรังสฤษฏ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า กฟน.เล็งเห็นถึงอนาคตความก้าวหน้าทันสมัยของมหานครที่ต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ให้มีระบบไฟฟ้าที่มั่นคงด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมือง ถนนพหลโยธินเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ที่กฟน. เตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าไว้รองรับ โดยเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินและจ่ายไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2557 โดยมีระบบจัดการโครงข่ายไฟฟ้ามหานคร "the MetGE : METRO GRID ENABLER" มาควบคุมจัดการ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ พร้อมรองรับเทคโนโลยีทางด้านพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต กฟน. จึงเป็นผู้นำร่วมมือกับหน่วยงานภาคี ทั้ง กสทช. กทม. สตช .และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเปิดงาน “มหานครไร้สาย ถอนเสาไฟให้เมืองสวย Smart Metro” เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเร่งดำเนินโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้าบนถนนพหลโยธิน โดยใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าของ กฟน. และใช้วิธีการ Air Blown System เทคโนโลยีการร้อยสายสื่อสารด้วยแรงดันลมที่รวดเร็วและทันสมัย จนสามารถดำเนินโครงการได้เร็วกว่าแผนงานที่วางไว้และสำเร็จในวันนี้
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวต่อไปว่า สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นการติดตามผลการ นำสายสื่อสารลงใต้ดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้าบนถนนพหลโยธินเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งได้จัดให้มีกิจกรรมขึ้นรถบัสเปิดประทุนเพื่อให้ผู้กำกับนโยบาย ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชนได้เห็นทัศนียภาพจริงบริเวณเส้นทางการดำเนินโครงการฯ รวมระยะทางประมาณ 8 กม. ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งตลอดทั้งแนว 2 ฝั่งถนน ไม่มีสายสื่อสาร และเสาไฟฟ้าอยู่บนเส้นทางหลักดังกล่าวแล้ว หลังจากนี้ กฟน. พร้อมส่งมอบพื้นที่คืนให้กับ กรุงเทพมหานคร และประชาชนได้สัมผัสกับภูมิทัศน์ใหม่ ไร้สายสื่อสาร ไร้เสาไฟฟ้า ตลอดจนมีระบบไฟฟ้าและระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่มั่นคงอีกทั้งยังช่วยลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดจากสายสื่อสาร และเสาไฟฟ้าได้
สำหรับการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โครงการถนนพหลโยธิน.นี้ กฟน.ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการนำสายสื่อสารลงใต้ดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้าในครั้งนี้ จะมีการขยายความร่วมมือไปยังโครงการต่างๆ เช่น โครงการถนนพญาไท (บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - สี่แยกปทุมวัน) และโครงการถนนสุขุมวิท (ซอยนานา - สุขุมวิท 71) ที่ กฟน. ได้ดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเป็นระบบสายใต้ดินแล้วและมีความพร้อมที่จะรื้อถอนเสาไฟฟ้าบนถนนดังกล่าวเช่นเดียวกับถนนพหลโยธิน
“เพราะ กรุงเทพฯ คือ เมืองหลวง