เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 6 มกราคม 67 ณ ห้องประชุมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชนินทร์ รุ้งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และคณะ ร่วมเดินทางในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 10 ระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2567 มีนายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายสำเร็จ ภูแสนศรี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนเกือบ 1 พัน คนมาต้อนรับ และชูป้ายขอกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง
ซึ้งมีการบรรยายสรุปจากบรรยายสรุป เรื่องการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนี้;ว่า โครงการกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โดยแบ่งเป็นช่วงการดำเนินงาน คือ
ช่วงที่ 1 ปี 2525 – 2541 เริ่มแนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โดยการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นสู่ยอดภูกระดึง ให้เกิดการสร้างงานและการกระจายรายได้สู่ประชาชนท้องถิ่น รวมทั้งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวในด้านสุขภาพและความปลอดภัย สรุปการดำเนินงานช่วงที่ 1 : 1) การสร้างกระเช้าไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งที่สมควรดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทุกกลุ่มทุกวัยในการเดินทางขึ้นลงภูกระดึง 2) การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็นไม่น่ามีปัญหาร้ายแรง”
ช่วงที่ 2 ปี 2546 – 2554 ช่วงที่ 3 ปี 2555 – 2563 ช่วงที่ 4 ปี 2565 – ปัจจุบัน ปี พ.ศ.2565 อพท. ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษาดังกล่าว จำนวน 7,941,000 บาท โดยได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นที่ปรึกษาโครงการ ทบทวนความเหมาะสม จัดทำ EIA ดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน
ดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) ด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ รูปแบบโครงการ พร้อมกำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงการของรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ในการพัฒนาโครงการกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย แต่ละจุดที่สำรวจจะใช้เสา 7 จุดดำเนินการ ในวันนี้มีผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตัวแทนประชาชน เข้ายื่นหนัง สือเรียกร้องให้มีการก่อสร่งกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง อีกด้วย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่ต้องการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ซึ่งโครงการนี้มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านเป็นเรื่องปกติ จึงต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมกันใหม่ เนื่องจากอะไรเปลี่ยนไปมากจึงต้องลงมาดูเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มากที่สุด ถึงอย่างไรต้องเร่งศึกษาผลกระทบ โครงสร้าง การลงทุนต่างๆให้เสร็จโดยเร็วด้วยงบประมาณ ทำการศึกษา ประชาชน 28 ล้านบาท ในรัฐบาลชุดนี้ตามที่หลายฝ่ายประสงค์แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ ผลดี และให้มีผลกระทบน้อยที่สุด
นายสังคม วรรณะประภา อายุ 37 ปี บ้านห้วยคะมา ต.ภูกระดึง เปิดเผยว่า กับการสร้างวกระเช้านั้นตนคิดว่าให้เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจว่ายังไงตนก็เอาอย่างนั้นจะปฏิบัติตามนั้น เพราะตนคือผู้ปฏิบัติทำมา 15 ปีแล้ว ปัจจุบันมีลูกหาบ 300 คนนับว่าลดลงด้วยอายุและสุขภาพ ส่วนการสืบทอดลูกหาบก็มีเหมือนกัน ค่าสัมภาระหากส่งให้กับร้านค้าด้านบนภู 15 บาท/กก.หากเป็น นทท. 30 บาท/กก. ลูกหาบได้รับรายได้เฉลี่ย 30,000 บาท/เดือน/คนนับว่าอยู่ได้ หากมีกระเช้าไฟฟ้า นทท.ก็มากขึ้น ต้องหาลูกหาบเพิ่มขึ้นอีกจะเหมาะสม เพราะเปิดโอกาสให้ทั้งเดินเท้าและขึ้นกระเช้าฯ
นายสงวน คามตะสีลา อายุ 73 ปี เลขที่ 48/1 หมู่ 3 เจ้าของร้านค้าบ้านวงเวียน ต.ภูกระดึง อ.ภูกระดึงฯเปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยกับโครงการกระเช้าไฟฟ้ามานานนับสิบปีแล้ว เช่นเดียวกับประชาชน อ.ภูกระดึงเกือบ 100 5 ก็เห็นด้วยเพราะอาชีพ รายได้ เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้นแน่นอน กับการศึกษาสำรวจอะไรนั้นตนขอบอกว่าไม่ต้องแล้วสร้างได้แล้ว ศึกษาแต่ละครั้งกว่า 20 ล้านบาท 3-4 ครั้งเป็นเงินเท่าไรเอาเงินนั้นมาสร้างก็เสร็จหลายปีแล้วเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงไม่มีอะไรแอบแฝงไม่มีใครมาชี้นำ หากจะไปให้สร้างด้านของ จ.เพชรบูรณ์นั้นไม่มีใครเห็นด้วยเพราะภูกระดึงอยู่ในพื้นที่จังหวัดเลยและจะ ต้องใช้งบประมาณสร้างทางสร้างถนนและอื่นๆอีกกว่าเท่าตัว ส่วนจุดตั้งเสา 3 จุดนั้นก็เหมาะสมทุกจุด