การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 25 “เสริมพลังประชาธิปไตย : บทบาทของซอฟต์พาวเวอร์กับการมีส่วนร่วมของพลเมือง” มุมมองและประสบการณ์ใน4ประเทศที่นำซอฟต์เพาเวอร์โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมจนสามารถพัฒนาประเทศด้านต่างๆเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกที่สำคัญได้โน้มน้าวดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกเข้าไปสัมผัส ประสบการณ์ใน4ประเทศ มีสาระสำคัญดังนี้
Mr. Sylvain Bano ผู้อำนวยการสมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพ
กล่าวถึง การใช้ Soft power ของฝรั่งเศส ซึ่งนำจุดแข็งของวัฒนธรรม ผ่านการนำเสนอประวัติศาสตร์ ภาษา และมรดกทางวัฒนธรรม มาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน ซึ่ง soft power นี้ได้สะท้อนออกมาในเรื่องของการท่องเที่ยว อาหารการกิน วิถีชีวิต กีฬา สถาปัตยกรรม นโยบายต่างประเทศ บทบาทในองค์กรระหว่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบทบาทของฝรั่งเศสในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีองค์กรที่สนับสนุน soft power อย่างเป็นระบบ ได้แก่ Institute Française และ Alliance Française โดย Alliance Française เป็นองค์กรที่มีรูปแบบที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมือง เป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีระบบการบริหารที่เป็นประชาธิปไตย และทำงานร่วมกับองค์กรที่เป็นประชาธิปไตยใน โดย Alliance Française ได้สร้างระบบนิเวศของ soft power ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเผยแพร่ภาพยนตร์ การแสดง แฟชั่น การศึกษา ภาษา ห้องสมุด การแปล ธุรกิจ งานแสดงสินค้า อาหาร เป็นต้น ระบบนิเวศเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการทำให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง
H.E. Dr. Angela Macdonald PSM เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย
กล่าวถึง ความเชื่อมโยงกับสถาบันทางการเมือง อาทิ ศาลยุติธรรม ระบบการเลือกตั้ง องค์การทางด้านสิทธิมนุษย์ชน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของประเทศที่ประชาชนทุกคนสามารถตรวจสอบระหว่างกันได้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในกฎหมาย สิทธิของพลเมือง ค่านิยม ความศรัทธาของคนในชาติร่วมกัน รวมทั้งเชื่อมั่นใน Common law ที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร อีกทั้งรัฐบาลมุ่งเน้นการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันกับประชาชนโดยอาศัยอัตลักษณ์หรือค่านิยมร่วมกันของคนในชาติ
เรื่องของความเท่าเทียมทางเพศที่ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ให้สิทธิการเลือกตั้งกับผู้หญิง ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของคนในประเทศออสเตรเลียร่วมกัน ความเป็นอิสระเสรีของชนในชาติ การเคลื่อนไหวทางสังคมที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย สถาบันทางการเมือง ระบบกฎหมายและการมีส่วนร่วมของพลเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้คือ Soft power ของออสเตรเลีย
H.E. Mr. Jyri Järviaho เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย
กล่าวถึง Soft power เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับมุมมองของทุกประเทศ สำหรับประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีมากในสายตาของชาวฟินแลนด์ เพราะไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความชื่นชม soft power จะทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นที่กล่าวถึง โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศและการลงทุน ในกรณีของฟินแลนด์มียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน soft power เพื่อเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ โดยการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา และใช้นโยบายการศึกษาเพื่อมุ่งหน้าสู่การเป็น soft power หลักของประเทศ
นอกจากนี้ ฟินแลนด์ยังใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศอันดับหนึ่งในหลายด้าน เช่น การศึกษา, ความสุข, และคุณภาพชีวิต ซึ่งล้วนเป็นภาพลักษณ์ที่ดี โดยรัฐบาลฟินแลนด์ได้ลงทุนจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐาน จนทำให้มีระบบการศึกษาและความสามารถด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดในประเทศสมาชิก OECD
Mr. Hahm Jeong-Han อัครราชทูตที่ปรึกษาสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย
กล่าวถึง การเกิดขึ้นของ soft power ของเกาหลีซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศช่วงทศวรรษ 1950 ที่มีการส่งเสริมให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อเปลี่ยนผ่านการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้มีการดำเนินนโยบายที่ได้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการพูด ความหลากหลายทางความคิดเห็นของประชาชนในประเทศ รวมถึงมีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมาสนับสนุนอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างครบวงจร ผลลัพธ์ของการดำเนินนโยบายเช่นนี้ จึงทำให้นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาได้เกิดภาพยนตร์ ซีรีย์ เพลง และเกมส์ที่มีคุณภาพจำนวนมากที่ช่วยในการเผยแพร่วัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีให้เป็นที่รับรู้และนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้การเกิดขึ้นของ soft power ของสาธารณรัฐเกาหลียังได้กลายมาเป็นจุดขายที่สำคัญในการดึงดูดให้มีการเข้ามาลงทุนในเศรษฐกิจของประเทศอีกเป็นจำนวนมาก