ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
นครพนมจับมือ อปท. ในจังหวัด ทั้ง 103 แห่ง Kick-off ขับเคลื่อนธนาคารขยะ
03 มี.ค. 2567

จ.นครพนมจับมือ อปท. ในจังหวัดทั้ง 103 แห่ง Kick-off ขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ด้านพ่อเมืองลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ธนาคารขยะ อบต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน เน้นย้ำ ขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และพัฒนาคุณภาพชีวิต
จังหวัดนครพนมจับมือ อปท. ในจังหวัด ทั้ง 103 แห่ง Kick-off ขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ด้านพ่อเมืองลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ธนาคารขยะ อบต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน เน้นย้ำ ขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนนครพนมให้มีความสุขอย่างยั่งยืน
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนมมุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Thailand) ประกาศจุดยืนในการเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบเดียวนี้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนคนไทย โดยมี อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกับองค์การสหประชาชาติ โดยวานนี้ (1 มี.ค. 67) จังหวัดนครพนมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 103 แห่ง รวมทั้งภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของจังหวัดนครพนมร่วมกัน Kick-off การขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) โดยตนได้ลงพื้นที่วัดพระบาทเวินปลา ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน พร้อมด้วยนางสงวน จันทร์พร ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครพนม ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อตรวจเยี่ยม และให้กำลังใจการดำเนินการธนาคารขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเวินพระบาท

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมได้นำแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ของกระทรวงมหาดไทยมาสู่การปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ มีแนวทางการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลในครัวเรือน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้หลักการ 3ช (3Rs) คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมทั้งรณรงค์สร้างการรับรู้ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือไปขายเพื่อให้มีรายได้สู่ชุมชน และพัฒนาสู่การจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและรับซื้อขยะรีไซเคิลจากประชาชน อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนและนำรายได้ไปจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวต่อว่า แนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับพื้นที่ ประกอบไปด้วย 1) การขับเคลื่อนในระดับจังหวัด โดยคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยระดับจังหวัด ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีธนาคารขยะอย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละ 1 แห่ง ซึ่งจะต้องมีการประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในระดับจังหวัด) ให้สอดคล้องกับคู่มือแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ท้องถิ่นจังหวัด ให้คำแนะนำและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดตั้งธนาคารขยะ ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับจากวันนี้ที่มีการ Kick-off รวมทั้งมีการจัดทำพื้นที่ต้นแบบ (พี่เลี้ยง) ของธนาคารขยะ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัด โดยสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งคณะกรรมการธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงานธนาคารขยะประจำชุมชน/หมู่บ้าน พร้อมทั้งสนับสนุนผลักดันให้อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ทุกครัวเรือน เข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารขยะของชุมชน/หมู่บ้าน และรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในจังหวัดทราบถึงประโยชน์ของการคัดแยกขยะรีไซเคิล สร้างองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการธนาคารขยะ ให้ทราบถึงผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการธนาคารขยะผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 2) การขับเคลื่อนในระดับอำเภอ ให้คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในระดับอำเภอ จัดประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับอำเภอ โดยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ให้คำแนะนำ สนับสนุน และร่วมดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง มีธนาคารขยะของชุมชน/หมู่บ้าน โดยใช้กลไกคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยระดับอำเภอ สนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานโดยใช้อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ร่วมกันประสานงานและขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับชุมชน/หมู่บ้าน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงานธนาคารขยะประจำชุมชน/หมู่บ้าน ในการจัดทำข้อบังคับธนาคารขยะ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะและการเปิดรับสมาชิก พร้อมทั้งการติดตามและรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบาย รวบรวมปัญหา อุปสรรค ผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการขับเคลื่อนนโยบายฯ ให้จังหวัดทราบ และ 3) การขับเคลื่อนในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการเตรียมความพร้อมสำรวจข้อมูลขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน การจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ การคัดแยกขยะมูลฝอย การรีไซเคิลขยะในระดับครัวเรือน ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินงานธนาคารขยะในชุมชน/หมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดทำธรรมนูญชุมชน/หมู่บ้าน/ตำบล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือน และจัดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ คณะกรรมการธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน และคณะทำงานธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน

“ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกครัวเรือน ร่วมกันคัดเเยกขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน รวมทั้งการสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านการกระตุ้นปลุกพลังภาคีเครือข่ายการทำงาน การพัฒนาคนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความสุข และขอให้ท่านนายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ตลอดจนภาคีเครือข่าย ร่วมแรง ร่วมใจกัน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวจังหวัดนครพนม และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม Change for Good ทำให้เกิดธนาคารขยะในทุกพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีเงินออม ลดปริมาณขยะในพื้นที่ชุมชน ลดปัญหาโลกร้อน สร้างการเรียนรู้การคัดแยกขยะ ปลูกจิตสำนึกที่ดีและกระตุ้นให้เยาวชนดูแลโลกใบเดียวนี้ให้ยั่งยืนตลอดไป” ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวในช่วงท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...