ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
อภ.จับมือสวก.พัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดสุขภาพ
22 พ.ย. 2566

ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น. ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงโดย ดร.ภญ.นันทกาญจน์  สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)โดย ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

           รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างองค์การฯ และ สวก. ในครั้งนี้เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย ภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม  ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอย่างครบวงจร เพื่อให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการพัฒนางานวิจัย การพัฒนาบุคลากรและการผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

            องค์การฯมีความเชี่ยวชาญในการวิจัย พัฒนาและต่อยอดผลงานวิจัยทางด้านสมุนไพรต่างๆให้เป็นผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเวชสำอาง ออกสู่ท้องตลาดได้จริง องค์การฯ มีการผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพ  และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางยาและเวชภัณฑ์ใหม่ๆ ประกอบกับ สวก. เป็นหน่วยงานที่มีการให้ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเวชสำอางจากสมุนไพร ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การฯ ในการ “เป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพของประเทศ ที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน”

           องค์การเภสัชกรรม จึงให้ความสนใจและมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยให้แก่ประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบโจทย์การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และสร้างความยั่งยืนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้แก่ประเทศได้อย่างแท้จริง

             ด้าน ดร.วิชาญ กล่าวว่า สวก. ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร และส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร โดยผลที่ได้จากการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ หรือเชิงนโยบาย ทั้งนี้ สวก. เป็นหนึ่งในหน่วยบริหารจัดการทุน (Program Management Unit : PMU) ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการงานวิจัยด้านสมุนไพร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ถึงปัจจุบัน สวก. มีการดำเนินงานสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงใหม่ๆ ประกอบกับ สวก. เป็นหน่วยงานที่มีการให้ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเวชสำอางจากสมุนไพร ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การฯ ในการ “เป็นองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพของประเทศ ที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน”

           องค์การเภสัชกรรม จึงให้ความสนใจและมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรใหม่ๆ ที่มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยให้แก่ประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบโจทย์การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และสร้างความยั่งยืนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้แก่ประเทศได้อย่างแท้จริง

             ด้าน ดร.วิชาญ กล่าวว่า สวก. ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร และส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร โดยผลที่ได้จากการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ หรือเชิงนโยบาย ทั้งนี้ สวก. เป็นหนึ่งในหน่วยบริหารจัดการทุน (Program Management Unit : PMU) ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการงานวิจัยด้านสมุนไพร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 ถึงปัจจุบัน สวก. มีการดำเนินงานสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงและยั่งยืน สวก. และองค์การเภสัชกรรม จะร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูล บุคลากร เทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พื้นที่สำหรับดำเนินโครงการและการจัดสรรปัจจัยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์

               ความร่วมมือนี้จะก่อให้เกิดโครงการวิจัยนำร่องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร  โดยมีเป้าหมายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเพิ่มจำนวนการใช้สมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรมากขึ้น              อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทยในตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ อันจะนำมาสู่ความมั่งคงทางระบบสาธารณสุขและความยั่งยืนของเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...