ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ วันที่ 20 ม.ค. 2567 นายรัชพล ไชยสิน นายก อบต.ขะยูง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ขอเชิญเที่ยวชมปราสาทสระกำแพงน้อย ศิลปะแบบบายน มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาทสระกำแพงน้อย อยู่ที่บ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทสระกำเแพงน้อย เป็นหนึ่งในศาสนสถาน ประเภท อโรคยาศาล หรือสถานพยาบาล ชึ่งปรากฎหลายแห่งในภาคตะวันอกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามจารึกปราสาทตาพรหมระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างขึ้นจำนวน 102 แห่งในทุกๆ วิษัย (เมือง) มีลักษณะแผนผังประกอบด้วย ปราสาทประธาน บรรณาลัย โคปุระกำแพงล้อมและสระน้ำ อาจเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑุรยประภา พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรคและพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ คือ พระสูรยประภา และพระจันทรประภา
เนื่องจากสร้างขึ้นด้วยความรีบเร่ง ในการสร้างจึงมีการนำเอาทับหลังและส่วนประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เป็นหินทรายจากปราสาทสมัยบาปวนแห่งหนึ่งมาสร้าง การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 หน้า 3680 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 119 ตอนที่ ง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 เนื้อที่ประมาณ 53 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา
นายรัชพล ไชยสิน นายก อบต.ขะยูง กล่าวว่า ปราสาทสระกำแพงน้อย อยู่ภายในบริเวณวัดเทพปราสาทสระกำแพงน้อย บ้านกลาง ต.ขะยูง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วยปรางค์และวิหารก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าปรางค์ มีสระน้ำใหญ่ ทั้งปรางค์วิหารและสระน้ำ ล้วนล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง เคยมีทับหลังประตูสลักเป็นพระวรุณ เทพเจ้าแห่งฝน ประทับบนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัว อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข เป็นศิลปะแบบบายน มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่า ปราสาทหินแห่งนี้ เดิมเป็นศาสนสถานมาก่อน และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจมีการบูรณะหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ สังเกตได้จาก มีสถาปัตยกรรมแบบบายนอยู่ด้วย สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเรียกกันในสมัยนั้นว่า “อโรคยาศาล” หมายถึง สถานพยาบาล หรือสุขศาลาประจำชุมชนนั่นเอง