ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
กลุ่มญาติวีรชนยื่นจ.ม.ประธานรัฐสภาดันกม.นิรโทษกรรม
14 ก.พ. 2567

คณะกรรมการญาติวีรชน พฤษภา '35 นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติฯ เดินทางเข้าพบ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นหนังสือผลักดันการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ข้อเรียกร้องของคณะกรรมการญาติฯ ระบุว่า ด้วยสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางการนิรโทษกรรมให้ได้ข้อยุติ ก่อนเสนอเป็นกฎหมาย คณะกรรมการญาติฯ เห็นด้วยในหลักการนิรโทษกรรมคดีการเมือง เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 จนถึงปัจจุบัน และมีความเห็นดังนี้

1. คณะกรรมการญาติฯ ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่ร่วมกันผลักดัน ให้มีการนิรโทษกรรม ให้สังคมไทยเกิดความปรองดองสมานฉันท์ และความรักสามัคคีแก่ประชาชนทุกภาคส่วน 

2.คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการศึกษาเรื่องการนิรโทษกรรมไว้ครอบคลุมทุกมิติและตกผลึกแล้ว ที่ประชุม สปช. ได้ลงมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรที่มี นายชวนหลีกภัย เป็นประธานสภาฯ ก็ได้มีมติเห็นชอบอย่างเอกฉันท์เช่นกัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องศึกษาให้เสียเวลาอีก สามารถนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่มีอยู่แล้วเข้าพิจารณาได้เลย

3) หากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังหาข้อยุติการนิรโทษกรรมไม่ได้ คณะกรรมการญาติฯ มีความจำเป็นต้องเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) นิรโทษกรรมต่อไป

โดย นายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับหนังสือ เผยว่า คณะกรรมการญาติฯ ได้ไปพูดคุยด้วยวาจากับประธานสภาฯ แล้ว ส่วนตัวเห็นด้วยกับการร้องเรียนเพราะสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วน บุคคลที่ถูกจำคุกเป็นเวลานานมาแล้ว การจะขอให้นิรโทษกรรม ส่วนตัวมีความรู้สึกว่าสมควรเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากโดยหลักปรัชญาของกฎหมาย การจับกุมไม่ใช่เป็นการแก้แค้นหรือล้างแค้น เพียงแต่ต้องการให้มีความรู้สึกสำนึกในสิ่งที่กระทำ ตนเองได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้มาก่อนในช่วงที่เป็น สส. บุคคลเหล่านี้ตนรู้จักดีว่าไม่ได้มีจิตใจที่โหดร้ายหรือเป็นอาชญากร แต่เป็นเพียงนักอุดมการณ์ที่ต้องการเห็นความถูกต้องตามที่เขาเชื่อมั่น ดังนั้นการนิรโทษกรรมให้เร็วที่สุดที่เห็นว่าสมควรอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ คณะกรรมการญาติฯ เป็นห่วงว่าการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาถึง 2 เดือน ทั้งที่ข้อมูลมีอยู่แล้ว และทำให้เกิดความรู้สึกล่าช้าเสมือนยื้อเวลา ซึ่งคนที่ติดคุก แม้วินาทีเดียวก็ถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้นอาจจะเห็นชอบในการให้นิรโทษกรนมควรทำให้เร็วที่สุด แต่ว่าตั้งคณะกรรมาธิการมาแล้วควรหาทางย่นระยะเวลาให้น้อยกว่า 60 วัน เช่นนัดประชุมกันให้อย่างน้อยมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง

ด้าน นายอดุลย์ ระบุว่า ทราบมาว่า สส.ส่วนใหญ่ไม่ได้มีความคิดจะขัดขวางร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ จึงขอบพระคุณ สส. ทุกคนที่มีเจตนาดี และทำให้ทุกอย่างน่าจะจบลงได้ภายใต้สภาชุดนี้โดยด่วน และเห็นด้วยกับที่ประธานสภาฯ ได้กล่าวถึงการให้อภัยซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสวยงามที่สังคมควรจะได้รับ หวังว่าสังคมไทย ที่แต่ละฝ่ายมีอุดมการณ์ยอมต่อสู้จนถึงขั้นติดคุก ถึงเวลาที่ควรปรองดองกันได้แล้ว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...