ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
วว./วช./บพท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วย 10 เทคโนโลยีการเกษตร
20 พ.ย. 2566

               นางสาวศุภมาส   อิศรภักดี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบนโยบายขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สนับสนุนให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำ 10 เทคโนโลยีการเกษตรที่วิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ไปพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบการและเกษตรกร ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบุผลดำเนินงานสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรแล้ว 60 ราย พร้อมพัฒนาหลักสูตรการเกษตร Quick win เพื่อพัฒนาบุคลากรสู่การเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ Young smart famer, Agri business และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Non-degree

              ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ภารกิจหลักที่สำคัญของ วว. คือ วิจัย พัฒนา และบูรณาการด้าน วทน. เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน ผลักดันให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญในการดำเนินงานของ วว. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะส่วนภูมิภาคซึ่งถือเป็นโอกาสและหัวใจของประเทศในปัจจุบัน  วว. จึงนำยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ของ วทน. เข้าไปสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ตอบสนองวิถีชีวิตในอนาคต (Inclusive  Growth  & Wellness) และรักษาทรัพยากร เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อไปตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable  development)

             วว. ในฐานะผู้ผลิตเทคโนโลยีของประเทศ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาบนฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้ทรัพยากรชีวภาพถูกยกระดับการใช้ประโยชน์ ได้รับการส่งต่อเพื่อการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่า  ปัจจุบัน วว. ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในการวิจัยพัฒนาและผลิต  10  เทคโนโลยีด้านการเกษตร  โดยได้นำไปพัฒนาศักยภาพของ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ดังนี้

1) เทคโนโลยีเกษตรมูลค่าสูง จำนวน 4 เทคโนโลยี ได้แก่ 1.เทคโนโลยีดอกไม้กินได้ (Edible flower)  2.เทคโนโลยีไม้ดอกไม้ประดับและการเพาะเลี้ยงเยื่อ  3.เทคโนโลยีเห็ดเสริม Selenium และ 4.เทคโนโลยีการยืดอายุผักและเห็ด เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร ลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ผันผวนตามราคาตลาดโลก (ข้าวและมันสำประหลัง) และเป็นอาชีพเสริมเพื่อเสริมอาชีพหลักให้กับเกษตรกร

2) เทคโนโลยีเกษตรปลอดภัย จำนวน  2  เทคโนโลยี  ได้แก่ 1.เทคโนโลยี Hydroponic  และ 2. เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ มุ่งให้เกษตรกรที่ทำการเกษตรอยู่แล้วมีทักษะเพิ่มขึ้น (Reskill & Upskill)  เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น

3) เทคโนโลยีเกษตรลดต้นทุน  จำนวน  4  เทคโนโลยี  ได้แก่  เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง ซึ่งปุ๋ยถือเป็นต้นทุนหลักในการทำเกษตร โดยให้เกษตรกรรู้จักการผลิตปุ๋ยใช้เองและมีต้นทุนการผลิตลดลง พร้อมทั้งการพัฒนาหลักสูตรด้านการเกษตรที่ถือว่าเป็นงาน Quick win เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรสู่การเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ Young smart famer, ผู้ประกอบการในธุรกิจการเกษตร Agri business นักพัฒนาชุมชน ให้มีองค์ความรู้เชิงลึกและทักษะด้านการเกษตร เพื่อนำความรู้ไปส่งเสริมและขยายผล ประกอบด้วยหลักสูตร เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เทคโนโลยีการผลิตผัก และเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเชิงการค้า โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบแบบ Non-degree การฝึกทำงาน พร้อมฝึกทักษะ ซึ่ง วว. ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงาน แล้วมอบเทคโนโลยีให้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์นำไปขยายผลและปรับการดำเนินงานไปตามบริบทของเกษตรกรและพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยผ่านการทำความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานให้ทุน (Funding agency) และหน่วยงาน function ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เป็นเทคโนโลยีพร้อมใช้และพร้อมสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้และพื้นที่ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์หลักในการดำเนินงานของกระทรวง อว.

          “...ผลการดำเนินงานโครงการแก้จนของ วว. บพท. และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  มีเกษตรกรกรในโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จำนวน 60 ราย ในพื้นที่ตำบลสงเปลือย  อำเภอนามน  ในกลุ่มของการพัฒนาปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีด้านการผลิตสารชีวภัณฑ์  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง การปรับปรุงดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช  เห็ดเสริม selenium  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดอกไม้  เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรพื้นที่ในการดำเนินงาน  ณ อำเภอนามน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนามน สำนักงานเกษตรอำเภอนามน และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการตลาดโดย บริษัท สฤก จำกัด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเสริมรายได้ให้กับรายได้หลัก (ได้แก่ การปลูกข้าว  อ้อย  มันสำปะหลัง) นอกจากนี้ วว. ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแก้จน เพื่อเป็นพื้นที่เก็บองค์ความรู้  และ stock เชื้อ ให้กับเกษตรกร เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานและพัฒนาให้เป็นธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป...” ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...