วันนี้ (14 เม.ย.)นายมนสิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในธีเปิดงาน "มหาสงกรานต์ตะปอน ตำนานแห่เกวียนพระพุทธบาทผ้า ๒๕๖๗" ภายใต้โครงการสืบสานงานประเพณีแห่รอยพระพุทธบาทผ้าและชักเย่อเกวียนพระบาท โดยเห็นได้ว่า องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้น
ทะเบียน "สงกรานต์ในประเทศไทย" ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้สิ่งที่ ๔ ของประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประเพณี สงกรานต์ในประเทศไทย สงกรานต์เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณมีความสวยงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน
ความอบอุ่น ความรัก ความสามัคคี และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน โดยใช้ "น้ำ" เป็นสื่อในการสร้างสัมพันธไมตรี คติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ประเพณีงกรานต์ที่ถือปฏิบัติช้านาน ความสำคัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีการทำบุญตักบาตร บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษสรงน้ำพระ รดนำผู้ใหญ่ การเล่นน้ำอย่างสนุกสนานรื่นเริง พร้อมทั้งมีการ ก่อเจดีย์ทราย ในทุกพื้นจะมีกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งวันตะปอนน้อยได้จัดพิธีแห่เกวียนะระบาทผ้าไปตามหมู่บ้านทั่งนี้เพื่อเป็นความเชื่อมาสมัยโบราณว่าหมู่บ้านตะปอนเคยประสบปัญหาโรคระบาทมีผู้คนวัวควายสัตว์หลายชนิดล้มตายเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อใหญ่สมัยนั่นได้สั่งให้ชาวบ้านนำเกวียนพระบาทผ้าแห่ไปตามหมู่บ้านเพื่อให้เกิดเป็นศืริมงคล ซึ่งทำให้เกิดปาฎิหารย์โรคระบาดได้หายไปจากหมู่บ้านผู้คนหายเป็นปกติอยู่ดีมีสุข เมื่อถึงฤดูกาลสงกรานต์ชาวบ้านต้องนำเกียนพระบาทผ้าแห่ออกไปตามหมู่บ้าน แต่การจะนำเกวียนพระบาทผ้าออกไปหมู่บ้านไหนก่อน ต้องมีกติกาคือ ต้องให้ชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งของหมู่บ้านมาชัคเย่อเกวียนพระบาทผ้ากันก่อน ถ้าหมู่บ้านใดชนะก็นำเกวียนพระบาทผ้าไปแห่ในหมู่บ้านก่อนตามลำดับ จึงเป็นที่มาของการแห่เกวียนพระบาทผ้าในวันมหาสกรานต์
สมนึก วิสุทธิ์ จันทบุรี
0913908888