กรมชลประทาน เริ่มเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นโครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง 5 อำเภอ 4 เวที เริ่มเวทีแรก อำเภอศรีสวัสดิ์ เวที สอง อำเภอห้วยกระเจา เวทีสาม อำเภอบ่อพลอย และอำเภอสุดท้ายที่อำเภอเลาขวัญ ส่วนอุโมงค์ผันน้ำผ่านไปยัง 5 อำเภอ ประกอบด้วยจาก อำเภอศรีสวัสดิ์ บ่อพลอย หนองปรือ ห้วยกระเจา และปลายอุโมงค์สุดที่อำเภอเลาขวัญ โดยมีแผนก่อสร้างโครงการ 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำลอดใต้ภูเขาที่ระดับเฉลี่ย 500 ถึง กว่า 900 เมตร จากผิวดิน ระยะทางก่อสร้างรวมกว่า 300 กิโลเมตร เริ่มจากจุดบริเวณบ้านลำสะด่อง เขตอำเภอเมือง ริมถนนสาย 3199 ไปลงอ่างเก็บน้ำลำอีซู ขนาดอุโมงค์ 4.20 เมตร ความยาว 20.500 กิโลเมตร อัตราผันน้ำวันละ 1.036 ล้านลูกบาตรเมตร( ลบ.ม.) มีอาคารประกอบ ได้แก่ อาคารรับน้ำ และอาคารจ่ายน้ำ โดยเริ่มชี้แจ้งให้ประชาชนรับฟังมาแล้ว 4 เวที
สุดท้ายเวทีที่ 5 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ที่ห้องประชุมอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี การประชุมกลุ่มย่อยรวม 4 เวที กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้าง กลุ่มผู้ให้บริการออกแบบ “กิจการร่วมค้า PFWFT JV” ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ฟลัดเวย์ จำกัด บริษัท วิศวชาญ 2002 จำกัด บริษัท ฟรอนเทียร์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ส จำกัด และบริษัท ธูว์ บราเดอร์ พาทเนอร์ จำกัด ดำเนินการสำรวจ ออกแบบ โครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายอรรถพล พรหมศิริ วิศวกรโยธา/ชลประทาน นายชลเมธ มงคลศิลป์ วิศวกรโครงการงานจ้าง นายประยุทธ เจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด นายกรกช เหล่านุญชัย วิศวกรโยธา / ชลประทาน ผู้ร่วมนำเสนอข้อมูลโครงการ วัตถุประสงค์ลักษณะและรายละเอียดโครงการ แนวคิดการออกแบบ เกณฑ์ในการออกแบบ และรูปแบบการพัฒนาโครงการ
ในส่วนของผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่มี นายเผาพันธ์ ดอกมะลิป่า สจ.เขตอำเภอเลาขวัญ นายชาติชาย ฉัตรเมธี นายก อบต.หนองโสน นายปฎิภาณ ปทุมสูตร นายก อบต.ทุ่งกระบ่ำ พร้อมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก
โอกาสนี้นายศักดิ์ดา วิเชียร์ศิลป์ส.ส.กาญจนบุรี เขต 4 พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเดินทางมาร่วมกิจกรรมจิตอาสา ที่ตำบลหนองฝ้าย และทราบว่ามีการรับฟังความคิดเห็นเรื่องอุโมงค์ผันน้ำที่อำเภอเลาขวัญ ตนจึงได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอด และสิ่งที่กังวลที่สุด ตนก็เป็นห่วงใน 2 ประเด็นคือ
ประเด็นที่ 1 ส่วนราชการบางแห่งก็ดีบางโครงการก็ดี บางโครงการสร้างแล้วใช้ไม่ได้ แล้วมาผลักภาระให้กับท้องถิ่น ตนจะไม่ยอมเด็ดขาด โดยเฉพาะเรื่องของระดับน้ำทะเลมีส่วนสำคัญ ตนเคยเชิญบริษัทที่ออกแบบ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมารับทราบถึงระดับน้ำทะเล จะต้องทำให้สามารถส่งน้ำมายังอำเภอห้วยกระเจา หนองปรือ และมาถึงเลาขวัญ ซึ่งเป็นปลายน้ำจะต้องใช้น้ำได้
ประเด็นที่ 2 ถ้าสร้างเสร็จแล้วประชาชนจะได้ใช้น้ำหรือไม่ 1 ถ้าใช้ไม่ได้ตนในฐานะประชาชนคนหนึ่งไม่ยอมอย่างเด็ดขาด และจะร้องถึงผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป และที่สำคัญการสร้างอุโมงค์ผันน้ำ จะต้องไม่มีผลกระทบต่อสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด และเสียงของประชาชนและผู้นำท้องถิ่นที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย ยังฝากมาอีกว่าไม่อยากเห็นเมื่อสร้างอุโมงค์น้ำเสร็จแล้วมาแล้วอนาคตอย่าได้เป็นเหมือนอนุสาวรีย์เท่านั้น
และหลังจากเสร็จการสจัดเวทีประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 อำเภอ นี้แล้ว ภายใน 15 วัน จะเร่งสรุปปัญหาเรื่องในแต่ละกลุ่มใน 4 อำเภอส่งไปยังกรมชลประทาน เพื่อมีการตรวจสอบและดำเนินการต่อไป
/////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์