สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการสนับสนุนโครงการดานพลังงาน
จากกองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงาน เพื่อดูความคืบหนาและผลสําเร็จของโครงการ
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผูอํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวง
พลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการ กองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงาน เปดเผยวาในปจจุบันกองทุน
อนุรักษฯ เปนกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษพลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน
ทางเลือกของประเทศมายาวนานกวา 25 ป โดยโครงการที่กองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงานใหการสนับสนุน
ณ จังหวัดเชียงใหม มี 4.เรื่องด้วยกันคือ 1.โครงการสงเสริมการใชพลังงานทดแทนการผลิตไฟฟาดวยพลังงานแสงอาทิตย สําหรับใชในศูนย
ปองกันทางอากาศ (สถานีเรดาร) ซึ่งกองทัพอากาศไดรับการสนับสนุน จากกองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรกัษพลังงาน
เนื่องจากศูนยปองกันทางอากาศ (สถานีเรดาร) ตั้งอยูภายในสถานีรายงานดอยอินทนนทจังหวัดเชียงใหม แตเดิม
ตองพึ่งพากระแสไฟฟาจากสายสงตัวเมืองเชียงใหม ขึ้นดอยที่สูงชัน บางครั้งเกิดกระแสไฟฟาขัดของจากกิ่งไมหักทับ สายไฟ ทําใหตองใชไฟสํารองจากเครื่องกําเนิดไฟฟาที่ใชน้ํามัน ดังนั้นเพื่อลดคาใชจายและแกไขปญหาดังกลาวจึงได
ดําเนินโครงการผลิตไฟฟาดวยพลังงานแสงอาทิตย ดวยติดตั้งแผงโซลารเซลลบนพื้นที่ 60 ตารางเมตร บนหลังคา
อาคารพรอมเก็บสํารองพลังงานไวในแบตเตอรี่เพื่อจายกระแสไฟฟาเขาสูระบบดวยขนาด 800 kW ทําใหสถานี
เรดารดอยอินทนนท สามารถลดภาระคาใชจาย และความยุงยากในการขนสงน้ํามันเชื้อเพลิงซึ่งถือวามีสวนชวย
เสริมความมั่นคงดานพลังงานใหกับหนวยงานความมั่นคงของชาติเปนอยางมาก
2.โครงการการพัฒนาตนแบบระบบการผลิตถานชีวภาพอัดเม็ดคาความรอนสูงจากวัสดุทางการเกษตร
แบบเคลื่อนที่ได (Mobile Pyrolysis) เนื่องจากในภาคเหนือมีพื้นที่เปนเขตเกษตรกรรมเปนสวนใหญ มักจะ
ประสบปญหากลุมควันพิษจากการเผาไหมวัสดุเหลือใชจากการเกษตรและการเผาไรอยูบอยครั้ง เพื่อแกไขปญหา
ดังกลาว กองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงาน โดย สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงไดสนับสนุน
ใหสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค มหาวิทยาลัยเชียงใหม ดําเนินการคิดคนกระบวนการผลิตถานชีวภาพ
โดยใชกระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis Process) `ซึ่งเปนกระบวนการสลายตัวของสารดวยความรอนในสภาวะไร
อากาศหรืออับอากาศในชวงอุณหภูมิสูง เพื่อใหไดถานชีวภาพที่มีคุณสมบัติเทียบเทาถานหิน เปนพลังงานทดแทน
รูปแบบใหมที่สะอาดและลดการนําเขาดานพลังงาน
3.โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ : มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด
มหาวิทยาลัยเชียงใหมเปนหนึ่งในผูเขารอบการคัดเลือกผานเขารอบสุดทายโครงการสนับสนุนการออกแบบเมือง
อัจฉริยะจากสถาบันอาคารเขียวไทย ซึ่งไดรับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงาน โดย
สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหมจัดทําแผนตามเกณฑตัวชี้วัดทั้ง 8 ดาน ไดแก พลังงาน
อัจฉริยะ การสัญจรอัจฉริยะ ชุมชนอัจฉริยะ สภาพแวดลอมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ การบริหาร
จัด การอั จ ฉริย ะ แ ล ะน วัต ก รรม อั จฉริย ะ (Smart Energy, Smart Mobility, Smart Community, Smart
Environment, Smart Economy, Smart Building, Smart Governance, Smart Innovation ) ซึ่งในขณะนี้ผลงาน
โครงการฯ ถึงขั้นตอนที่ 3 เพื่อพิจารณาการเปนองคกรตนแบบของ Smart City-Clean Energy ตอไป การจัดทํา
โครงการฯ ดังกลาว ยังเปนโครงการที่สนับสนุนแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม ระยะที่ 12 ของ
ยุทธศาสตรเชิงรุกนวัตกรรม ดานสิ่งแวดลอมและพลังงาน ที่มุงเนนการเปนผูนําดานพลังงานและสิ่งแวดลอม มี
แนวคิดหลัก คือ การลดการปลอยกาซเรือนกระจก การรักษาสภาพแวดลอมอยางยั่งยืน การใชการบริหารจัดการ
แบบอัจฉริยะ และที่สําคัญตองคํานึงถึงชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบขางดวย
4.โครงการสาธิตการใชประโยชนจากกาซไบโอมีเทนดวยระบบทอสงกาซ (City Gas Grid) เพื่อทดแทน
กาซหุงตมในภาคครัวเรือน กองทุนเพื่อสงเสริมการอนุรักษพลังงาน ไดใหการสนับสนุนโครงการผลิตกาซชีวภาพมา
โดยตลอด โครงการ City Gas Grid นี้เปนการพัฒนาการใชกาซชีวภาพอีกระดับหนึ่ง โดยนํากาซชีวภาพที่ผลิตไดไป
ใชในระดับครัวเรือน ดวยการสาธิตการติดตั้งระบบทอสงกาซชีวภาพที่ไดมาตรฐานในการวางทอมีความปลอดภัยใน
ดานวิศวกรรมจนไปสูครัวเรือน ซึ่งไดสาธิตการติดตั้งใหกับชาวบานในหมูบานโรงวัว อําเภอสันปาตอง จังหวัด
เชียงใหม จํานวน 125 ครัวเรือน เพื่อใชทดแทนการใช LPG ไดมากกวา 17,200 กิโลกรัม/ป คิดเปนมูลคามากกวา
430,000 บาท/ป โดยไดรับความรวมมือจากฟารมเลี้ยงไกไข บริษัท รวมพรมิตรฟารม จํากัด เพื่อใหเปนชุมชน
ตนแบบปลอดการใช LPG และมีความยั่งยืนดานพลังงาน