นายองครักษ์ ทองนิรมล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) "โครงการกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เวเนเซีย" นายอำนาจ หมายยอด ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้านโครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องจากพระราชดำริบ้านน้ำซับ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา กับนางสุทัศษา เหล่าหงษ์เกียรติ ประธานบริหาร บริษัท แฟชั่นวิลเลจ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด มีนายชัยอนันต์ แก่นดี อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ นายนพชัย ลาภผาติกุล รองประธานบริหาร บริษัท แฟชั่นวิลเลจ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ร่วมเป็นพยานในการลงนาม นายสมศักดิ์ แย้มพันธุ์นุ้ย นายอำเภอชะอำ นายอาชวันต์ กงกะนันทน์ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานประจวบฯ นายอติชาติ ชัยศรี รองนายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน นางวาสนา ศรีกาญจนา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน - ชะอำ และแขกผู้มีเกียรติจำนวนมากร่วมเป็นสักขีพยานที่ห้องประชุมสยามเวเนเชีย หัวหิน - ชะอำ จ.เพชรบุรี
ทั้งนี้เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริครบวงจร จัดตั้งศูนย์การอบรมสัมมนาองค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงและนิทรรศการพืช ผัก ผลไม้ และการแสดงผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร ภายใต้ชื่องาน "สยามเวเนเซีย เกษตรแฟร์" และพัฒนาโครงการเข้าสู่ BCG และ SDGs ต่อไป
นางสุทัศษา เหล่าหงษ์เกียรติ กล่าวว่า วันนี้เราได้ลงนามร่วมมือ "โครงการกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สยามเวเนเซีย" ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นที่สยามเวเนเซีย ชะอำ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงได้ให้ความสำคัญกับโครงการในพระราชดำริหลายๆ โครงการ และโครงการสำคัญต่างๆ ก็จะเกี่ยวข้องกับเกษตรกรทั้งสิ้น ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ทำให้เห็นว่าเกษตรมีความสำคัญกับประเทศและช่วยยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร ถึงแม้ว่ารูปแบบของสยามเวเนเซียจะดูเหมือนเวนิส แต่ในความหมายเดียวกัน คือเป็นเมืองของศิลปะ วัฒนธรรม ส่งเสริมในเรื่องของการเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่แค่ชาวไทยเท่านั้น ต่างประเทศจะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของเกษตรกรไทย ที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นเกษตรที่ไร้สารพิษ เชื่อว่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีของประเทศชาติ สำหรับโครงการสยาม เวเนเซีย เกษตรแฟร์ วางแผนไว้ว่าไม่เกินโครงการที่สองของปี 2567 ทั้งนี้จะเป็นความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อที่จะทำให้เยาวชนทั้งประชาชนทั่วไป ได้เข้าถึงว่าเกษตรไร้สาร สามารถนำมาซึ่งความยั่งยืนในการประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง.