ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
นครปฐม กวาดล้างลักลอบจำหน่าย เนื้อสุกร-ห้องเย็น เก็บซากและชิ้นส่วนเนื้อสัตว์
20 ต.ค. 2566
พบเนื้อหมูถึง 40 ตัน ไม่มีใบอนุญาติ
นายยงยุทธ สวนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์, ปศุสัตว์เขต 7, ประมง, พาณิชย์, จัดหางาน, อุตสาหกรรม, สาธารณสุข, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน, ตำรวจ, ฝ่ายปกครอง, สมาชิก อส. และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายเนื้อสุกร – ห้องเย็น และสถานที่จัดเก็บซากและชิ้นส่วนเนื้อสัตว์ เพื่อป้องกันการลักลอบนำเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการตรวจจากเจ้าพนักงานปศุสัตว์เข้ามาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 
1. ตลาดสดศรีวิชัย ตำบลห้วยจรเข้ จากการตรวจสอบ ไม่พบการกระทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด 
2. ตลาดตั้งเซียฮวด ตำบลห้วยจรเข้ จากการตรวจสอบพบ พบผู้ประกอบการกระทำความผิดตาม พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่มิได้รับการรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์จากเจ้าพนักงานตรวจโรคสัตว์ จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับ เป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท และฐานความผิดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ผู้ใดทำการค้าหรือหากทำไรในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน จึงได้เปรียบเทียบปรับ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท
3. ห้องเย็น ในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลสระกระเทียม จากการตรวจสอบ ไม่พบการกระทำความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
4. ห้องเย็น ในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลสระกระเทียม จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระทำความผิดตามพรบ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ ผ่าน เข้า ออก เขตเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ โดยไม่มีใบอนุญาต
 
โดยได้ทำการตรวจยึดอายัดซากสัตว์ไว้ จำนวน 40,563.83 กิโลกรัม และให้ผู้ประกอบการนำเอกสารใบอนุญาตมาสำแดงต่อเจ้าพนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ภายใน 15 วัน และได้มอบหมายให้ ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครปฐม ดำเนินการแจ้งความและลงบันทึกประจำวัน ที่สถานีตำรวจเมืองนครปฐม อีกทั้งฐานความผิดตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ผู้ใดทำการค้าหรือหากำไรในลักษณะคนกลางซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท ตลอดจนความผิดตาม พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่มิได้รับการรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์จากเจ้าพนักงานตรวจโรคสัตว์ จึงได้ทำการเปรียบเทียบปรับ เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท นอกจากนี้ยังพบความผิดตาม พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 ฐานความผิดเข้าข่ายเป็นโรงงาน เป็นการตั้งและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และความความผิดตาม พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 14 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3  ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ มาตรา 6 (10) กำหนดประเภทและชนิดอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย ซึ่งจะต้องมีฉลาก ข้อความในฉลาก เงื่อนไขและวิธีการแสดงฉลาก ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการโฆษณาในฉลาก มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม จะได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 ในส่วนของการตรวจเอกสารของแรงงานต่างด้าว และสุ่มตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะของ แรงงานคนไทย และแรงงานต่างด้าว ทั้ง 4 แห่ง จากการตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิดตามกฎหมายและไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะของแรงงานคนไทยและแรงงานต่างด้าวแต่อย่างใด
 
วีรวิชญ์ โรจนอัครพงศ์ ทีมข่าว นครปฐม
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...