ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
จ.สระบุรี ลงนามประกาศเจตนารมณ์และลงนามบันทึกตกลง (MOU) การขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ด้านการจัดการของเสีย
14 ก.พ. 2567

           ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานและลงนามประกาศเจตนารมณ์และลงนามบันทึกตกลง (MOU) การขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) ด้านการจัดการของเสีย และเป็นประธาน Kick off การขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  นำ 18  หน่วยงาน ประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือ และลงนามบันทึกข้อตกลง

          นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าว่า จังหวัดสระบุรี ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน "เมืองสระบุรี คาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox)" โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุผลทั้ง 5 ด้าน คือ1.ด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด 2. ด้านอุตสาหกรรมสีเขียว 3. ด้านการจัดการของเสีย 4. ด้านการเกษตรคาร์บอนต่ำ และ 5. ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการทำงานที่จะบรรลุผลสำเร็จ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระบุรีมีอากาศที่บริสุทธิ์ เป็นเมืองน่าอยู่ ลดมลพิษด้านต่าง  ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และภาคประชาสังคม จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป
             การขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นนโยบายขอกระทรวงมหาดไทย ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ตั้งแต่ต้นทาง แล้วเกิดรายได้สู่ครอบครัว สู่ชุมชน นำไปสู่การร่วมกลุ่มจัดตั้งเป็นธนาคารขยะเพื่อรับซื้อขยะรึไซเคิล และจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกิด แก่ เจ็บ เสียชีวิต ตามที่สมาชิกของธนาคารขยะเห็นชอบร่วมกัน อีกทั้งชวยลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดภาระงบประมาณในการเก็บขนขยะมูลฝอย และสามารถนำไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่ตอบสนอง
ความต้องกาของประชาชนในพื้นที่ และเพื่อให้การจัดตั้งธนาคารขยะในจังหวัดสระบุรีบรรลุ จึงขอให้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ได้นำรูปแบบการบริหารจัดการธนาคารขยะต้นแบบไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

                         สำหรับธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) คือ รูปแบบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีการคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยใช้หลักการของธนาคารมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาขายที่ธนาคาร โดยมีคณะทำงานธนาคารขยะหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกมาดำเนินการคัดแยกและชั่งน้ำหนัก คำนวณเป็นมูลค่าและบันทึกข้อมูลการขายลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่คณะทำงานธนาคารขยะหมู่บ้าน/ชุมชนได้ประสานงานกับผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคารายได้จากการดำเนินการธนาคารขยะจะนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการ และใช้ในส่งเสริมกิจกรรมและสวัสดิการของสมาชิกธนาคารขยะฯ ต่อไป
สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงานสระบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...