ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ราชกิจจาฯสธ.ออกใบรับรองแพทย์ใหม่เพื่อรับราชการ
18 ต.ค. 2566

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566

ลงนามโดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ประธานคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ซึ่งประกาศลงในราชกิจจาฯเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยเนื้อหาระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ประกอบมติคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนี้

ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต และได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยใช้แบบใบรับรองแพทย์แนบท้ายประกาศนี้

และผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผลการตรวจสุขภาพ พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด

โดยผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพทั้งหมดสำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ขอรับการตรวจสุขภาพ ระบุรายละเอียดดังนี้

  • ชื่อ-นามสกุล
  • ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
  • โทรศัพท์
  • อีเมล
  • เลขประจำตัวประชาชน

จากนั้นจะระบุว่า "ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ

  • ในตำแหน่ง
  • กรม
  • กระทรวง

จากนั้นจะถามประวัติสุขภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ สามารถตอบได้ว่า ไม่มี หรือ มี (ระบุ) ดังนี้ 

  1. โรคประจำตัว ไม่มี/มี (ระบุ)
  2. อุบัติเหตุและการผ่าตัด ไม่มี/มี (ระบุ)
  3. เคยเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ไม่มี/มี (ระบุ)
  4. ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญ (เว้นช่องว่างให้กรอก)

 

ท้ายของส่วนที่ 1 จะถามความยินยอมให้ตรวจสอบ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ระบุไว้ในหนังสือฉบับนี้ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จากนั้นจะให้ลงชื่อ นามสกุล พร้อมระบุวัน / เดือน / ปี อีกครั้ง

 ส่วนที่ 2 สำหรับแพทย์ผู้ตรวจ จะระบุดังนี้

  • สถานที่ตรวจ / วัน เดือน ปี ที่ตรวจ
  • ชื่อนามสกุลของแพทย์ที่ตรวจ 
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลขที่
  • สถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  • ได้ตรวจร่างกาย นาย/นาง/นางสาว แล้วเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. มีรายละเอียดดังนี้ 
    • น้ำหนักตัว
    • ความสูง
    • ความดันโลหิต
    • ชีพจร 
    • สภาพร่างกายทั่วไป อยู่ในเกณฑ์ ปกติ/ผิดปกติ (ระบุ)

และนอกจากนี้แพทย์ยังต้องรับรองว่าบุคคลดังกล่าว ปรากฎหรือไม่ปรากฏ โรค 5 โรค ดังต่อไปนี้

  1. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
  2. โรคติดยาเสพติดให้โทษ
  3. โรคพิษสุราเรื้อรัง
  4. โรคติดต่อร้ายแรงที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
  5. โรคเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

จากนั้นแพทย์ยังต้องเขียนบรรยายการตรวจพบ / ความเห็นว่าควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์ 

นอกจากนี้ในท้ายของประกาศ ยังระบุหมายเหตุ 4 ข้อสำหรับแพทย์ ดังนี้

  1. ชื่อส่วนราชการ
  2. ต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  3. ให้แสดงว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงใด
  4. ประทับตราโรงพยาบาลด้วย
  5. ใบรับรองแพทย์ฉบับนี้ให้ใช้ได้ 1 เดือน นับแต่วันที่ตรวจร่างกาย

สำหรับประกาศฉบับดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นหมายความว่าเริ่มใช้บังคับวันที่ 18 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...