ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี - ชาวไร่อ้อยยอมรับรัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลละ 2 บาท แม้ไม่พอใจเต็มร้อย
15 พ.ย. 2566
ชาวไร่อ้อยยอมรับ หลังรัฐบาลประกาศมติคณะรัฐมนตรีปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 2 บาท แม้ไม่ได้ตามข้อเรียกร้องที่ขอปรับขึ้น 4 บาท โดยหลังจากนี้เป็นหน้าที่รัฐบาลที่จะต้องหาเงินมาช่วยสนับสนุนรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยและน้ำตาลทราย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อย เขต 7 และหัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวถึง การที่รัฐบาลได้ประกาศมติคณะรัฐมนตรี ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 2 บาทว่า แม้ในการประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 2 บาทในครั้งนี้ จะไม่ได้เป็นไปตามมติและข้อเรียกร้องของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ที่เรียกร้องให้มีการปรับราคาน้ำตาลทรายขึ้น กิโลกรัมละ 4 บาท โดยรัฐบาลประกาศปรับราคาขึ้นให้เพียง 2 บาท โดยให้จำนวนเงิน 2 บาทนี้ เป็นการปรับขึ้นเพื่อส่งผลต่อราคาการขายอ้อยของกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยตรง แต่ยังไม่อนุมัติการปรับขึ้นราคาอีก 2 บาท 
 
 
ในส่วนที่จะนำเงินไปเข้ากองทุนดูแลสิ่งแวดล้อมและรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งในส่วนนี้ เกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ยังรับได้ แม้จะไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของกลุ่มเกษตรกรแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการปรับขึ้นราคากิโลกรัมละ 2 บาทในส่วนแรกนี้ เป็นการปรับขึ้นราคาที่ส่งผลต่อการขายอ้อยของเกษตรกรโดยตรง และจะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายอ้อยเพิ่มมากขึ้นประมาณ ตันละ 40 บาท 
 
ซึ่งก็เป็นไปตามสภาพของต้นทุนการปลูกอ้อยที่สูงขึ้นในปัจจุบัน แต่ในส่วนที่ยังไม่อนุมัติให้มีการปรับราคาขึ้นอีก 2 บาท ซึ่งเป็นเงินในส่วนที่จะนำไปเข้ากองทุนดูแลสิ่งแวดล้อมและรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลจะต้องดำเนินการหาทางแก้ไขและช่วยเหลือในส่วนนี้ไป เพราะเมื่อไม่มีการปรับขึ้นราคาในส่วนอีก 2 บาท ที่ทางเกษตรกรชาวไร่อ้อยเรียกร้องไปนั้น ก็จะทำให้ไม่มีเงินเข้าในกองทุนดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ราคาอ้อยตกต่ำ ทางกองทุนก็จะไม่มีเงินที่จะใช้ในการแก้ปัญหาหรือรักษาเสถียรภาพของราคาอ้อยและน้ำตาลทราย 
 
 
 
ทำให้เป็นภาระของรับบาลที่จะต้องหาทางเข้ามาดูแลช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยต่อไป เหมือนอย่างเช่นในปัจจุบัน ที่ทางรัฐบาลได้ให้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยงดการเผาอ้อย และรณรงค์ให้มีการตัดอ้อยสด เพื่อลดปัญหาการเผาอ้อยจนเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งการที่ให้เกษตรกรใช้วิธีการตัดอ้อยสดนั้น ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการตัดอ้อยถึงตันละ 180 บาท ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องสนับสนุนเงินในส่วนนี้มากถึงปีละ 8,000 ถึง 9,000 ล้านบาท ซึ่งในปีที่ผ่านมา ก็ยังคงค้างชำระอยู่ เนื่องจากยังต้องรอเสนอคณะรัฐมนตรีในการนำเงินมาใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่รัฐบาลต้องรับภาระในเรื่องนี้เช่นกัน
   /////////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน
 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...