ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
วันพระบิดาแห่งฝนหลวง - รัฐมนตรีเกษตรฯ วางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
14 พ.ย. 2566
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงคิดค้นวิจัยพัฒนาก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง ที่ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีนายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าที่ร้อยตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมพิธี ภายในงานมีการจัดแสดงงานวิจัยโครงการฝนหลวง ได้แก่ โครงการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพ่นสารจากพื้นสู่ก้อนเมฆ หรือ Ground Based Generator Technology เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงสำหรับพื้นที่เขตเงาฝนบริเวณภาคเหนือของประเทศ และโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการทำฝนหลวงในพื้นที่ ที่เครื่องบินทำฝนหลวงเข้าถึงลำบาก นอกจากนี้ประธานในพิธีได้มอบรางวัลแก่อาสาสมัครฝนหลวงดีเด่นระดับภูมิภาค ประจำปี 2566 จำนวน 7 รางวัล จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการภายในหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของฝนหลวง ขั้นตอนการทำฝนหลวง รวมทั้งห้องทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
วันพระบิดาแห่งฝนหลวง มีจุดเริ่มต้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยีอนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ทรงพบว่าราษฎรเดือดร้อน พืชผลเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม จึงเกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เมฆที่ลอยอยู่เต็มท้องฟ้านั้น กลายเป็นเม็ดฝนตกลงมาในพื้นที่ได้ ถือเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริ “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” และได้พัฒนาด้านการปฏิบัติการให้มีความแม่นยำมากขึ้น รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการปฏิบัติการฝนหลวง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อจารึกไว้เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย จะได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน โดยในปีนี้ครบรอบปีที่ 68 แห่งการก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...