วันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 19.00 น. นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลกจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2567 พร้อมด้วยนางจิตตินันท์ เชาวรินทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี,นายอรรถพล วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรีเขต2,นายธนกฤต อัตถะสัมปุณณะ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี,พันเอกเพิ่มศักดิ์ ขุนโขลน รองผอ.กอรมน.สระบุรี นายมนตรี ปรีดา นายอำเภอแก่งคอย นายสมชาย วรกิจเจริญผล นายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย นายอุดร สารคม ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี,ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี,หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสระบุรี,ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,องค์กรภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ,กำนันผู้ใหญ่บ้านแพทย์ สารวัตรอำเภอแก่งคอยและประชาชนเข้าร่วมพิธีฯ ณ วัดแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
โดยเมืองแก่งคอยในอดีต มีความสำคัญมาช้านาน เมื่อ ปี พ.ศ. 2482 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านแดนไทย แก่งคอยเป็นเมืองท่าในการขนส่งสินค้า เมืองแก่งคอยในยุคนั้นนับเป็นจุดยุทธศาสตร์ มีกองกำลังทหารญี่ป่น และไทย ตั้งค่ายอยู่เป็นจำนวนมาก ครั้นช่วงปลายสงคราม เมื่อ “วันที่ 2 เม.ย. 2488” ฝ่ายตรงข้ามได้นำเครื่องบิน B 24 เข้าทิ้งระเบิดเมืองแก่งคอย ส่งผลให้ บ้านเรือนราษฏรสถานที่ราชการ สถานีรถไฟ ตลาด วัดวาอาราม ได้รับเสียหาย ซึ่งมีระเบิดลูกหนึ่ง ที่ตกลงในวัดแก่งคอย แต่ระเบิด (ไม่ทำงาน) ผู้คนในยุคนั้นต่างเชื่อกันว่า เพราะด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ บารมีของ “หลวงพ่อลา” อดีตเกจิเจ้าอาวาสวัดแก่งคอย ต่อมาจึงได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์ ขึ้นในวัดแก่งคอย และมีชาวแก่งคอย/ชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิต จากภัยสงคราม ซึ่งญาติ ๆ ของผู้สูญเสียได้รวบรวมอัฐิของผู้เสียชีวิต นำมารวมกันไว้ที่อนุสาวรีย์ดังกล่าว โดยในทุกๆปี (2 เม.ย)ญาติผู้เสียชีวิตจะมาร่วมกันประกอบพิธีรำลึกถึงผู้ประสบภัยทางอากาศในสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นประจำทุกปีจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่ง“งานแก่งคอยย้อยรอยสงครามโลกครั้งที่ 2“ จังหวัดสระบุรี ประจำปี 2567 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2567
สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงาน สระบุรี