ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ดำเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567
09 เม.ย. 2567

กาญจนบุรี - สสจ.กาญจน์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน จ.กาญจนบุรี ดำเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์ปริพนท์ จุลเจิม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบาย 3 D “Drink  Don’t Drive” ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ รณรงค์ตลอดทั้งปี 2567 โดยเตรียมความพร้อมศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน (FR/ BLS/ ALS) ของโรงพยาบาลและเครือข่ายภาครัฐและเอกชนทุกระดับ รองรับช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข) ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2567  โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เตรียมความพร้อมมาตรการก่อนเกิดเหตุ ดังนี้

 


1.รณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” 
2.ออกตรวจ เฝ้าระวัง บังคับใช้กฎหมายตาม พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 โดย สสจ.ร่วมกับ สคอ. (สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค) , สคร (สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี) , ปกครอง, ตำรวจ ในวันที่ 9 – 11 เมษายน 2567 (อ.ท่าม่วง, อ.เมือง, อ.พนมทวน) 
3.ประชาสัมพันธ์ “เจ็บป่วย ฉุกเฉิน 1669”
โดยในด้านบุคลากร มีการเพิ่มอัตรากำลัง Standby at all (เรียกเสริมได้ 24 ชม.)  ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์  มีการเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2 -3 เท่า และสำรองวัสดุอุปกรณ์ โดยสามารถเบิกจ่ายเพิ่มได้ 

ด้านการพัฒนาศักยภาพ มีการประชุมเตรียมความพร้อมเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินรองรับ เทศกาลสงกรานต์ 2567 ในวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567  รวมทั้งมีการจัดอบรมฟื้นฟู เพิ่มพูน การให้กับเจ้าหน้าที่กู้ชีพ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข แพทย์ พยาบาล ในจังหวัดกาญจนบุรี และซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ทุกโรงพยาบาล 

นอกจากนี้ยังมีการเตรียมความพร้อมมาตรการหลังเกิดเหตุ โดยให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ณ ที่เกิดเหตุ โดยทีมปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดทีมหน่วยชุดปฏิบัติการกู้ชีพ ใน 3 ระดับ ดังนี้ 1.ทีมกู้ชีพระดับเบื้องต้น (First Responder : FR)  2.ทีมกู้ชีพระดับพื้นฐาน (Basic Life Support : BLS) และ 3.ทีมกู้ชีพระดับสูง (Advance Life Support : ALS) ประจำเส้นทางสายหลักที่มีจุดตรวจหรือจุดบริการ เพื่อให้การรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งยังมีระบบการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุช่องทางเร่งด่วน (Trauma Fast Track)  ในโรงพยาบาล เน้นย้ำให้โรงพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อมทีมปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยเข้าถึงจุดเกิดเหตุที่รวดเร็วภายใต้มาตรการความปลอดภัยของรถพยาบาลและผู้ปฏิบัติงาน

นายแพทย์ปริพนท์ จุลเจิม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวต่อไปว่า การดื่มแล้วขับเป็นปัญหาในทุกเทศกาล ในปีนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับ สคอ./ สคร. 5 ราชบุรี/ ปกครอง / ตำรวจ  ออกตรวจ เฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจำหน่ายและบริโภคเรื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เน้นย้ำให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ทำงานเชิงรุก โดยช่วงก่อนเทศกาลให้มีการออกตรวจเตือนและประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลให้บังคับใช้กฎหมายทั่วประเทศอย่างจริงจัง หากพบว่ามีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ประเด็นที่ 1 การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ประเด็นที่ 2 ห้ามขายแอลกอฮอล์กับบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ห้ามส่งเสริมการขายทุกประเภท (โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม)  ประเด็นที่ 3 ขายแอลกอฮอล์ตามเวลาที่กำหนด (11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น.) และประเด็นที่ 4 ห้ามจำหน่าย ห้ามดื่ม แอลกอฮอล์ในสถานที่ที่กฎหมายกำหนด 
   /////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา  ไหลวารินทร์ - รายงาน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...