คณะอนุกรรมาธิการฯ วุฒิสภา ศึกษาดูงาน ระเบียงเศรษฐกิจภาค ที่จังหวัดอุดรธานี คณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ และคณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจ ศึกษาดูงาน ระเบียงเศรษฐกิจภาค ที่จังหวัดอุดรธานี
วันนี้ (23 พ.ย.66) ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) (พระ-ยา-สี-สุ-ริ-ยะ-ราด-วะ-รา-นุ-วัด โพ-เน-ติ-โพ) นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดีรธานี มอบหมายให้นายศรัณย์ศักด์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ รองประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ และนายจิรชัย มูลทองโร่ย ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการคนที่ 1 พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา, คณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจและคณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ กลุ่มภารกิจด้านเศรษฐกิจ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานจังหวัดอุดรธานี โดยประเด็นการศึกษาดูงาน
ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้บรรยายสรุปข้อมูล ประกอบด้วย สถานการณ์ด้านการค้าและการลงทุนของจังหวัดอุดรธานี, แนวทางการขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงภูมิภาคไทย จีน ลาว, ผลการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวมของจังหวัด พ.ศ.2566, ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567
นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ วุฒิสภา กล่าวว่า การเดินทางศึกษาดูงานนี้เป็นการติดตามดูงานระเบียงเศรษฐกิจภาคที่ได้ประกาศใหม่เป็น 4 ภาค ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ทั้ง 4 จังหวัดนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมการเกษตรและการอาหาร ซึ่งภาคเอกชนที่จังหวัดอุดรธานี มีความต้องการให้มีการผลักดันพื้นที่จังหวัดอุดรธานีให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในเรื่องนี้เป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากจังหวัดอุดรธานีไม่ใช่พื้นที่ชายแดน ที่ประชุมได้ร่วมหารือในการของผลักดันให้พื้นที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อาจจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งในเรื่องนี้จังหวัดต้องนำเสนอ ครม.สัญจร และจังหวัดจะต้องเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สอดคล้องกับความประสงค์ความต้องการของผู้ประกอบการจาก 2 ประเภทเป็น 13 ประเภท และจังหวัดสามารถชี้ได้ว่าถ้าเพิ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็น 13 ประเภทแล้ว จะทำให้การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคบริการของจังหวัดอุดรสูงกว่า 50,000 ล้านบาท ใน 5 ปี พร้อมได้เสนอให้ผู้แทน BOI เป็น หน่วยงานหนึ่งในการให้บริการในศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ OSS เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าชานแดน/ผ่านแดน แบบครบวงจร รวมทั้งฝากจังหวัดอุดรธานี นำแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค บรรจุอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาบริหารราชการแบบบูรณาการฉบับใหม่ 2565 เพื่อการขับเคลื่อนพัฒนาต่อไปในจังหวัดอุดรธานี ในช่วงบ่ายคณะ ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ.กับบริษัทเมืองอุตสาหกรรม จำกัด ที่ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานเมื่อปี 2557 ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ