ข้าวเกรียบเห็ดหอม หนึ่งในหลายๆผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรแปรรูป ชัยธารา บ้านวังท่าช้าง เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าร่สมกับ มหาลัยบูรพา ให้การสนับสนุนและส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
กลุ่มเกษตรแปรรูป ชัยธารา บ้านวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เป็นอีกกลุ่มที่มีความเข้ามแข็งในการดำเนินกิจกรรมการแปรรูปผลผลิตจากผลไม้จนสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายรูปแบบทั้ง มะม่วงหนึบ เยลลี่มะม่วง ข้าวเกรียบเห็ดหอม รวมทั้งขนมไทยอื่นๆอีกมากมาย แต่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อจนเป็นที่รู้จักและขายดี จะเป็น ข้าวเกรียบเห็ดหอมที่ในแต่ละรอบการผลิตจะมีออร์เดอร์เข้ามาจนบางครั้งทำไม่ทันและไม่พอกับความต้องการของตลาด เพราะด้วยมาตรฐานการผลิต รสชาติ ความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของ มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เข้ามาดูแลเสมือนพี่เลี้ยงตั้งแต่ต้นทั้งในเรื่องสูตรและเครื่องจักรในการผลิต และการมีส่วนร่วมของ มหาวิทยาลัยบูรพา ในขบวนการวิจัย จึงนับว่าเป็นกลุ่มแปรรูปที่ได้รับการดูแลสนับสนุนทั้งด้านการผลิตและเครื่องจักรจนทำให้มีความสามารถในด้านปริมารการผลิตที่มากขึ้นลดรายจ่ายและเวลาลงได้อย่างเห็นได้ชัดเจน
จากการข้าวเกรียบดั้งเดิมที่ต้องใช้แรงงานมาเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทันสมัย ตั้งแต่การผสมวัตถุดิบในเครื่องผสมการนวดแป้งให้เข้ากันตามอัตราส่วน ของส่วนผลมที่มี แป้ง เห็ดหอม น้ำตาล เกลือป่น เป็นหลัก เมื่อนวดจนได้ที่ นำมาปั้นเป้นแท่งขนาดที่ต้องการแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นอุณหภูมิ ประมาณ 15 องศา เพื่อให้เซ๊ตตัว เป็นเวลา 12 ชั่วโมงจากนั้นจึงนำมาหั่นด้วยเครื่องหั่น ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าสร้างเป็นเครื่องต้นแบบมอบให้มาใช้ แทนเครื่องเดิมที่ใช้แรงคนและเวลาหั่นนานและยังได้ขนาดที่ไม่มาตรฐานเครื่องตัวใหม่นี้จะทำให้ความหนาบางตามที่ต้องการและเท่ากันจากนั้นนำไปอบในตู้อบพลังงานอสงอาทิตย์ 1 คืน เมื่อนำไปทอดก็จะได้ข้าวเกรียบเห็ดหอมที่สวยงามน่ารับประทาน หลังทอดด้วยไฟกลางจนกรอบนำมาสะเด็ดน้ำมันรอให้เย็นจึงนำไปบรรจุถุงขาย หรือส่งให้ลุกค้าตามออร์เดอร์ ซึ่งตลอดขั้นตอนการผลิตข้าวเกรียบเห็ดหอมในวันนี้มีสมาขิกของกลุ่มทั้งเก่าและใหม่มาร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เพิ่มความก้าวหน้า โดยมีคณะอาจารย์จาก มหาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือมาติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงยั่งยืน ใช้ชุมชนและสมาชิกมีรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตลอดไป
ผช.ดร.จิตติมณฑน์ วงษา คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการให้การสนับสนุนกลุ่ม เกษตร ชัยธารา หลังเสร็จสิ้นขบวนการแปรรูปข้าวเกรียบเห็ดหอม ว่า ทางมหาลัย ฯ ได้เข้ามาช่วยเรื่องการปรับปรุงรสชาติและเครื่องจักรซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ผลิตเครื่องตัด หรือหั่นข้าวเรียบต้นแบบมาให้ทาว ชัยธารา ใช้แทนแบบเดิม รวมถึงได้เข้ามาช่วยจัดการตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำเพื่อให้กลุ่มเกษตรดรมีความเข้มแข็ง แต่ไม่เฉพาะแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ยังให้การช่วยเหลือทุกกลุ่มหากอยากให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยเหลือในด้านการแปรรุปการจัดการเรื่องการผลิตสามารถติดต่อปได้ที่ ทางมหาลัยพร้อมเข้ามาดูและช่วยเหลือ ตั้งแต่เริ่มหรือต้นน้ำไปจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการหรือปลายน้ำ
ธนปกรณ์ วิศวามิตร / ปราจีนบุรี
081-2863615