นาฬิกา นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยนางเพ็ญประภา จันทร์คง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดกระบี่ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล นักวิชาการด้านพืช ด้านดิน และด้านแมลง ร่วมลงพื้นที่เพื่อออกสำรวจการแพร่ระบาดของโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน หรือโรคกาโนเดอร์มา ในแปลงสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรแปลงใหญ่ หมู่ที่ 6 บ้านสหกรณ์ ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา และหมู่ที่ 6 บ้านบางนุ้ย ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ พร้อมให้คำแนะนำในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
โดยพบว่าพื้นที่อำเภอปลายพระยา มีการแพร่ระบาดของโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน รวม 6,945 ไร่ แยกเป็นตำบลคีรีวง 3,128 ไร่ ตำบลเขาเขน 1,670 ไร่ ตำบลปลายพระยา 1,467 ไร่ และ ตำบลเขาต่อ 680 ไร่ พื้นที่อำเภอเขาพนม มีการแพร่ระบาดรวม 169 ไร่ แยกเป็นตำบลเขาพนม 70 ไร่ ตำบลเขาดิน 20 ไร่ ตำบลหน้าเขา 18 ไร่ ตำบลพรุเตียว 25 ไร่ ตำบลโคกหาร 17 ไร่ และตำบลสินปุน 19 ไร่
ซึ่งจังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้ง 8 อำเภอ รวมเนื้อที่ 1,197,809 ไร่ พบมีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวทั้ง 8 อำเภอ รวม 6,301 ไร่ พื้นที่มีการระบาดหนักอันดับหนึ่งคือ อำเภอปลายพระยา รองลงมาอำเภออ่าวลึก โรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดหนักในพื้นที่ที่มีฝนตกชุมหน้าแน่นสภาพพื้นที่ชื้น หรือพื้นที่น้ำท่วมขัง หรือน้ำท่วม จากข้อมูลการสำรวจพบว่าโรคนี้ ต้นปาล์มน้ำมันมีลักษณะอาการดังนี้ สีชองใบซีดจางและแห้งตาย ทางใบล่างหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบลำต้น ทางยอดที่ยังไม่คลี่จะมีจำนวนมากกว่าปกติ ลำต้นเชื้อราสร้างดอกเห็ดที่โคนต้น หรือที่รากผิวดินบริเวณใกล้โคนต้น ดอกเห็ดถูกสร้างขึ้นเมื่อต้นปาล์มแสดงอาการให้เห็นทางใบหลังจากสร้างดอกเห็ดที่โคนต้นแล้ว ต่อมาต้นปาล์มจะยืนต้นตาย รายเปราะหักง่ายเนื้อเยื่อภายในรากผุเปื่อยร่วนเป็นผง ส่วนของเปลือกรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อภายในรากเปลี่ยนเป็นสีดำ และพบดอกเห็ดบริเวณโคนต้น
ซึ่งจะพบต้นปาล์มน้ำมันอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป วีการกำจัดให้รีบโค่นล้มต้นปาล์มน้ำมันทิ้งแล้วเผาทำลายทันที จะทำให้ไม่มีการแพร่ระบาเกิดขึ้นอีก หรืออีกวิธีการหนึ่งด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์บีปาล์ม B – Palm ผสมผสานกับสารเคมีโดโลไมท์ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับค่าพีเฮช PH หรือค่าความเป็นกรดและด่าง
โดยนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะเห็นว่ามีการแพร่ระบาดโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมันสูง เนื่องจากว่าเชื่อราสามารถจะแพร่ระบาดเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปลูกปาล์มในรอบที่สองมีอัตราการแพร่ระบาดสูงมาก จากการลงพื้นที่จะเห็นว่าในรูปแบบของการแพร่ระบาดแตกต่างกัน พื้นที่อำเภอปลายพระยา ปลูกในพื้นที่รอบที่สองทำให้ทิศทางการแพร่ระบาดความเสียหายของเชื้อราค่อนข้างสูง จึงต้องมาสร้างความเข้าใจและการรับรู้ผ่านการลงพื้นที่พูดคุย และมีการมอบภารกิจในการสร้างการรับรู้ไปให้กับทางเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด รวมทั้งอำเภอด้วย ในการป้องกันแก้ไขปัญหาในกรณีหากเกิดการระบาดสิ่งหนึ่งดำเนินการตรวจสอบก่อน ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดจะมีลักษณะบงชี้ของการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นใบสีเหลือง โคนต้นจะมีเชื้อราจะถึงการออกสปอร์คล้ายเห็ด อันนี้ถือว่าหนักแล้วเรื่องมันจะกินรากเรื่องของท่าส่งน้ำเลี้ยง จนต้นจะยืนแห้งตายและล้มไปในที่สุด ทำให้ผลผลิตที่ออกมาได้ไม่เต็มที่ หากได้ผลผลิตออกมาก็ไม่มีคุณภาพ
นายอนุวรรตน์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญวิถึงในเรื่องของการปลูกปาล์มน้ำมัน ในขณะต้นที่แก่จะให้ผลผลิตน้อยลง เกษตรกรจะมีการปลูกแซมเป็นรุ่นต่อไป เป็นวิธีการในกลุ่มเสี่ยงของการติดโรคดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้แสดงผลออกมาแล้วจากเชื้อที่เกิดขึ้นในรอบแรก และไม่มีการป้องกันการแพร่ระบาดในรุ่นที่สอง อย่างจะเชิญชวนเกษตรกรให้ได้ทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆในหลายที่ใช้วิธีการแก้ปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรมและยังยืนขึ้น วิธีการที่ดีที่สุดหากพบเชื้อมีการระบาดในต้นปาล์มน้ำมัน โดยหลักแล้วหากเป็นมากจะต้องทำลาย มีการตรวจสอบค่าดิน มีการใส่สารเคมีที่จะแก้ปัญหาและป้องกัน อย่างแปลงที่อำเภอเขาพนมปลูกรุ่นแรกก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว ซึ่งเกษตรกรใช้วิธีใส่สารในการป้องกัน มีการตรวจสอบดินอะไรต่างๆ ซึ่งทำให้การแพร่ระบาดไม่รุกลาม จะเห็นว่าในพื้นที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ในพื้นที่อำเภอปลายพระยาวันนี้ก็คือไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ขนาดต้นปาล์มมีผลผลิตก็ล้มในทันทีทันใด อันนี้จะสร้างความเสียหาย
นายอนุวรรตน์ กล่าวในตอนท้ายว่าที่สำคัญก็คือจะต้องการวางแผนร่วมกันว่า เรื่องของการป้องกันการแพร่ระบาด หากมีการแพร่ระบาดในพื้นที่และมีอัตราการเสี่ยงสูง เกษตรกรจะทำอย่างไรซึ่งเป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะต้องเลือก และมาหาวิธีร่วมกับทางราชการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา วิธีที่จะนำเสนอและดีที่สุดแล้วก็คือ การล้มต้นในกรณีในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง มีการปรับปรุงดินและปลูกพืชแซมเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ในระหว่างที่ป้องกันและแก้ไขปัญหา เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดมันลดลงก็จะสามารถปลูกปาล์มในรุ่นต่อไปได้ ซึ่งจะต้องการการพูดคุยกันในอนาคตต่อไป ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมันมีถึง 10 จังหวัดทั่วประเทศสร้างความเสียหาย ในส่วนพื้นที่ของการปลูกปาล์มน้ำมันของจังหวัดกระบี่ ประมาณ 1 ล้าน 2 แสนไร่ แต่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวประมาณ 6 พัน 3 ร้อยไร่ พื้นที่มีการแพร่ระบาดมากคือ อำเภอปลายพระยา ถึง 3 พันกว่าไร่ เนื่องจากว่าในพื้นที่มีการปลูกปาล์มในรุ่นที่สองและที่สามกันแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นข้อวิตกข้อห่วงใยของทางจังหวัดกระบี่ เลยมาบูรณาการร่วมกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งสัญญาณมาให้ทางจังหวัดระมันระวัง และทำความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร ซึ่งมีช่องทางสามารถติดต่อสื่อสารและขอรับการช่วยเหลือจากทางจังหวัด ซึ่งจังหวัดก็ไม่ได้นิ่งนอนใจก็ลงพื้นที่มาตรวจสอบ หาวิธีการร่วมกันสิ่งที่ดีที่สุดจะต้องมีการทำประชาคมเชิญชวนเกษตรกรมาพูดคุยหาวิธีการร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ตารมที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
กระบี่/0936161469