ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ป.ช.แฉแป๊ะเจียะ100,000บ./คนเข้ารร.ขอนแก่นระบาด
03 เม.ย. 2567


นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริตรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า เป็นประจำในวงปิดภาคเรียนฤดูร้อนโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจะเปิดรับสมัครนักเรียนใหม่เพื่อเข้าศึกษาต่อใน ม.1 และ ม.4 ทางสำงาน ป.ป.ช. ขอนแก่นได้มีการออกตรวจตามมาตรการป้องปรามการทุจริตโดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการสพฐ.และครม.ในการที่จะวางแผนร่วมกันเพื่อไม่ให้มีการเรียกรับเงินใต้โต๊ะหรือเงินแป๊ะเจี๊ยะตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านาได้ทำการออกตรวจจากการใช้เกณฑ์โรงเรียนที่มีการแข่งขันกันสูงจนได้โรงเรียนจำนวน 8 แห่งแยกเป็นโรงเรียนในอำเภอเมือง 3 แห่งโรงเรียนในอำเภอบ้านไผ่ ,ชุมแพ,หนองเรือ,กระนวนและอำเภอน้ำพอง 1 แห่ง เงินแป๊ะเจี๊ยะจากผู้ปกครองโดยจะมีการเรียกรับก่อนและหลังสอบคัดเลือก

โดยเฉพาะช่วงรายงานตัวจะมีการเรียกเงินจากผู้ปกครองเพื่อจ่ายเงินแลกกับการได้เข้าเรียนหรือจะมีการแยกห้องเพื่อให้ผู้ปกครองกับนักเรียนไปนั่งในห้องเพื่อกำหนดจำนวนเงินซึ่งผู้ปกครองจะรู้กันเองว่าจะต้องมีการจ่ายเงินขึ้นตำจำนวนเท่าไหร่ตัวอย่างในคลิปที่ป.ป.ช.ไปได้มาพบว่าก่อนที่จะเข้าสอบมีการเรียกรับเงินจำนวน 60,000 บาท เมื่อประกาศผลสอบมาติดสำรองแต่มี่รายชื่อในวันมอบตัวภายในห้องประชุมจะมีการจัดพื้นที่ที่แยกจากคนที่มีรายชื่อสำรองออกไปต่างหากให้กับนักเรียนบนกลุ่มดังกล่าวต่างหากโดยจะมีเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนจะคอยจัดคิวให้เข้าพบกับผู้มีอำนาจเพื่อเสนอราคาต่อรองในการที่ให้เข้าเรียนและหากเคลียร์ไม่จบก่อนเวลา 16.00 น. จะต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทหากหลัง 16.00 น. จะต้องจ่ายเงินจำนวน 200,000 บาทหรือข้ามวันมาอีกวันนึงราคาก็จะเป็นอีกราคา จากข้อมูล ป.ป.ช. พบว่าส่วนใหญ่ค่าแป๊ะเจี๊ยะก่อนสอบจะอยู่ที่เงินจำนวน 30,000 บาท หากเข้าสอบไปแล้วราคาจะคูณ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนที่สอบไม่ผ่านแต่ต้องการที่จะเข้าเรียน

นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงก่อนสอบคัดเลือกนั้นจะมีการรับนักเรียนในเขตและนอกเขตโรงเรียนแต่ทางโรงเรียนไม่เอายอดนักเรียนที่รับไปบวกกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษโดยทางโรงเรียนจะละไว้เมื่อประกาศรายชื่อนักเรียนจะไม่ครบตามจำนวนที่ต้องรับจริงโดยจะเว้นไว้สำหรับนักเรียนที่ผู้ปกครองจ่ายค่าแป๊ะเจี๊ยะแล้วจนถึงวันนี้ทาง ป.ป.ช. ขอนแก่นได้มีการตรวจสอบเอกสารการรายงานตัวของนักเรียนทั้งหมดพบเห็นข้อพิรุธส่อเจตนาไม่สุจริตจำนวน 2 แห่ง ส่วนเหตุการณ์ตามคลิปที่มีการเรียกรับเงินจำนวน 60,000 บาท ทาง ป.ป.ช. จะลงพื้นที่ตรวจสอบเร็วๆนี้ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียนผู้มีอำนาจยังไม่ยอมให้เอกสารของเส้นทางการเงินของโรงเรียน ล่าสุด ป.ป.ช. ลงพื้นที่ตรวจสอบ 8 โรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงพบ 2 ใน 8 แห่ง มีมูลเรียกรับเงินหลักหมื่นถึงหลักแสนยิ่งจ่ายช้ายิ่งราคาสูงเร่งประสานขอข้อมูลทุกโรงเรียนที่มีการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะพร้อมเผยบางโรงเรียนบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ข้อมูลมีการแจ้งข่าวบอกต่อป.ป.ช.ลงพื้นที่ผู้อำนวยการโรงเรียนรีบเผ่นหนีออกหลังโรงเรียนทันที

ความคืบหน้าผู้ปกครองเผยปัญหาโรงเรียนรับเงินแป๊ะเจี๊ยะสามารถเข้าเรียนได้ทันทีแม้ผลสอบจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่จำนวนเงินสูงขึ้นและหากจ่ายช้าก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจาก 60,000 บาท เป็น 100,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับจนผู้ปกครองต้องพาบุตรหลานไปเรียนที่ที่จ่ายเงินน้อยกว่าสามารถสู้ราคาไหว

 นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริตรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่นให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนกรณีโรงเรียนเรียกรับแป๊ะเจี้ยะจากผู้ปกครองนักเรียนว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ทำมาตรการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อป้องกันการเรียกรับเงินจากผู้ปกครองนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในพื้นที่โดยในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. ของทุกปี เป็นระยะเวลาที่มีการรับนักเรียนเข้าศึกษามีการเรียกรับทรัพย์สินเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าเรียนในสถานศึกษาจึงให้สำนักงาน ป.ป.ช. ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศติดตามเฝ้าระวังปัญหานี้อย่างต่อเนื่องเพราะถือได้ว่าเป็นวงจรส่งเสริมการทุจริต

โดยในจังหวัดขอนแก่นปรากฏว่ามีผู้ปกครองนักเรียนที่สอบเข้าเรียนในชั้น ม.1 โวยโรงเรียนเรียกรับแป๊ะเจี๊ยะ 100,000 บาทแลกกับการเข้าเรียนชั้น ม.1 หลังสอบไม่ติดแถมมีเรียกเงิน 60,000 บาท ก่อนสอบการันตีได้เข้าเรียนเรียกได้ว่าปัญหาการเรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะเข้าโรงเรียนดังโดยเฉพาะโรงเรียนดังที่มีอัตราการแข่งขันสูงยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องซึ่งจากข้อมูลของผู้ปกครองนักเรียนรายหนึ่งระบุว่าในวันรายงานตัวเข้าเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมาโรงเรียนแจ้งให้จ่ายเงินสด 100,000 บาท เนื่องจากหลานสาวสอบติดรอบสำรองทั้งนี้หากผู้ปกครองติดต่อจ่ายเงินตั้งแต่แรกในช่วงสมัครสอบจะจ่ายเพียง 60,000 บาท เท่านั้น

ซึ่งจากการตรวจสอบตามที่ผู้ปกครองโวยวายนั้นมีมูลจริงซึ่งเกิดขึ้นในวันที่มีการมอบตัวและมีการเรียกรับเงินหลังจากเกิดเหตุได้ส่งเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ลงไปขอพบผู้มีอำนาจในสถานศึกษาดังกล่าวแล้วและขอข้อมูลการรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ที่ผู้ปกครองอ้างถึงแต่ได้รับการปฏิเสธโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ต่อมาได้แจ้งว่าจะส่งข้อมูลเป็นไฟล์แต่ถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับอย่างไรก็ตามจะติดตามนำขอข้อมูลมาตรวจสอบให้เร็วที่สุดและนอกจากปัญหาอุปสรรคดังกล่าวนี้แล้วยังพบว่าบางโรงเรียนมีการแจ้งข่าวเนื่องจากมีข่าวรั่วออกไปว่า ป.ป.ช. จะลงพื้นที่ทำให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรีบหลบออกทางด้านหลังโรงเรียนไปเพื่อหลีกเลี่ยงการพบกับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ในวันที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบ

นายธีรัตน์ บางเพ็ชร กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่นได้ส่งเจ้าหน้าที่หาข้อมูลและเห็นข้อพิรุธถึงความไม่โปร่งใสและไม่แน่ใจนำจำนวนของอัตราการรับสมัครจริงตั้งแต่ก่อนรับสมัครซึ่งกรณีนี้ถือเป็นความทุกข์ของผู้ปกครองที่มีนักเรียนสอบติดสำรองทั้งที่น่าจะได้เป็นตัวจริงทั้งที่มีอัตราว่างจะการที่นักเรียนสอบผ่านแต่สละสิทธิ์แต่กลับถูกเรียกรับเงินอย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลว่ามีโรงเรียนที่อยู่ในข่ายทุกข้อพิรุธและความไม่โปร่งใสอยู่จำนวน 8 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในเมืองขอนแก่น 3 แห่ง และที่ต่างอำเภออีก 5 แห่ง ซึ่งมี 2 โรงเรียนชื่อดังทั้งในตัวอำเภอและต่างอำเภอ 2 แห่งที่มีการแข่งขันสูงยอมจ่ายตั้งแต่ 60,000-200,000บาท และหากจ่ายช้าก็จะมีเงื่อนไขใหม่ขึ้นมาว่าหากยิ่งจ่ายช้ายิ่งต้องเสียเงินเพิ่มเท่าตัวจาก 60,000บาท ในช่วงสมัครสอบก็เป็น100,000 บาท หากต้องการให้บุตรหลานเข้าเรียนแต่ต้องจ่ายก่อน 16.00 น. ภายในวันเดียวกันหากล่าช้าก็จะเพิ่มจำนวนเงินเป็น 200,000 บาท ซึ่ง ป.ป.ช. ขอนแก่นจะได้ทำการตรวจสอบชี้มูลความผิดดำเนินการตามระเบียบกฎหมายต่อไป

ซึ่งหากการตรวจสอบแล้วเสร็จพบว่ากระทำผิดจริงผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องถูกดำเนินการใน3ข้อหาหลักได้แก่กระทำผิดตามมาตรา 149 เรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต,มาตรา 157 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโทษจำคุก 10 ปีและมาตรา 162 ทำพยานหลักฐานเท็จมีโทษจำคุก 10 ปี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...