จากกรณีเมื่อ วันที่ 23 พ.ย. 2564 ได้มีกลุ่มชาวบ้าน และ กลุ่มเกษตรกรด้านประมง จาก อ.สองพี่น้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี พร้อมด้วย ดร.อุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษา รมว.ทส.ในสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา รมว.พม.ที่ปรึกษา เลขาธิการ ปปง. และที่ปรึกษา นายกสภาทนายความ หัวหน้าทีมทนายความ พร้อมทีมทนายความ ได้ยื่นเรื่องศาลปกครองสุพรรณบุรี ยื่นฟ้องกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำ ผิดพลาด ทำให้เกิดน้ำท่วมสูงและน้ำท่วมขังในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือน ทำให้เกษตรกรและชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนทั้งที่พักอาศัยและที่ทำกิน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ทำนา ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 100% และส่วนใหญ่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว มีภาระหนี้สินจำนวนมาก คิดเป็นค่าเสียหายรวมประมาณ 140 ล้านบาทเศษ โดยได้มีชาวบ้านกว่า 2 พันครอบครัวได้แสดงเจตนาที่จะยื่นฟ้องกรมชลประทาน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดวันนี้ 11 มกราคม 2566. ที่ศาลปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี. เมื่อเวลา 09.00 น. ดร.อุดม โปร่งฟ้า หัวหน้าทีมทนายความ และกลุ่มทนายความ ที่ร่วมกันว่าความให้กลุ่มเกษตนกรชาวสุพรรณบุรี ได้เดินทางมาถึงศาลปกครอง โดยได้กล่าวว่า สาเหตุที่ชาวบ้านต้องยื่นฟ้องกรมชลประทานกับพวกต่อศาลปกครองสุพรรณบุรี ก็เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในปี 2564 เกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ ที่กรมชลประทานได้ระบายน้ำเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีโดยไม่ยอมระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพราะเกรงว่าอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร แต่ปล่อยให้ชาวสุพรรณบุรีต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหายเพียงจังหวัดเดียว ที่สำคัญ รัฐบาลให้สัมภาษณ์สื่ออยู่เสมอว่าเป็นห่วงชาวสุพรรณบุรีที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม แต่กลับไม่มีมาตรการใดๆที่จะช่วยเหลือชาวบ้าน โดยเฉพาะเมื่อชาวบ้านทราบว่า รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยหรือเยียวยาให้แก่ชาวบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรีเพียงเล็กน้อย ทั้งที่ชาวบ้านได้รับความเสียหายจริงมากกว่าเงินที่รัฐบาลจะจ่ายชดเชย ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถยอมรับได้ จึงได้รวมตัวกันยื่นฟ้องกรมชลประทาน
ทั้งนี้ ดร.อุดม โปร่งฟ้า หัวหน้าทีมทนายความ ได้กล่าวต่อว่า ไม่มีปรากฎการณ์น้ำท่วมใหญ่ของ จ.สุพรรณบุรี เท่าปี 2564 ซึ่งมีผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง และลามมาถึงในเขต อ.เมืองสุพรรณบุรี และอีกหลายพื้นที่เรียกว่าเป็นทุ่งทะเลก็ว่าได้ ตนและ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะนั้น ในบินตรวจดู เห็นความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มทำนา ทำการเกษตร ประมง จึงมีมติในนามพรรคชาติไทยพัฒนา ต้องช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ก็คือต้องฟ้องกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย และการชดเชยเยียวยาต่างๆต้องได้รับความเป็นธรรมด้วย ให้พอเพียงกับที่ได้รับความเสียหาย หลังจากที่เราได้มีการฟ้องร้องที่ศาลปกครองสุพรรณบุรี จำนวน 553 คดี
และเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองสุพรรณบุรี ได้มีคำพิพากษาในชุดแรกออกแล้วทั้งหมด 36 คดี ซึ่งให้รัฐบาล โดยเฉพาะกรมชลประทานนั้นเยียวยาให้กับพี่น้องประชาชนเพิ่มอีก 30 เปอร์เซนต์ จากที่ได้มีการเยียวยาแล้ว ซึ่งเดิมทีได้รับการเยียวยาไร่ละ 11,780 บาท ศาลปกครองให้ชำระอีก 30 เปอร์เซ็นต์ จะได้เพิ่มอีกละประมาณ 4,000 บาท. ถือว่าวันนี้เราประสบความสำเร็จในส่วนหนึ่ง ชาวบ้านดีใจกันมาก ทีมงานและพี่น้องประชาชนก็เฝ้ารอวันนี้ว่าศาลปกครองจะมีคำพิพากษาอย่างไร ต่อไปก็จะเป็นมาตรฐานว่าเมื่อปล่อยน้ำมาในทุ่งรับน้ำ รัฐบาลต้องเยียวยาให้ประชาชนขั้นต่ำอย่างน้อยไร่ละ 16,000 บาท แต่ถ้าความเสียหายมากกว่านั้นทางฝ่ายกฎหมายเรากำลังพิจารณาว่า เรื่องของการที่เราขาดโอกาส ขาดรายได้ต่างๆ ซึ่งศาลปกครองยังไม่ได้ให้เรา อาจจะต้องขอความเมตตาจากศาลปกครองสูงสุดในการพิจารณาในส่วนนี้ เพราะพี่น้องประชาชนเราเดือดร้อนจริงๆ และขอให้ได้รับตามความเป็นจริง
นายสุรกิจ กิจสนธิ ส.อบจ.เขต 2 อ.สองพี่น้อง ได้เปิดเผยว่า วันนี้ได้พาชาวบ้านและเกษตรกรมาฟังคำพิพากษาจากศาลปกครอง ซึ่งดีใจมาก ก็ต้องขอขอบคุณผู้นำของเราที่ได้ช่วยติดตามเรื่องให้ เพราะที่ผ่านมาทางชลประทานไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ ได้รับความเสียหายมาก ได้ค่าชดเชยบ้าง ซึ่งไม่เพียงพอ บางคนเป็นหนี้เป็นสิน ธกส. ไม่มีเงินใช้หนี้ กับการปล่อยน้ำในครั้งนี้ เสียหายมาก วันนี้ก็ดีใจมากที่ทุกคนจะได้รับเงินชดเชยที่มากขึ้น อย่างน้อยก็เป็นกรณีตัวอย่างว่าชาวบ้านไม่ยอมแล้ว
ด้านนายมานิตย์ พุทธจรรยา เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง ชาว ต.องค์รักษ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าต้องขอแสดงความขอบคุณ ดร.อุดม และทีมทนายความ ในฐานะตัวแทนของ นายวราวุธ ศิลปอาชา ที่ช่วยดำเนินการผลักดันให้เกษตรกรได้รับเงินเยียวยาที่สมเหตุสมผล ทำให้ชาวบ้านมีความสุขมาก หลังจากที่รอศาลปกครองพิจารณามาตั้งแต่ปี 2564 วันนี้ประสบความสำเร็จแล้ว ถ้าไม่ได้ทีมงานของนายวราวุธ ลำพังชาวบ้านเอง คงจะไม่สามารถฟ้องร้องได้สำเร็จ ซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะเป็นมาตรฐานของกรมชลประทาน ที่จะปล่อยน้ำให้เราตามกำหนด ไม่ใช่ปล่อยให้น้ำท่วมแบบไม่ทันตั้งตัวแบบปี 2564 ที่ผ่านมา
สัมภาษณ์. คนที่ 3. ด้านนาง สาคู พงษ์เพชร เกษตรกรชาวอำเภอสองพี่น้อง กล่าวว่า วันนี้ ก็มาฟังข่าวคำพิพากษา จากศาลปกครอง หลังจากได้ยื่นฟ้อง เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งตนในฐานะผู้เสียหาย ซึ่งรู้สึกดีใจมาก เพราะลำพังแค่เราชาวบ้านตาสีตาสา ก็คงไม่กล้าไปยื่นฟ้องใครหรอก ก็ได้แค่ ยอมๆไป อย่างที่ผ่านมา เราทำจริง 60กว่าไร่ เราก็ได้เงินช่วยเหลือ แค่ 5-10 ไร่ ซึ่งมันงัดกันไม่ได้ เมหือนไม้ซีกไปงัดกับไม้ซุง ถ้าลำพังชาวบ้าน น่ะ ไม่กล้าไปฟ้องหรอก ไม่มีความรู้ ถึงมีความรู้ ก็ไม่มีความกล้าพอที่จะไปฟ้องร้อง หน่วยงานไหน แต่พอเรามีผู้นำ เรามีการรวมตัวกัน เราเข้มแข็งขึ้น เราก็สามารถทำได้ ดีใจมาก ส่วนที่ผ่านมาในการเยียวยาจากรัฐบาล เรา ก็มีบางส่วนที่เราก็ได้ช่วยเหลือ ซึ่งจริงๆแล้ว มันไม่ได้ครึ่งหนึ่งที่เราเสียหายเลย วันนี้พอได้ฟังคำตัดสินจากศาลรู้สึกขอบคุณมากที่ศาลปกครองให้พวกเราชนะ ขอบคุณผู้นำของเราที่ช่วยตามเรื่องให้ เราจะได้มีพลังใจมากขึ้น เราจะไม่ยอมแล้วค่ะ
สำหรับการยื่นฟ้องของชาวบ้านและเกษตรกรในครั้งนี้ กับกรมชลประทาน มีทั้งสิ้น 553 คดี และนี่เป็นคำพิพากษาชุดแรกที่ออกมาแล้ว จำนวน 36 คดี ที่ทางกรมชลประทานจะต้องเยียวยาให้กับพี่น้องประชาชนเพิ่มอีก 30 เปอร์เซนต์ จากที่ได้มีการเยียวยาแล้ว ซึ่งเดิมทีได้รับการเยียวยาไร่ละ 11,780 บาท ศาลปกครองให้ชำระอีก 30 เปอร์เซ็นต์ จะได้เพิ่มอีกละประมาณ 4,000 บาท. งานนี้อาจจะเป็นกรณีตัวอย่างให้ทางรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงหัวอกชาวบ้านอย่างแท้จริง ว่าพวกเค้าทำนา ทำไร่ เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เวลาจะตัดสินใจบริหารงาน ควรนึกถึงผลกระทบที่ตามมา หากผิดพลาดหรือแก้ไข ควรเยียวยาอย่างสมเหตุสมผล มิใช่ให้เค้าอยู่บนน้ำตา ความทุกข์ร้อน สิ้นเนื้อประดาตัว บนหนี้สินพะรุงพะรัง จนแทยไม่มีกำลังกายกำลังใจเดินหน้าต่อไปในชีวิต. และวันนี้ศาลปกครองได้ประจักษ์ให้เห็นแล้วว่า กฎของความยุติธรรม ยืนอยู่บนความถูกต้องเสมอ