ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม มีมติเสียงข้างมาก 192 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง รับหลักการวาระแรก ร่างพ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ.... ท
08 ธ.ค. 2560

สำหรับสาระสำคัญ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ชี้แจงว่า เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการถวาความปลอดภัยฉบับเดิม คือ พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ.2557 เพราะเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 แล้ว ต่อมาได้มีการออกกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และบุคลากรหรือข้าราชการในพระองค์ใหม่ ซึ่ง สนช. ก็ได้ให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.ดังกล่าว และได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาตามความในพ.ร.บ.นั้นไปเรียบร้อยแล้ว

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า หลักการสำคัญที่ปรากฏในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการไปเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมที่อยู่ใน พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ.2557 ในประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น คือ 1.ได้แก้ไขคำว่าความปลอดภัย ให้ขยายออกไปนอกเหนือจากการถวายความปลอดภัยหรือถวายอารักขา ธรรมดา เรื่องของการถวายพระเกียรติด้วย ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องจัดกระบวนงานต่างๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อประโยชน์ในการถวายพระเกียรติมากกว่า 2.เดิมการถวายความปลอดภัยนั้นจะทำในรูปของคณะกรรมการ โดยมีสมุหราชองครักษ์เป็นประธาน มีราชเลขาธิการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ และมีตำแหน่งที่เกี่ยวข้องอีกมากมายเป็นคณะกรรมการ แต่หลักการใหม่ที่เสนอมาวันนี้ ได้ยกเลิกระบบคณะกรรมการดังกล่าว เปลี่ยนเป็นให้การดำเนินการทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับและบังคับบัญชาของราชเลขานุการในพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่จะไปตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างไรหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องที่ราชเลขานุการในพระองค์ของพระมหากษัตริย์จะไปดำเนินการกันโดยการออกประกาศระเบียบภายใน ไม่ต้องปรากฏเป็นบทบังคับอยู่ในตัวพ.ร.บ. ดังกฎหมายฉบับเดิม

3.ในขณะที่ พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัยฉบับปี 2557 แบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบในการถวายความปลอดภัย ส่วนหนึ่งจะอยู่ที่สมุหราชองครักษ์ อีกส่วนจะอยู่ที่เลขาธิการพระราชวัง และในกรณีเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ก็อาจจะต้องมีหน่วยอื่น เช่นกรมราชองครักษ์ และกระทรวงการต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่หลักการในกฎหมายใหม่ที่เสนอมาได้รื้อระบบเหล่านี้ทั้งหมด เปลี่ยนแปลงเป็นว่าทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การกำกับการบังคับบัญชา การวางแผนและการดำเนินการโดยราชเลขานุการในพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่จะมีการแบ่งส่วนงานภายในอย่างไรต่อไป ก็เป็นเรื่องที่ราชเลขานุการในพระองค์ไปกำหนด โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับสมุหราชองครักษ์ หรือเลขาธิการพระราชวังต่อไป ทั้งนี้จะได้สอดคล้องกับการจัดโครงสร้างของสำนักพระราชวังและหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายใหม่

และ 4.ขณะที่กฎหมายเก่ามีบางเรื่องไปผูกพันกับตำแหน่งการเมืองของนายกรัฐมนตรี เช่นการวางระเบียบใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน ซึ่งถูกต้องเหมาะสมในกาลสมัยครั้งนั้น เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักพระราชวัง แต่ตามโครงสร้างใหม่ ตามกฎหมายใหม่ ตามรัฐธรรมนูญใหม่ นายกฯ ไม่ได้มามีส่วนรับผิดชอบในส่วนนี้อีกต่อไป ก็จำเป็นต้องตัดบทบาทของนายกฯ ออกไป และทั้งหมดจะไปปรากฏในเนื้อความที่เขียนว่า ให้ดำเนินการไปตามพระราชประสงค์ และถ้ามีเรื่องอย่างก็เป็นเรื่องที่ราชเลขานุการในพระองค์จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอรับพระราชวินิจฉัยต่อไป

ทั้งนี้นายสมชาย แสวง เลขานุการ วิปสนช. ได้ขอแก้ไขคะแนน ทั้งในวาระรับหลักการและวาระ 3 ว่า ในส่วนคะแนนที่ไม่เห็นด้วย 1 คะแนนนั้น เป็นเพราะในวาระแรกผู้ที่ลงคะแนนไม่เห็นด้วยนั้นไปต่างประเทศ และเกิดการขัดข้องจากเครื่องกดบัตรเออเร่อ ส่วนในวาระ 3 นั้นเกิดจากเครื่องกดบัตรลงคะนนเออเร่อ ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดไม่เห็นด้วย คะแนนในวาระแรก เป็น 193 งดออกเสียง 3 และวาระ 3 จึงเป็น 190 ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 3 คือ ประธานสนช.และรองประธานสนช.ทั้ง 2 คน

ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. บอกว่า ยังไม่รับทราบรายละเอียด แต่ได้รับการแจ้งว่า ระบบมีปัญหา ซึ่งรายละเอียดต้องตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...