ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
มหกรรมการเกษตร – อุตสาหกรรม ประกวดวัวฮินดูบราซิล เเพะ ครั้งที่ 18 เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
02 ธ.ค. 2566

           เมื่อเวลา  10.30  น. วันที่  2 ธ.ค.  66   ที่สนามกีฬาพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรกรจากทั่วประเทศจำนวนมาก นำ โค และแพะ เดินทางมาร่วมประกวดในงาน “มหกรรมการเกษตร – อุตสาหกรรม ประจำปี 2567”  ครั้งที่ 18  ชิงถ้วยเกียรติยศนายบุญชู  จันทร์สุวรรณ นายยกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย  โดย นายจองชัย เที่ยงธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวขณะประธานเปิดงานว่า การประกวดโคพันธุ์ฮินดูบราชิล ณ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังเป็นการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตของประชาชนและการประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ภายใต้กรอบแผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เพื่อเป็นการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นกิจกรรมที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งการจัดงานในครั้งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือกันในทุกหมู่เหล่าของชาวสุพรรณบุรีและผู้เกี่ยวข้อง   นอกจากมีการประกวดวัวแล้ววัวบางตัวยังดื้อ ผู้เลี้ยงต้องบังคับเชือกจูงวัวด้วยความระมัดระวัง วัวบางตัวยังช์ม้วนตัวก่อนลุกขึ้นเพื่อประกวดความสวยงามของตัวเองอีกด้วย

        ด้านนายเธียรินทร์ ปัทมนิรันดร์กุล ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การประกวดโคพันธุ์ฮินดูบราชิลจัดขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  และเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนและครอบครัวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่   ให้เกษตรกรได้ศึกษาพันธุโคฮินดูบราซิล และคัดเลือกพันธุ์โคได้อย่างเหมาะสมในสภาพที่เป็นจริง ตลอดจนการให้คำแนะนำการจัดการฟาร์ม ด้านอาหารสัตว์จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมงาน อีกทั้งเพื่อให้เกษตรกร ได้ศึกษาองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงพันธุ์โค และเป็นเวทีให้เกษตรกรได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน  ที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าโคพันธุ์ฮินดูบราชิล ทำให้ให้เกษตรกรมีเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้น การจัดประกวดโคพันธุ์ฮินดูบราซิล ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทสีแดง 2. ประเภทสีขาว-สีโบ๊ท และ 3. ประเภทรวมสี (สีดำ-สีเหลือง สีด่าง โดยแบ่งเพศผู้ เพศเมีย และแบ่งตามช่วงอายุ/การประกวดแพะสายพันธุ์บอร์ สายพันธุ์บอร์ลูกผสม สายพันธุ์แองโกลนูเบี้ยน และสายพันธุ์ซาแนน  ซึ่งผู้ประกอบการฟาร์มที่ชนะการประกวด ทั้ง 2 ชนิด จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ และถ้วยรางวัล

        ซึ่งการจัดงาน ในครั้งนี้ นอกจากเพื่อให้ความรู้ทางด้านการปศุสัตว์แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียงแล้ว  ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โคและแพะ และระบบการเลี้ยง รวมถึงการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานมาเป็นจุดถึงดูดนักท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพทางด้านการเลี้ยงปศุสัตว์สัตว์ การพัฒนาการเลี้ยง รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรีที่ว่า “สุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรกรรมยั่งยืน เศรษฐกิจเข้มแข็ง คุณภาพดีสังคมมีสุข” และประเด็นการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี ประเด็นที่ 1 การเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน เพื่อการแข่งขันทางการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน

         นอกจากนี้  ยังมีการโชว์พ่อพันธุ์โคฮินดูบราซิลชื่อดัง พร้อมการจำหน่ายน้ำเชื้อพันธุ์ดีจากเกษตรกรโดยตรง – โชว์พ่อพันธุ์แพะชื่อดัง การให้คำปรึกษา แนะนำ การเลี้ยงโคและแพะจากผู้มีที่มากประสบการณ์ การซื้อวัวพันธุ์ดีราคาตัวละเป็นแสนบาท  การจัดจำหน่ายพันธุ์ไม้มงคล ดอกไม้ประดับ  /การจัดจำหน่วยสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าเกษตร การออกหน่วยบริการตัดผมเสริมสวย ฟรี จากสมาคมเสริมสวยสุพรรณบุรี พร้อมชมการโชว์นกแก้วสวยงาม นกบินอิสระ ที่สวยงามอีกด้วย

เฉลิมพล เวชอาภรณ์ อปท.นิวส์ จังหวัดสุพรรณบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...