เตรียมจัดระเบียบนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนสะพานมอญ วัดวังก์วิเวการาม ผู้ดูแลและสร้างสะพานมอญ คาดสะพานน่าจะยังใช้ได้อีก 1 ปี ก่อนเตรียมแผนซ่อมใหญ่สะพานมอญอีกครั้ง
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ ที่ นายสุทธิพร ศิวเวทพิกุล นายอำเภอสังขละบุรี พระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม นำนายภักดี หาญพัฒนะนุสรณ์ วิศวกรโยธาชำนาญพิเศษ สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานโยธาธิการ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้อำนวยการกองช่างเทศบาลตำบลวังกะ ทหารหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า ตชด.134 ลงตรวจสอบสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ หรือสะพานมอญ หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์ เมื่อเวลา 03.07 น. ของเช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ในพื้นที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ซึ่งการตรวจสอบเริ่มจากการลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพเสาสะพาน รอยต่อต่างๆ ของสะพาน ไม้แกงแนงที่เป็นส่วนสำคัญในการยึดโครงสร้าง(เสา)สะพานและโครงสร้างอื่นๆ ของสะพานฯ รวมทั้งตะปูและน็อตต่างๆ โดยเริ่มจากฝั่งชุมชนบ้านวังกะ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองลู ก่อนจะเดินขึ้นสะพาน ตรวจสอบคานไม้ และไม้พื้นที่ปูเป็นทางเดิน รวมทั้งราวสะพาน ต่อด้วยการตรวจสอบเสาสะพาน และโครงสร้างด้านล่างของสะพานในฝั่งเทศบาลตำบลวังกะ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองลู ซึ่งจากการตรวจสอบในครั้งนี้พบว่า เสาสะพานส่วนใหญ่เริ่มชำรุด บางต้นเริ่มผุ ตามการเวลาเนื่องจากต้องผ่านการจมอยู่ใต้น้ำในฤดูฝน และโดนแดดแผดเผา และน้ำฝนทำลาย ในช่วงที่โผล่พ้นน้ำ ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี ที่มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ ก่อนจะโดนน้ำป่าพัดขาด
ขณะที่อุปกรณ์ยึดที่เป็นตะปูและน็อต ขนาดต่างๆ เริ่มมีการขึ้นสนิมและผุกร่อนตามกาลเวลา ไม้แกงแนงซึ่งเป็นส่วนสำคัญเริ่มมีร่อยรอยการแตกและหักไปบางส่วน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน ขณะที่ในส่วนของพื้นไม้ที่ปูเป็นทางเดินพบว่าเริ่มมีการผุและหายไปในบางช่วง ขณะตะปูที่ใช้ตอกยึดพื้นสะพานเริ่มสั่นคลอน และหลุดในบางช่วง ซึ่งเป็นไปตามสภาพการใช้งานที่ผ่านมากว่า 10 ปี ซึ่งหากต้องมีการซ่อมจำเป็นต้องทำการซ่อมใหญ่(ซ้อมทั้งหมด)ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ขณะที่ปัจจุบันวัดวังก์วิเวการาม ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าของยังไม่มีงบประมาณดำเนินการ รวมทั้งแหล่งไม้ที่จะนำมาซ่อมสะพานซึ่งต้องใช้ไม้จำนวนมหาศาลก็เป็นอีกปัญหาที่ท้าทาย
ซึ่งภายหลังการตรวจสอบ นายภักดี หาญพัฒนะนุสรณ์ วิศวกรโยธาชำนาญการ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าเดิมทีสะพานฯถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการสัญจร ซึ่งในอดีตจำนวนผู้ใช้สัญจรไม่ได้มากนัก ขณะที่ปัจจุบันสะพานกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นมาวันละนับร้อยคน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเพิ่มจำนวนนับพันคนต่อวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวทุกคนจะมายืนออกันอยู่บนสะพาน ทำให้สะพานต้องรองรับน้ำหนักจำนวนมา เมื่อเวลาผ่านไปจึงเริ่มส่งผลต่อโครงสร้างของสะพานอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมจำนวนคุณที่จะมาเดินหรือยืนอยู่บนสะพาน ซึ่งจำนวนที่เหมาะสมอาจจะอยู่ที่ 400 คน หรือหากเป็นไปได้ก็ควรมีจำนวนที่น้อยกว่า ส่วนโครงสร้างสะพานที่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็เริ่มตั้งแต่ในส่วนของเสาสะพานทั้งหมด..เสียง..
ขณะที่นายสุทธิพร ศิวเวทพิกุล นายอำเภอสังขละบุรี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าอำเภอสังขละบุรีจำเป็นต้องใช้มาตรการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะลงเดินบนสะพานฯในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยจะจัดระเบียบให้ลงเดินเป็นรอบ รอบละไม่เกิน 400 คน เพื่อความปลอดภัย โดยจะดำเนินการร่วมกับฝ่ายตำรวจ ทหาร เทศบาลตำบลวังกะ ฝ่ายปกครอง ที่สำคัญจะขอความช่วยเหลือจากเทศบาลตำบลวังกะจัดสรรงบประมาณในการสร้างสะพานลูกบวบขึ้นมา เพื่อให้เป็นทางเลือกและช่วยลดความแออัดของนักท่องเที่ยวบนสะพาน ซึ่งจะพยายามทำให้ทันใช้งานในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ซึ่งหากทำได้จะกลายเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมา ซึ่งในอดีตทางวัดวังก์วิเวการามเคยสร้างสะพานลูกบวบขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการสัญจรให้กับประชาชนในพื้นที่ในช่วงการซ่อมสะพาน จนกลายเป็นที่สนใจดึงดูดนักท่องให้เดินทางมาท่องเที่ยวสะพานฯ จนกลายเป็นกระแสการเที่ยวสะพานมอญฯมาจนถึงทุกวันนี้ ...เสียง
สำหรับสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และป็นสะพานไม้ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศพม่าใช้ข้ามแม่น้ำซองกาเลียสร้างขึ้นโดยดำริของหลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ระหว่าง พ.ศ.2529 - พ.ศ.2530 เพื่อให้คนไทย กระเหรี่ยงและมอญได้สัญจรไปมาหาสู่กัน นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาเยี่ยมชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของพระอาทิตย์ยามเช้ารวมถึงวิถีชีวิตของชาวไทยและชาวมอญ และเมื่อเวลา 18.30 น. ของวันที่ 28 กรกฏาคม 2556 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากจากแม่น้ำซองกาเลีย พัดพาขยะจำนวนมากมาสะสมบริเวณสะพานอุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่หมู่ 2 กับหมู่ 3 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ความแรงของน้ำได้พัดจนสะพานขาด เป็นระยะทางยาวกว่า 30 เมตร ก่อนที่จะมีการดำเนินการซ่อมโดยชาวบ้านและทหารช่าง จากกองทหารราบที่ 9 จนแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานอีกครั้งเมื่อ 18 ต.ค.2557 ปัจจุบันสะพานไม้อุตตมานสรณ์ หรือสะพานมอญ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอสังขละบุรีที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ปีละหลายร้อยล้าน
วันนี้ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบ น.ส อรัญญา เจริญหงษ์ษา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ และคณะกรรมการวัดวังก์วิเวการาม เพื่อสอบถามถึงเรื่องความจำเป็นที่ต้องซ่อมสะพานในครั้งนี้ โดย น.ส.อรัญญา ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ถึงวันนี้สะพานไม้ฯ มีอายุกว่า 37 ปี ทำให้มีความเสื่อมโทรม เสียหายตามกาลเวลา โดยเฉพาะในส่วนของเสาสะพาน เนื่อง จากการซ่อมสะพานครั้งล่าสุดในปี2556 ก็มีการเปลี่ยนเสาใหม่แค่ในส่วนที่ถูกน้ำป่าทำลาย (ประมาณ 70 เมตร) เสาที่เหลือส่วนใหญ่เป็นเสาเดิมตั้งแต่เริ่มสร้างสะพานฯ อีกส่วนเป็นพื้นสะพานที่เริ่มผุและตะปูเริ่มหลวม ที่สำคัญไม้ที่นำมาใช้ในการซ่อมสะพานในครั้งนั้นเป็นไม้ที่ไม่ได้ขนาด และเนื้อไม้ยังไม่แข็งพอ ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้น ทำให้มีความจำเป็นต้องซ่อมใหญ่
ที่ผ่านมาแม้ทางวัดต้องการยกสะพานให้อยู่ภายใต้การดูแลของส่วนราชการแต่ก็ยังรู้สึกกังวล เกรงอนาคตหน่วยงานที่รับไปดูแลจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสะพานจากไม้ไปเป็นอย่างอื่น ซึ่งหากเปลี่ยนไปจะส่งผลกรทบต่อประชาชนในพื้นที่แน่นอน ปฎิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สะพานไม้ฯเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุ่วทุกสารทิศให้เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จนการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของคนที่นี่ไปแล้ว
การซ่อมครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงพระมหาสุชาติ สิริปัญโญ และคณะกรรมวัดต้องการให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่ และยังคงดำเนินการร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานในและนอกพื้นที่ รวมทั้งภาคเอกชน ประชาชนที่มีจิตศรัทธาในพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) ขณะที่ในอนาคตวัดฯเองมีแผนปลูกป่า(ไม้แดง) ซึ่งเป็นโครงการที่วัดจะทำร่วมกับส่วนราชการและเอกชน ประชาชน ในพื้นที่ โดยใช้พื้นที่ของวัดที่ยังมีพื้นที่อีก100-200 ไร่ เพื่อแก้ปัญหา ขาดแคลนไม้แดงในการนำมาซ่อมสะพานฯ....เสียง..
////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน