ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
วว. ชูนวัตกรรมขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม
12 พ.ย. 2566

           นางสาวศุภมาส   อิศรภักดี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบนโยบายขับเคลื่อนนวัตกรรมเมืองสีเขียว สู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยสนับสนุนให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) อย่างเป็นรูปธรรม ขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยใช้ได้จริง ผ่าน 2 โครงการหลัก ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระดับประเทศ ได้แก่ โครงการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับ และโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร 

          ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า การดำเนินงานตามนโยบายขับเคลื่อนนวัตกรรมเมืองสีเขียว สู่สังคมคาร์บอนต่ำดังกล่าว วว. และพันธมิตร ร่วมทำงานบูรณาการแบบจตุภาคี Quadruple helix ระหว่างหน่วยงานวิจัย หน่วยงานการศึกษา ชุมชน รวมทั้งภาครัฐและเอกชน นำ วทน. ไปแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (STI  for  Total  Solution) พร้อมเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับบริบทการใช้งานจริง ทั้งในด้านต้นทุนและความซับซ้อนของเทคโนโลยี ตลอดจนมีความเหมาะสมกับสังคม และสิ่งแวดล้อม

          โครงการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับ  วว. ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 13 แห่ง  เข้าไปขับเคลื่อนผลงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับในชุมชนท้องถิ่นอย่างมีอัตลักษณ์ เช่น เบญจมาศปรับปรุงพันธุ์  เทคโนโลยีการผลิตต้นกล้าปลอดโรค  แม่พันธุ์ไม้กลุ่มแอสเตอร์ ได้แก่ พีค๊อก และมาร์กาเร็ต เป็นต้น เพื่อช่วยลดการนำเข้าสายพันธุ์  ได้พันธุ์ไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมในประเทศไทย และเพิ่มศักยภาพการผลิตให้เทียบเท่าต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยที่ผลิตจากวัสดุในท้องถิ่น การใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชในระบบเกษตรปลอดภัย เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนและอันตรายจากการใช้สารเคมีในการผลิต ความเสียหายระหว่างการขนส่ง สำหรับการสร้างมาตรฐานไม้ตัดดอกและดอกไม้เพื่อการบริโภคอันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป ปัจจุบัน วว. และหน่วยงานพันธมิตร ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและดูแลวิสาหกิจชุมชนผลิตไม้ดอกเพื่อการตัดดอกและการท่องเที่ยวกว่า 8 จังหวัด เช่น จังหวัดยะลา เชียงราย เชียงใหม่ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา ลำปาง โดยไม้ดอกเศรษฐกิจหลัก คือ เบญจมาศและแอสเตอร์

           โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร  วว. ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)  หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)  สถาบันพลาสติก เทศบาลตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง และจังหวัดระยอง  ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย จากการขยายผลความสำเร็จ “ตาลเดี่ยวโมเดล” สู่ภาคเอกชน สำหรับการคัดแยกและยกระดับคุณภาพวัสดุรีไซเคิลเหลือใช้ในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยฝีมือคนไทย พร้อมดำเนินการในรูปแบบ  “ธุรกิจชุมชน” หรือ  Social  Enterprise  เต็มรูปแบบในปี 2567 โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลทั้งในชุมชนและในหลุมฝังกลบ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า  1,000  ตันต่อปี  พร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  2,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี   

           นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับกลุ่มบริษัทสมาชิก Alliance to End Plastic Waste  (AEPW)  ในประเทศไทย และ Public  Private  Partnership for Sustainable Plastic and Waste Management  (PPP Plastics) ขับเคลื่อนการจัดการพลาสติกและวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน โดยการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) ในการจัดตั้ง ศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร “Smart  Recycling  Hub” พร้อมนำร่องโมเดลต้นแบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจะขยายผลไปยังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก  (EEC)  เพื่อพัฒนากลไก  การรวบรวม  การคัดแยก  และการแปรรูป  เป็นวัสดุรีไซเคิลสะอาดคุณภาพสูง  ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน  โดยตั้งเป้าเก็บพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบให้ได้ 50,000 ตันต่อปี

            “...ในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ วว. นำนวัตกรรมจากงานวิจัยมาประยุกต์ใช้จริงให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน  บนพื้นฐานของการตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการวัสดุรีไซเคิลแบบมีส่วนร่วม ด้วยการใช้ผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบริหารจัดการขยะชุมชนครบวงจร  ตั้งแต่การจัดการขยะต้นทางถึงปลายทาง  การจัดการวัสดุรีไซเคิล  การจัดการขยะอินทรีย์ และการบำบัดน้ำเสีย โดย วว. มีเทคโนโลยีพร้อมใช้ต่อการจัดการขยะชุมชนในแต่ละขนาดให้เหมาะสมกับระดับชุมชน องค์กร  เทศบาล  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมถึงภาคเอกชนในแต่ละระดับ  เพื่อคัดแยกและแปรรูปให้เป็นวัสดุรีไซเคิลคุณภาพสูง ใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนเข้าถึงง่าย โดยมีต้นแบบตู้อัจฉริยะในการรวบรวมและคัดแยกขยะพลาสติกที่มีรูปทรงประเภทต่างๆ สายพานแยกขยะคุณภาพสูง  ระบบซักล้างถุงพลาสติกพร้อมระบบบำบัดน้ำ  เครื่องรับซื้อวัสดุรีไซเคิลแบบไร้คน  เครื่องผลิตชีวมวลอัดแท่ง  เครื่องผลิตถ่านกรองน้ำและไบโอชาร์  (Biochar) จากเปลือกผลไม้  ผลิตภัณฑ์ชุมชนมูลค่าเพิ่ม (Upcycling  Product)  จากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งภายหลังจากการบริโภค  เช่น เปลือกหอยและเปลือกปู  สู่การขับเคลื่อนการจัดการวัสดุรีไซเคิลให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการจัดการวัสดุรีไซเคิลที่ต้นทางเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy พร้อมขยายผลสำเร็จดังกล่าวไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ นับเป็นการร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมเมืองสีเขียว สู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน...”  ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...