ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาฬสินธุ์-บพท. ลงนามความร่วมมือ ม.กว่างซีแก้จนข้ามชาติ
18 ม.ค. 2567

บพท.บรรลุการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนกับมหาวิทยาลัยกว่างชี แห่งสาธารณรัฐประชาชนนจีน เปิดประดูเชื่อมโยงองค์ความรู้แก้งปัญหาความยกจนแบบเดเสร็จแม่นยำของประชาคมนักวิจัยไทย สู่ความร่วมมือยกระ

ดับคุณภาพชีวิต แก้ัปํญหาความยากจนกับประเทศเพื่อนบ้าน

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการบริหาร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการแก้ปัญหาความยากจน ระหว่าง บพท. กับ มหาวิทยาลัยกว่างซี แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในวันที่ 18 มกราคม 2567 นี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานความร่วมมือกันของหน่วยราชการ 2 ประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมร่วมกัน เพื่อนำสู่การแกก้ไขปัญหาความยากจนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน บนพื้นฐานความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน

"เหตุผลสำคัญที่เราเลือกทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างชี มณฑลกว่างซี เป็นเพราะมณฑลกว่างชี กับประเทศไทยมีความใกล้เคียงกันมากทั้งด้านวัฒนธรรม หลักคิดความเชื่อค่านิยม ตลอดจนสภาพภูมิประเทศ ขนาดพื้นที่ รวมทั้งขนาดประชากร ซึ่งภายใต้ความร่วมมือระหว่างกันของ บพท. และมหาวิทยาลัยกว่างซี จะนำความรู้ด้านการแก้ปัญหาความยากจนไปใช้ในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ 7 จังหวัด เป็นพื้นที่นำร่องได้แก่กาฬสินธุ์ ลำปาง มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา ก่อนที่จะขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ
ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศต่อไป"


ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ชี้แจงเพิ่มเติมว่าสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตั้งมั่นบนเจตนารมณ์ร่วมกันในการเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาความยากจนระหว่างฝ่ายต่างๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ เงื่อนไขความสำเร็จ โครงสร้างพื้นฐาน และกระบวนการในการแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างสถาบันการวิจัย เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกันแบบทวิภาคี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ชีวิต 

"ขอบเขตความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่าง บพท. กับมหาวิทยาลัยกว่างชี ครอบคลุม 4 มิติคือ1).มิติของความร่วมมือองค์ความรู้ และบัญชีรายชื่อนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับปัญหาความยากจน 2).มิติของผลผลิต ห่วงโซ่คุณค่า และกระบวนการในการแก้ปัญหาความยากจน 3). มิติต้นแบบพื้นที่หรือหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน อย่างน้อย 1 แห่ง 4). มิติความร่วมมือด้านอื่นๆที่เห็นชอบร่วมกัน"

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวด้วยว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยกว่างซี แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นปฐมบทของการเปิดประตูเชื่อมโยงองค์ความรู้แก้ปัญหาความยากจนของประชาคมนักวิจัยไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

"บพท. มีความคาดหวังและตั้งใจจะต่อยอดขยายผลชุดความรู้จากงานวิจัยแก้จน ออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศเพื่อนบ้านของเรา"

ขณะที่ นางสาวณิชนันทน์ ลาเบิกบาน ผช.วิจัย ในโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ และแก้ไขปัญหาความยากจน จ.อุบล ได้นำสินค้าจากชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจาก บพท. จากการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี มาจัดแสดง โดย บพท.ได้สนับสนุนเกษตรกรซึ่งประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมโดยการนำพันธุ์ข้าวอายุสั้นมาปลูก ทำให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 120 วัน หรือ 3 เดือน

ด้าน ดร.อนิวรรต หาสุข ผช.อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) ได้นำเอาเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นมาแสดงในนิทรรศการ ซึ่ง มทร.ได้ช่วยเหลือชุมชนในการยกระดับชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และมีเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของ พบท.

ขณะที่กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ตำบลคำเหมือดแก้ว อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ นางนุชนาถ ชัยมหา ตัวแทนกลุ่มฯ ภูมิใจนำเสนอ เห็นลม เห็นบดหรือคนอีสานเรียก เห็ดกระด้าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้สร้างคุณภาพชีวิตที่ให้กับครอบครัว หลังจากได้รับการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ และแก้ไขปัญหาความยากจน ฃของจังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้การสนับสนุนจาก พบท.

คิวสัมภาษณ์ 1.ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. (คนยืนขวามือ สวมสูทสีดำ
2.รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ คนยืนซ้ายมือ (สวมสูทสีดำทับเสือคอปกสีฟ้า)
3.นางสาวณิชนันทน์ ลาเบิกบาน (สวมเสื้อเชิ้ตสีฟ้าอำเทา โชว์ผลิตภัณฑ์กระเป๋า)
4.ดร.อนิวรรต หาสุข ผช.อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) (สวมสูทสีเทา ทับเสื้อเชิ้ตสีชมพูอมเทา)
5.นางนุชนาถ ชัยมหา (สวมเสื้อผ้าฝ้ายสีน้ำตาล)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...